24 เม.ย. 2024 เวลา 11:00 • หนังสือ

กล้าที่จะถูกเกลียด เล่ม 2

ผู้เขียน: คิชิมิ อิชิโร, โคะกะ ฟุมิทะเกะ
ผู้แปล: อภิญญา เตชะบุญไพศาล
สำนักพิมพ์: วีเลิร์น (WeLearn)
หมวดหมู่: จิตวิทยา การพัฒนาตัวเอง , การพัฒนาตัวเอง how to
3 ปีต่อมาหลังจากที่ชายหนุ่มได้ถกกับนักปรัชญา เขาได้ตัดสินใจลาออกจากอาชีพบรรณารักษ์และสมัครเป็นครูเพื่อส่งเสริมเด็กๆ
นับแต่การคุยกันในครั้งสุดท้าย ชายหนุ่มก็ไม่เคยกลับมาพบกับนักปรัชญาอีกเลยตลอด 3 ปี แต่ครั้งนี้ที่เขากลับมาไม่ใช่เพื่อนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ให้กับจิตวิทยาแบบแอดเลอร์ แต่เขามาเพื่อจะล้มล้างแอดเลอร์ !! นั้นเป็นเพราะเมื่อเขาลองนำหลักจิตวิทยาแบบแอดเลอร์ไปใช้แล้วไม่ได้ผล
ครั้งนี้นักปรัชญาจะให้คำตอบแบบใดแก่ชายหนุ่มกัน เมื่อ 3 ปีก่อนนักปรัชญา บอกให้เขา “กล้าที่จะถูกเกลียด” ถึงแม้จะกล้าที่จะถูกเกลียด แต่เขากับยังคงเป็นทุกข์ ไหนจะอาชีพครูที่ต้องรับผิดชอบเด็กๆ อีก เขาทำอะไรผิดพลาดตรงไหนกัน
---
**หลักจิตวิทยาแบบแอดเลอร์เป็นศาสนา หรือ ลัทธิ??**
ถาม: หลักจิตวิทยาแบบแอดเลอร์เป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่
ตอบ : หากหมายถึงวิทยาศาสตร์แบบเคร่งครัดมีหลักฐานชัดเจน คำตอบคือ “ไม่”
แต่ถ้ายึดตามหลัก “วิทยาศาสตร์อย่างเคร่งครัด” ไม่ว่าจะจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ หรือ จิตวิทยาการวิเคราะห์ของยุงต่างก็ไม่เป็นวิทยาศาสตร์
แต่เนื่องด้วยหลักจิตวิทยาแบบแอดเลอร์ตั้งอยู่บน “หลักปรัชญากรีก” จึงสามารถถือได้ว่ามันเป็นปรัชญา
-
ทว่าการนำแนวคิดที่เล่นเอาสิ่งที่ขัดกับวิธีคิดของคนทั่วไปอย่างในเชิงมาใช้ก็อดทำให้นึกถึงสิ่งที่ในศาสนาคริสต์แรกๆ เรียกว่า “พวกหมอสอนศาสนา” ที่เดินทางเพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ไม่ต่างจากการนำเอาแนวคิดของแอดเลอร์ไปใช้ท่ามกลางผู้คนที่ยังไม่ตระหนักรู้ในสิ่งนั้น ถ้างั้น…
ถาม: แนวคิดของแอดเลอร์เป็นศาสนาหรือไม่??
แนวคิดของแอดเลอร์ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ แต่เป็นสิ่งที่เราต้องตัดสินใจเองว่า “จะเชื่อหรือไม่เชื่อ" ไม่ต่างจากศาสนาเลย เพื่อให้ง่ายเราจะตัดเรื่อง “พระเจ้า” หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ออกไป
ศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์เริ่มต้นมาจากจุดเดียวกันนั้นคือ ทั้งหมดต้องการค้นหา “ความจริง” เช่น เรามาจากไหน อยู่ที่ไหน และควรทำอะไร การอยากรู้ความจริงนี้ทำให้เกิด ศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์
ในยุคกรีกโบราณ ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ ไม่ได้แยกออกจากกัน “scientia" ในภาษาละตินซึ่งเป็นรากศัพท์ของ "science" ก็มีความหมายแค่ว่า “ความรู้” แต่ในตอนนี้มันแยกกันอย่างชัดเจน
ที่น่าสับสนคือความต่างของ ปรัชญาและศาสนา จุดร่วมที่ทั้งสองมีเหมือนกันคือทั้งคู่คือศาสตร์ที่ศึกษาไปถึง “จิตใจ” ของคน
ความแตกต่างของศาสนาและปรัชญาคือการมี “เรื่องเล่า” และ “ไม่มีเรื่องเล่า”
ศาสนาอธิบายโลกผ่านเรื่องเล่าโดยมี “พระเจ้า” เป็นตัวเอก ส่วนปรัชญาไม่มีเรื่องเล่า แต่จะอธิบายโลกผ่านแนวคิดที่เป็นนามธรรม
ถ้าให้ลองอุปมาอุปไมย ในการค้นหาความจริงเปรียบดั่งการเดินไปบนแผ่นไม้ที่ถอดยาวไปในความมืด ยิ่งเดินไปไกลเท่าไหร่หรือยิ่งนานเท่าไหร่ ความมั่นใจในตัวเองก็ยิ่งลดลง เราทั้งตั้งคำถามและตอบคำถามของตัวเองช้าแล้วซ้ำเล่า ในขณะที่ขาก็ยังต้องก้าวต่อไป
ในขณะที่เดินไปบางคนก็เริ่มได้ยินเสียงจากความมืดนั้นประมาณว่า " เดินต่อไปก็ไม่เจออะไรอยู่ดี ความจริงอยู่ตรงนี้" บางคนที่ได้ยินก็หยุดเดินและกระโดดลงจากไม้ การหยุดเดินและกระโดดลงจากไม้นี้คือ “ศาสนา”
แต่ ปรัชญา คือการเดินต่อไปเรื่อยๆ ชั่วนิรันดร์ ไม่สำคัญว่าจะมีพระเจ้าอยู่จริงหรือไม่ มันคือการเดินทางหาคำตอบไปเรื่อยๆ โดยไม่สำคัญว่าจะมีคำตอบ หรือไม่
-
ปรัชญาเป็น “รูปแบบ” การใช้ชีวิตมากกว่าเรื่องวิชาความรู้ ศาสนาอธิบายทุกอย่างด้วย “หลักคำสอน” ที่มาจาก “พระเจ้า” ซึ่งต่างจากปรัชญาโดยสิ้นเชิง
คำว่า “philosophia” ในภาษากรีกรากศัพท์ของ philosophy แปลว่า "ความรักในความรู้" ปรัชญาคือศาสตร์ที่รักในความรู้ ส่วนนักปรัชญาคือ “ผู้ที่รักในความรู้” นักปรัชญา จึงเป็นคนที่เดินต่อไปเรื่อยๆ ชั่วนิรันดร์ เพราะความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด
คนที่คิดว่าตนนั้นรู้ทุกอย่างและหยุดที่จะแสวงหาความรู้อาจจะอยู่ในฝั่งของ"ศาสนา" แต่มันก็คาบเกี่ยวกันอยู่ เพราะถึงคนคนนั้นจะบอกว่าตนอยู่ฝั่งของศาสนา แต่ถ้าเขายังขวนขวายที่จะหาความรู้อยู่ตลอด1ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในหรือนอกศาสนา เขาก็อาจจะอยู่ฝั่ง “ปรัชญา” พูดง่ายๆ ว่าไม่มีใครรู้ตอบที่ชัดเจน
เพราะทันทีที่คิดว่า “รู้” เราจะเลิกแสวงหาความ “รู้” เราจึงควรเป็นผู้ที่ “ไม่รู้” ไปตลอดกาล
ครั้งหนึ่งเมื่อโสกราตีสไปถกปัญญากับเหล่าผู้ทรงภูมิที่เรียกว่า “โซฟิลต์” โสกราตีสก็พบว่าพวกโซฟิลต์คิดว่าตัวเอง “รู้ทุกอย่าง” แต่ที่จริงแล้วพวกเขาไม่รู้อะไรเลย โสกราตีสที่ตระหนักและยอมรับในความไม่รู้ของตัวเองจึงนับว่าฉลาดกว่าและนั่นก็เป็นที่มาของคำกล่าวที่ว่า
The only true wisdom is in knowing you know nothing.
ความฉลาดที่แท้จริงคือการตระหนักรู้ว่าเรานั้นไม่รู้อะไรเลย
—Socrates
---
**การเคารพ**
- เราต้องเป็นฝ่ายเคารพก่อน - ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว บริษัท เพื่อน หรือในความสัมพันธ์แบบใดก็ตาม โดยเฉพาะถ้าเป็นการสอนคนที่เป็น "ผู้สอน" ต้องเป็นฝ่ายเคารพ "ผู้ถูกสอน" ก่อน ถ้าปราศจากความเคารพความสัมพันธ์ที่ดีย่อมไม่เกิดขึ้น
เพราะโดยเนื้อแท้ "การเคารพ” คือการ "เคารพในความเป็นมนุษย์" ไม่ใช่เคารพที่ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง”
การเคารพคือ "การมองคนในแมนที่เขาเป็น" และ “การตระหนักว่าตัวตนของ
คนคนนั้นมีเพียงหนึ่งเดียวที่ไม่มีอะไรแทนที่ได้”
การเคารพคือการมองคนในแมนที่เขาเป็นและการตระหนักว่าตัวตนของ
คนคนนั้นมีเพียงหนึ่งเดียวที่ไม่มีอะไรแทนที่ได้
— อีริก ฟรอมม์ -
ฟรอมม์ยังเสริมว่าการเคารพคือ "การใส่ใจต่อพัฒนาการตามแบบฉบับ
ของคนคนนั้น” ซึ่งคือการไม่พยายามเปลี่ยนและไม่พยายามควบคุมคนอื่น
การยอมรับใครก็ตาม "ในแบบที่เขาเป็น" คือการเคารพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มันทำให้ผู้ที่ได้รับการเคารพแบบนี้มีความกล้า อาจพูดได้ว่าการเคารพคือจุดเริ่มต้นของ “การสร้างความกล้า”
ก้าวแรกในการเคารพคนอื่นคือ “เราต้องใส่ใจในสิ่งที่คนอื่นใส่ใจ " เช่น “เกม” ผู้ใหญ่มากมายไม่เข้าใจว่าทำไมเด็กๆ จึงชอบพ่อแม่และครูส่วนใหญ่ก็มักไม่เห็นด้วย และพยายามจะให้เด็กทำอะไรที่เป็น “ประโยชน์” พวกเขาจึงยึดเกม ห้ามเด็กดูการ์ตูน
แน่นอนพ่อแม่คิดเอาเองว่าตัวเอง "ทำเพื่อลูก" แต่มันเป็นการกระทำที่ขีดฆ่า ความเคารพ การทำแบบนี้มีแต่จะทำให้เด็กเกิดระยะห่างจากพ่อแม่ เพราะมันเท่ากับว่าพ่อแม่ปฏิเสธสิ่งที่ลูกใส่ใจ
ถาม: คือจะให้ส่งเสริมพฤติกรรมแย่ๆ ??
ตอบ: ไม่ครับ ไม่ต้องส่งเสริม
แค่ใส่ใจในสิ่งที่เด็กๆ ใส่ใจก็พอ แม้มันจะดูเป็นเรื่องไร้สาระ ก็ควรพยายามทำความเข้าใจ ไม่ใช่แค่กับเด็กๆ แต่ต้องทำแบบนี้กับทุกคนที่มีความสัมพันธ์ด้วย ลองคิดดูว่า “ถ้าเรามีชีวิตและจิตใจแบบเดียวกับคนคนนั้นล่ะ” “ถ้าเราอายุเท่ากับเขา” “เติบโตมาแบบเขา” “มีเพื่อน มีงานอดิเรกแบบเดียวกัน” เราจะเป็นคนที่มีพฤติกรรมอย่างไร
**ความขี้ขลาดแพร่ถึงกันได้ ความเคารพก็ด้วย**
แอดเลอร์กล่าวว่า "ความขี้ขลาดแพร่ถึงกันได้ความกล้าก็เช่นกัน” และจิตวิทยาแบบแอดเลอร์สมัยใหม่ก็เสริมว่า "ความเคารพก็แพร่ถึงกันได้”
นั้นคือทำไมการเป็นคนเริ่มจะไม่สูญเปล่า ช่วงแรก ๆ คงไม่มีใครเข้าใจเหมือน กับการเริ่มจุดคบไฟ ในตอนแรกแสงสว่างคงไปได้ไม่ไกลอย่างมากแต่ 2-8 เมตร แต่ถ้าคบไฟนั้นยังไม่ดับ คนที่อยู่ไกลออกไปจะเริ่มมองเห็นและเกิดเป็นคบไฟใหม่เพิ่มมากขึ้น
---
**สาเหตุแท้จริงที่เรา “เปลี่ยนแปลงไม่ได้ "**
”การยึดเป้าหมายเป็นสำคัญ" แนวคิดที่บอกว่าไม่มีประสบการณ์ใดในอดีต
เป็นสาเหตุของความสําเร็จหรือความล้มเหลวในปัจจุบัน เราไม่ได้ทุกข์ทรมานเพราะเหตุการณ์ในอดีต เราเพียงนำ "สาเหตุ” ในอดีตมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เราต้องการ
เช่น บางคนบอกว่าตนเป็นคนหม่นหมอง เพราะเติบโตมาในครอบครัวที่แย่ แต่จริงๆ เขามีเป้าหมายที่ไม่อยากจะ “เจ็บปวดจากการมีความสัมมพันธ์กับคนอื่น” เลยเลือก ที่จะ “เป็นคนหม่นหมอง” และใช้เรื่อง "เติบโตมาในครอบครัวที่แย่ " มาเป็นข้ออ้างซึ่งแอดเลอร์ มองว่ามันคือ “การโกหกตัวเอง"
ประสมการณ์ในอดีตไม่ได้เป็นตัวกำหนดชีวิตเราในปัจจุบัน เราต่างหากที่เป็นคนกำหนดเอง โดยขึ้นอยู่กับว่าเราจะ “ให้ความหมายแก่ประสบการณ์ในอดีตอย่างไร"
มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถกำหนดชีวิตของตัวเองได้ทุกเวลา แม้จะเป็นแบบนั้นแต่คนที่สามารถเปลี่ยนตัวเองได้จริงๆ กลับมีน้อยมาก เพราะคนส่วนมากจริงๆ แล้ว“ไม่อยากเปลี่ยน”
ถ้าจะพูดแบบเกินจริงการเปลี่ยนแปลงตัวเองก็คือ “ความตาย” การจะเปลี่ยน
แปลงตัวเองคือการยอมละทิ้ง “ตัวตนเดิม” ไม่ต่างจากการขุดหลุมฝังตัวเอง คนเก่า การจะเป็น "ตัวเองคนใหม่" จำเป็นต้องทำขนาดนั้น
หากอยากสร้างสิ่งใหม่ ก็ต้องยอมให้สิ่งเก่ามอดไหม้ไป"
— Untamed, Glennon Doyle
**ปัจจุบันคือสิ่งที่กำหนดอดีต**
”ประวัติศาสตร์” คำนี้หมายถึงเรื่องราวในอดีตที่ถูกบันทึกไว้ แต่อีกมุมหนึ่งประวัติศาสตร์คือมหากาพย์ที่ถูกดัดแปลงโดยผู้มีอำนาจ เพื่ออธิบายว่าทำที่ไม่ผู้มีอำนาจจึงเป็นฝ่ายถูกในช่วงนั้นๆ
ถ้าผู้มีอำนาจถูกโค่นลงเมื่อไหร่ประวัติศาสตร์ก็จะถูกเขียนขึ้นใหม่ทันทีที่เพื่ออธิบายว่าทำไมผู้มีอำนาจคนใหม่จึงเป็นผู้ถูกต้องชอบธรรมและน่านับถือ
สมมุติประเทศหนึ่งมีกลุ่มติดอาวุธคิดวางแผนก่อการรัฐประบาร ถ้าทำพลาดพวกเขาจะถูกจารึกในหน้าประวัติศาสตร์ว่าเป็นกบฏ แต่ถ้าทำสำเร็จพวกเขาจะกลายเป็นวีรบุรุษที่ช่วยผดุงความยุติธรรมทันที จึงพูดได้ว่า
อดีตในแบบที่มีความหมายตรงตามตัวอักษรไม่มีอยู่จริง
กล้าที่จะถูกเกลียด เล่ม 2
เราเองก็ไม่ต่างกัน มนุษย์ทุกคนล้วนเป็นผู้แต่เรื่องเล่าที่ชื่อว่า "ฉัน" และคอยดัดแปลงแก้ไขเพื่อสร้างความถูกต้องชอบธรรมให้ “ฉันในปัจจุบัน" อยู่ตลอดเวลา
ในบรรดาเหตุการณ์มากมายมีแค่ไม่กี่เรื่องที่สอดคล้องกับ "เป้าหมาย" เท่านั้นที่ทุกเลือกมาให้ความหมายและทําให้กลายเป็นความทรงจํา อดีตมีจริงแต่มันอยู่ที่ว่าเราตีความมันอย่างไร
ไม่มีมนุษย์คนไหนมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบไม่ว่าใครก็ต้องเคยพบเรื่องน่าเศร้าหรือความล้มเหลว แต่ทำไมบางคนถึงบอกว่าอดีตที่น่าเจ็บปวดเป็น "บทเรียน” ในขณะที่บางคนบอกว่ามันเป็น "แผลใจ”
---
**ปริซึมสามเหลี่ยม**
บางครั้งผู้ให้คำปรึกษาแบบแอดเลอร์ ในห้องให้คำปรึกษาจะมีปริซึมสามเหลี่ยมตั้งอยู่บนโต๊ะ
ในระหว่างการสนทนาจากจุดที่ผู้รับคำปรึกษานั่งอยู่ เขาจะมองเห็นปริซึมสามเหลี่ยมที่ทำจากกระดาษแค่สองด้าน
ด้านหนึ่งเขียนว่า "คนอื่นเลวร้าย" อีกด้านเขียนว่า ”เราช่างน่าพิงสาร"
โดยทั่วไปแล้วเรามักจะพูดอยู่แต่ของเรื่องนี้ ถ้าไม่เล่าความอับโชคของตนก็จะก่นด่าคนอื่น แต่เมื่อพวกเขามารับคำปรึกษาและมองไปที่ปริซึมนี้ พวกเขาจะตระหนักว่าที่เราเป็นทุกข์กับชีวิตเพราะเราเอาแต่พูดวนอยู่กับแค่สองเรื่องนี้
แต่มันจะไปมีประโยชน์อะไร การก่นด่าตัวเอง ปัญหาหรือผู้อื่นไม่อาจทำให้อะไรเปลี่ยนแปลงได้ มันอาจทำให้เรารู้สึกดีอยู่พักหนึ่งแต่มันไม่ใช่สิ่งที่เราควรนำมาใคร่ครวญทั้งชีวิต สิ่งที่เราควรพิจารณาคือด้านที่สามขอปริซึม ด้านนั้นเขียนว่า…
“จากนี้ไปจะทำอย่างไร”
นี้ต่างหากคือเรื่องที่เราควรครุ่นคิด บางครั้งผู้ให้คำปรึกษาแบบแอดเลอร์จะเอาปริซึมสามเหลี่ยมนี้ให้ผู้รับคำปรึกษาแล้วบอกว่า “คุณจะพูดเรื่องอะไรก็ได้ แต่รบกวนช่วยหันด้านที่คุณกำลังพูดอยู่ออกมาให้ดูหน่อยนะ” และผู้รับคำปรึกษาส่วนใหญ่จะเลือกด้าน " จากนี้ไปจะทำอย่างไร" แน่นอนว่าคือการเลือกด้วยตัวเอง เพราะว่านี้ต่างหากคือสิ่งสำคัญ
การจมปลักอยู่กับอดีตนั้นไม่มีความหมายอะไร มีแต่จะทําให้ทุกข์มากขึ้นสิ่งที่เราควรจะสนใจคือ เราจะทำอะไร อย่างไรต่อไป ชีวิตเรามีแค่ปัจจุบันและอนาคตที่ไม่รู้ว่าจะมีอยู่จริงไหมเท่านั้น นั่นคือสาเหตุที่เราต้องคิดพิจารณาว่า " จากนี้ไปจะทำอย่างไร”
21 วิถีเดินเดี่ยว ข้อที่ 6
6.เรื่องความเสียใจในชีวิต อย่าได้เก็บมาคิด [Do not regret what you have done.]
อย่าเสียใจในสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว สิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้อย่าได้เก็บมาคิดจนฟุ้งซ่านทั้งผู้อื่น การจราจรหรือแม้แต่อดีตของเรา เราแก้ไขสิ่งที่เราทำไปแล้วในอดีตไม่ได้ครับ ผู้อื่นเราก็มิอาจควบคุมได้ หากแต่การเรียนรู้เท่านั้นที่จะทำให้เราสามารถสร้างอนาคตที่ดีกว่าเดิมได้
---
**เป้าหมายของการสอน = การพึ่งพาตัวเองได้**
“มนุษย์เราไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อทำตามความขาดหวังของคนอื่น” และ “คนอื่นก็ไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อทำตามความคาดหวังของเรา”
เราจึงไม่ควรหวาดหวั่นกับสายตาของคนอื่น ไม่เรียกร้องให้คนอื่นยอมรับ แค่เลือกเส้นทางที่ตัวเราเชื่อว่าดีที่สุดก็พอ
*"เราต้องไม่ก้าวก่ายธุระของคนอื่นและก็ต้องไม่ยอมให้คนอื่นเข้ามาก้าวก่ายธุระของเรา”* และการจะทำแบบนั้นได้เราจำเป็นต้อง “พึ่งพาตัวเองได้” และการจะทำให้ใครสักคนพึ่งพาตัวเองได้ต้องอาศัยการ “สอน”
ถาม : ถ้างั้นการสอนไม่ใช่การก้าวก่ายเหรอ?
แอดเลอร์งมองว่ามนุษย์เกิดมาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไร้พลังอำนาจและเราก็อยากหลุดพ้นจากสภาพนั้น ความต้องการนี้เรียกว่า "การแสวงหาความเหนือกว่า"
โดนธรรมชาติแล้วมนุษย์ต้องการ "อิสรภาพ" ต้องการหลุดพ้นจากสภาวะที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้มาเป็น " พึ่งพาตัวเองได้" และเพื่อให้เด็ก ๆ มีความรู้ที่จำเป็นต่อการพึ่งพาตัวเองได้เราจึงต้องมีการสอน
เพื่อให้เด็กมี “ความรู้” ที่จะพึ่งพาตัวเองได้ คำว่า “ความรู้” ในที่นี้ไม่ได้ หมายถึงความรู้ทางวิชาการหรือความรู้ที่ไม่รู้ว่าจะได้ใช้เมื่อไหร่ที่สอนกันในโรงเรียน แต่รวมถึง "ความรู้" ที่ทำให้มนุษย์สามารถมีความสุขในฐานะมนุษย์ได้ ทั้งทักษะการใช้ชีวิต การค้นหาเป้าหมายของตนเอง หรือการอยู่ในสังคม ฯลฯ
การสอนจึงไม่ใช่การ “ก้าวก่าย" แต่เป็นการ “ช่วยเหลือ” ให้เด็กพึ่งพาตัวเองได้ การให้คำปรึกษาเองก็ไม่ต่างกัน ผู้ให้คำปรึกษาพยายามช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาสามารถ "พึ่งพาตัวเองได้"
**แล้วจะสอนยังไง?**
*ห้ามว่าและห้ามชม*
แน่นอนว่าแอดเลอร์ไม่ได้เพิกเฉยต่อกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ แต่กฏนั้นต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่การปฏิบัติตามกฎเพราะถูกบังคับ แต่มันคือการรักษา "*กฎของพวกเราเอง*" ด้วยความเต็มใจ
ถ้ากฎถูกกำหนดโดยคนเพียงคนเดียวเรือกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียวจะทำให้เกิด
“ความขัดแย้ง”
แต่ทำไมต้อง*ห้ามว่า*แล้ว*ห้ามชม* การดุด่าและการชมเปรียบเหมือนกฎที่ถูกตั้งขึ้นโดยที่เด็กๆ ไม่ได้มีส่วนร่วม มันจึงก่อเกิดความขัดแย้ง สิ่งที่ควรทำไม่ใช่การดุด่าหรือการชมแต่คือการ “สอน” เพราะโดยพื้นฐานเด็กคือสิ่งมีชีวิตที่ “ไม่มีความรู้” เราจึงต้องสอนให้รู้และสอนด้วยหลักเหตุผล
แน่นอนเด็กที่ชอบทำตัวมีปัญหาทั้งที่รู้อยู่แก่ใจก็มีอยู่มากโข แต่เราก็ไม่ควรดุด่าเด็กพวกนั้น
ก่อนที่จะไปดูว่าทำไมจึงห้ามต่อว่า เราต้องมาเข้าใจเป้าหมายของเด็กที่เป็นตัวปัญหาก่อน คุณสงสัยไหมไอพวกเด็กที่ชอบก่อเรื่องรู้ทั้งรู้ว่าถ้าทำแล้วจะถูกลงโทษ แต่ทำไมถึงยังทำ การจะเข้าใจเรื่องนี้เราต้องมาดู 5 เป้าหมายของเด็กที่สร้างปัญหาก่อน
--
หลักจิตวิทยาแบบแอดเลอร์แบ่งสาเหตุทางจิตใจที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมก่อปัญหาออกเป็น 5 ขั้น :
เป้าหมายขั้นที่ 1 ของพฤติกรรมก่อปัญหาคือ "*ต้องการการชื่นชม*”
ถ้าดูในแง่บุคคลอาจเรียกได้ว่าเป็นเด็ก/คนดี เขาจะทำตัวดีเพื่อ “*คำชม*” ประเด็นคือการ “ทำดี” ของพวกเขามีเป้าหมายอยู่ที่การ "ได้รับการชื่นชม” หรือ “ได้รับสถานะพิเศษในสังคม”
ปัญหาอยู่ที่ว่าถ้าทำความดีแต่ไม่ได้รับคำชมก็จะส่งผลให้โกรธหรือหงุดหงิด เพราะพวกเขาไม่ได้ทำ “สิ่งที่ดี” แต่ทำ “สิ่งที่ทำที่ให้ได้รับคำชม” ทันทีที่ไม่ได้รับคำชมหรือความสนใจ พฤติกรรมนั้นก็จะไร้ความหมายไปโดยปริยาย และเขาก็จะเลิกเป็น “คนดี”
พวกเขาจะมีที่ทัศนคติที่ว่า "ถ้าไม่มีใครชมก็จะไม่ทำสิ่งที่ควรทำ” และ
”ถ้าไม่มีใครลงโทษก็จะทำสิ่งที่ไม่ควรทำ” และที่สำคัญการมุ่งแต่จะเป็นเด็ก/คนดีตามความขาดหวังของคนรอบข้างทำให้พวกเขามีโอกาสเลือกทางที่ผิด เช่น เด็กอาจโกงข้อสอบเพื่อได้คะแนนที่ดีแล้วก็จะได้คำชม
สิ่งที่ควรทำคือการสอนให้เขารู้ว่าถึงจะไม่ได้เป็น “คนพิเศษ” แต่ก็ยังมี “คุณค่า” ซึ่งทำได้โดยการเคารพ เราควรสอนให้รู้ว่าถึงไม่ได้รับคำชมแต่สิ่งที่พวกเขาทำก็ยังคงมีคุณค่า เมื่อพวกเขาตระหนักได้ถึงคุณค่าของตนเองและสิ่งที่ตนทำเขาก็จะไม่ต้องการคำชมอีก
เป้าหมายชั้นที่ 2 ของพฤติกรรมก่อปัญหาคือ "*เรียกร้องความสนใจ*"
ผู้ที่อยู่ในขั้นนี้จะมีแนวคิดว่า ในเมื่อทำ "สิ่งที่ดี" แล้วไม่มีใครชื่นชมไม่มีใครสน หรือบางคนก็อาจไม่มีความกล้าและความพยายามมากพอที่จะไปถึงจุดที่ได้รับการชื่นชม
พวกเขาจะมีมุมมองว่า “*ไม่ต้องชมก็ได้ ขอแค่เป็นจุดเด่นก็พอ*” เป้าหมายของผู้ที่อยู่ในขั้นนี้ไม่ใช่การ “ทำสิ่งที่ไม่ดี” แต่คือการ “เรียกร้องความสนใจ" "อยากมีสถานะเป็นคนพิเศษ" ด้วยการทำตัวเป็นจุดเด่น
พูดง่ายๆ ก็เรียกร้องความสนใจด้วยการทำตัว*เกเร*นั่นเอง ถ้าคนในขั้นนี้ทุกเพิกเฉยไม่มีใครสนใจ เขาจะคิดว่า “ถ้าเป็นแบบนี้สู้ถูกว่ายังดีกว่า เพราะอย่างน้อยก็มีคนสนใจ”
วิธีรับมือคือ “เคารพ" แค่ต้องบอกด้วยความเคารพว่าไม่จำเป็นต้องพยายาม เป็นคนพิเศษ เพราะการเป็นตัวเองอย่างที่เป็นอยู่ก็มีคุณค่ามากพอแล้ว ไม่ต้องให้ใครมาสนใจก็ได้
เป้าหมายขั้นที่ 3 ของพฤติกรรมก่อปัญหา : “*ช่วงชิงอำนาจ*"
คนที่อยู่ในขั้นนี้จะมีพฤติกรรมต่อต้านไม่ฟังใคร ยั่วยุ ท้าทาย และพร้อม
มีเรื่องตลอดเวลา พวกเขาจะโอ้อวด “อำนาจ” โดยการต่อต้านไม่ทำตามที่คนบอก
เด็กที่อยู่ในขั้นนี้จะพูดจาหยาบคาย ขึ้นจุดบริกฉุนเฉียว ขโมยของ สูบบุหรี่ระเมิดกฎระเบียบเท่าที่ทำได้ ส่วนคนที่ขี้อายหน่อยจะแสดงออกโดยการ “ไม่ทำตาม” ไม่ว่าใครจะพูดอะไรก็จะไม่ทำ
วิธีรับมือ เราต้องตระหนักก่อนว่านี้คือ “เกมช่วงชิงอำนาจ” ส่วนมากเราจะถือ ไม้เทนนิสแห่ง “ความโกรธ” และหวดลูกที่ชื่อ “ดุด่า” ใส่คนพวกนั้น แต่นั้นเท่ากับการรับคำท้าลงไป “เล่นไปเกมเดียวกัน” นอกจากจะไม่ทำให้เขากลัว เขาจะยังมีความสุขอีกต่างหาก
ในขั้นนี้หากมีอะไรเป็นเกินเลย ถ้าเกี่ยวกับกฎหมายก็ต้องปล่อยให้กฎหมายจัดการ แต่นอกเหนือจากนั้น ทันนี้ที่รู้ว่าเขากำลังเล่นเกมช่วงชิงอำนาจ เราต้องรีบเอาตัวเองออกจากเกมทันที การดุด่าหรือแม้แต่การแสดงท่าทีไม่พอใจก็คือการลงไปเล่นเกม
เป้าหมายขั้นที่ 4 ของพฤติกรรมก่อปัญหา : *แก้แค้น*
เมื่อทำถึงขนาดช่วงชิงอำนาจแล้วก็ยังคงไม่ได้รับความสนใจ ยังไม่ได้เป็นคน
พิเศษ พวกเขาจะวางแผนเพื่อแก้แค้น
ถาม: แก้แค้นใคร?
ตอบ: คนที่ไม่ยอมรัมฉัน ไม่ยอมรัก ฉัน
การต้องการการชื่นชม การเรียกร้องความสนใจ การช่วงชิงอำนาจ แต่จะเป้าหมาย แสดงออกถึงการต้องการ “ความรัก” แต่เมื่อไม่สมหวังในความรักไม่ว่าจะรู้แบบใด คนเราก็จะเปลี่ยนไปต้องการ “*ความเกลียดชัง*”
ในเมื่อไม่ยอมรักฉันก็เกลียดฉันเลยและเมื่อสายตาที่เต็มไปด้วยความชิงชังจับจ้องมาที่จุดจุดเดียวพวกเขาก็จะกลายเป็น “จุดเด่นท่ามกลางความเกลียดชัง” และหลงตนไปว่าตัวเองนั้นสำคัญ
เป้าหมายขั้นที่ 5 ของพฤติกรมก่อปัญหา “*แสดงให้นั้นว่าไร้ความสามารถ*”
เมื่อทำทุกอย่างสารพัดแต่ก็ยังเป็น "คนพิเศษ" ไม่ได้ ไม่มีใครรักแม้แต่คนเกลียดก็ยังไม่มี ไม่มี “ที่ทาง” ของตัวเอง พอเป็นแบบนี้พวกก็จะถอดใจ
แต่ในจังหวะนี้เองที่คนรอบข้างจะยืนมือเข้ามาช่วยหรือไม่ก็จ้ำจี้จ้ำไซให้เขาทำสิ่งต่างๆ เพราะคนในขั้นจะไม่ทำอะไรเลยเหี่ยวเฉาเป็นผัก แต่การที่มีคนมาวุ่นวายเพราะคิดว่าทำเพื่อคนคนนั้น แน่นอนมันคือการจุ้นจ้านไม่เข้าเรื่อง
“อย่าคาดหวังอะไรจากฉันเลย” นี้คือความคิดของผู้ที่อยู่ในขั้นนี้และความคิด/ความรู้สึกนี้นำไปสู่การ ”แสดงให้เห็นว่าไร้ความสามารถ”
พูดง่ายๆ คือเขาคิดว่า " ฉันมันไร้ความสามารถ อย่ามาคาดหวังอะไรจากฉันเลย ฉันทำอะไรไม่ได้หรอก” คนในขั้นนี้จะทำทุกวิธีการเพื่อ*แสดง*ให้เห็นว่าตัวเองไร้ความสามารถ เช่น แกล้งทำเป็นไม่รู้เรื่อง เฉื่อยฉา ไม่ว่างานจะง่ายแค่ไหนก็ไม่อยากจะทำ
จากนั้นเขาจะปักใจเชื่อว่าตนนั้น “โง่” ความต้องการของคนกลุ่มนี้คือ “อย่าคาดหวังอะไรจากฉัน อย่ายุ่งกับฉัน
ในขึ้น 1-3 เรายังพอช่วยแก้ไขได้ แต่ในขั้น 4 และ 5 คงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญช่วย
**ที่นี่ทำไมจึงไม่ควรดุด่า?**
ส่วนหนึ่งเพราะมันเป็นการตอบรับท้าเป็นการทำให้คนพวกนั้นได้ใจในขั้น 1 กับ 2 อาจจะไม่ได้อะไรมาก แต่ในขั้น 3 ถ้าลงไปเล่นเกมกับเขาแล้วการจะเอาตัวเองออกมาก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ขั้น 4 กับ 5 ยิ่งถูกดุด่าก็ยิ่งถูกกระตุ้น
อีกส่วนหนึ่งคือ การสื่่อสาร
จุดประสงค์ของการสือสารคือการทำให้เกิดการเห็นพ้องต้องกัน การดุด่าก็เป็นหนึ่งในการสื่อสารแต่มันเป็นการสื่อสารที่ “ใช้ความรุนแรง” และ ”ต้นทุนต่ำ”
การดุด่ามักได้ผลแค่ช่วงเวลาสั้นๆ แต่พอผ่านไปสักพักพวกเขาก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม
ถ้าการดุด่าได้ผลจริง แค่การดุด่าในครั้งแรกก็น่าจะได้ผลถาวรแล้ว ทำไมเรา ต้องดุด่าอยู่ช้า ๆ หลายล้านรอบล่ะ นี้คือหลักฐานว่าการสอนแบบดุด่าไม่ได้ผล
แน่นอนว่าคงไม่มีใครที่ถูกด่าแล้วมีความสุข แต่สำหรับคนใน 5 ขั้นนั้นพวกเขา จะรู้สึกว่าตัวเองเป็นถึงผู้กล้าที่ทํา “ภารกิจพิเศษให้ที่ทำให้ถูกดุได้สำเร็จ” พวกเขารู้จะรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพิเศษตอนที่โดนดุ
อีกทั้งการดุด่ายังตั้งอยู่บนพื้นฐานของ "ความรุนแรง" ถึงจะไม่ใช่ทางร่างกายแต่ความรุนแรงก็คือความรุนแรง เช่น การตะโกนด่า ตะคอกเสียง ทุบโต๊ะบึงบัง
เนื้อแท้ของการ “ดุด่า” คือความรู้สึกที่ว่า “การสื่อสารด้วยคำพูดเป็นเรื่องน่ารำคาญ เลยใช้การดุค่าเพื่อให้อีกฝ่ายขอมจำนน" และการใช้ความรุนแรงคือการสื่อสารที่แสดงให้เป็นว่าบุคคลนั้นขาด *“วุฒิภาวะในฐานะมนุษย์”* ซึ่งสามารถถูกมองออกได้โดยธรรมชาติ
เช่น เวลาที่เด็กๆ ถูกด่าพวกเขาอาจจะกลัวแต่เด็กก็สามารถมองออกได้โดยสัญชาตญาณในทันทีว่าคนที่กำลังดุด่าตะคอกแหกปากเสียงดังอยู่ตรงหน้าตนนั้นเป็น "*มนุษย์ที่ไร้วุฒิภาวะ*” และสมมุติว่าคุณเป็นเด็กหรือเป็นคนที่อายุน้อยกว่าคุณจะเคารพคนที่ขาดวุฒิภาวะลงไหม?
ความโกรธคือความรู้สึกที่ดึงมนุษย์ให้ออกห่างจากกัน”
-อัลเฟรด แอดเลอร์
**สอนด้วยการชม?**
การชม แอดเลอร์ไม่เห็นด้วยกับการชมเขามองว่า “การชม” คือการประเมินคนที่ไร้ความสามารถโดยคนมีความสามารถ โดยที่มีเป้าหมายเพื่อ “ควบคุมผู้อื่น"
ถาม: ทำไมต้องห้ามชม?
ที่ใดมีเผด็จการที่นั่นย่อมมีความขัดแย้ง ไม่ว่าจะในระดับครอบครัว ห้องเรียน โรงเรียน หรือประเทศก็ไม่ต่างกัน แต่ในหลายครั้งผู้นำเผด็จการก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้คน เพียงเพราะผู้นำเผด็จการมีวิธีการใช้วิธีให้รางวัลและบทลงโทษอย่างเข้มขวด
การละเมิดกฎจะถูกลงโทษและการทำตามกฎจะได้รางวัล ผู้คนเลย "แค่ทำตามกฎเพื่อให้ “ได้รับการชื่นชม” หรือ” ไม่ถูกลงโทษ” เท่านั้น
ปัญหาคือเมื่อคนที่ต้องการคำชื่นชมอยู่รวมกันมากๆ ก็จะเกิด “การแข่งขัน” ผู้คนจะดีใจเมื่อได้คำชมและเจ็บปวดเมื่อเห็นคนอื่นได้รับคำชม พวกเขาจะทําทุกอย่างเพื่อให้ได้เป็นคนโปรดของผู้นำ
และในที่สุดสังคมก็จะถูกขับเคลื่อนโดยการแข่งขันเพื่อให้ได้รับคำชม และสิ่งที่จะตามมาสื่อผู้คนจะเป็นคนอื่นเป็น “คู่แข่ง” ไม่ใช่คู่แข่งที่เป็น “มิตร” หากแต่เป็น “ศัตรู”
ลองคิดว่าชีวิตคือการวิ่งมาราธอน การมีคู่แข่งที่เป็นมิตรวิ่งอยู่ข้างๆ อาจทำให้เรามีกำลังใจและอยากวิ่งต่อไป แต่ทันทีที่คิดว่า “*ต้องชนะ*" ทุกอย่างก็จะเปลี่ยนไป
เดิมทีเป้าหมายของเราคือการไปให้ถึงเส้นชัย แต่พอเป็นการแข่งเป้าหมายจะกลายเป็น “ต้องชนะคนคนนี้” ดังนั้นคู่แข่งที่จะเป็น”เพื่อน”ก็จะกลายเป็น”ศัตรู”
มากกว่านั้นคือทันทีที่มีการแข่งขันการเล่นตุกติกก็จะตามมา การเล่นตุกติกเพื่อชัยชนะทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วเราไม่จําเป็นต้องชนะใคร แค่ไปให้ถึงเส้นชัยก็พอ
**การร่วมมือ**
หากไม่อยากให้สังคมมีการแข่งขันที่ไม่สร้างสรรค์ก็ต้องทำให้สังคมนั้นมีความเป็น “ประชาธิปไตย” อย่างแท้จริงไม่มีการให้รางวัล ไม่มีการลงโทษ และไม่มีการแข่งขันที่ไม่สร้างสรรค์
“วิธีให้รางวัลและบทโทษเป็นการพยายามควบคุมบงการคนอื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากความเป็น ประชาธิปไตย เอามากๆ”
ประชาธิปไตย คือสังคมที่ขับเคลื่อนบนพื้นฐานของ “การร่วมมือกัน" ไม่ใช่การ
แข่งขัน มันคือการให้ความสำคัญกับการร่วมมือกันคนอื่นเป็นอย่างแรก ถ้านำการร่วมมือไปใช้ในสังคม ไลฟ์สไตล์ของคนก็จะเปลี่ยนเป็นทุกคนเป็นมิตรของเรา
เริ่มจากการเลิกให้รางวัลและลงโทษ แล้วค่อยๆ กำจัดต้นต่อที่นำไปสู่การแข่งขันเพื่อให้การแข่งขันที่ไม่สร้างสรรค์หมดไป การแข่งขันจะนำไปสู่ “ความสัมพันธ์แบบแบ่งชนชั้น” เพราะเมื่อมีการแข่งขันก็ย่อมมีผู้แพ้และผู้ชนะและเกิดความไม่เท่าเทียมตามมา
ส่วนสิ่งที่สร้าง “ความสัมพันธ์แบบเท่าเทียม” ได้คือ “การร่วมมือ” และการร่วมมือจะช่วยสร้างสังคมที่เป็นประชาธิปไตย
**ชีวิตที่เลือกได้**
หนึ่งในสิ่งที่เราควรสนใจคือ "วิธีใช้ชีวิต" อิมมานูเอล คานต์ ได้เสนอแนวคิดว่า "มนุษย์ที่ไม่หลุดพ้นจากภาวะเด็กไม่รู้ประสา ต้องพึ่งพาการชี้นำจากคนอื่นตลอดนั้นไม่ใช่เพราะเขาไม่มีตรรกะ แต่เพราะพวกเขาไม่มีความกล้าที่จะใช้ตรรกะและตัดสินใจตัวเอง" หรือก็คือ “คนที่ไม่หลุดพ้นจากภาวะเด็กไม่รู้ประสาเป็นผู้ที่เลือกที่จะจมอยู่ในภาวะนั้นด้วยตัวเอง คนพวกนี้คือผู้ที่ไม่สามารถพึ่งพาตัวเอง
คำว่า ตรรกะ ในที่นี้คือความรู้ความสามารถที่ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ ด้านอารมณ์ ด้านการใช้ชีวิตและอื่นๆ คนที่ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ สาเหตุไม่ใช่เพราะขาดความรู้ความสามารถ แต่เพราะไม่มี "ความกล้า" พอที่จะใช้พวกมันต่างหาก
เหตุที่คนบางคนเลือกวางตัวอยู่ใน “ภาวะเด็กไม่รู้ประสา” เพราะการใช้ชีวิต โดยทำตาม “การชี้แนะของคนอื่น” มันง่ายกว่าไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องยากๆ ไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ
ในกรณีของเด็ก ผู้ใหญ่จะชอบบอกว่าการพึ่งพาตัวเองนั้นน่ากลัว เพื่อให้ตัวเด็กอยู่ในการควบคุมของตนเอง
ผู้ใหญ่ชอบเข้าไปวุ่นวายและปกป้องเด็กมากเกินไป ผลคือเด็กก็จะกลายเป็นคนที่ "*ตัดสินใจด้วยตัวเองไม่ได้*” ต่อให้อายุมากขึ้น เขาก็จะยังเป็นเด็กที่ต้องการการชี้นำของคนอื่น พวกเขาจะไม่สามารถเป็นคนที่พึ่งพาตัวเองได้
ถาม: ทำไม่ผู้ใหญ่อยากให้เด็กอยู่ในภาวะไม่รู้ประสาไปเรื่อยๆ
ตอบ: ส่วนหนึ่งก็เพื่อการควบคุมอย่างที่กล่าวไป อีกส่วนเป็นเพราะ“ความกลัว”
ผู้ใหญ่บางคน “กลัวว่าเด็กจะพึ่งพาตัวเองได้" เพราะถ้าเด็กพึ่งพาตัวเองได้ กล้าใช้ตรรกะ แล้วลุกขึ้นมาเผชิญหน้ากับผู้ใหญ่อย่างเท่าเทียน อำนาจที่พวกผู้ใหญ่มีก็จะหายไปภายในพริบตา พ่อแม่จํานวนมากก็มีความกลัวนี้แฝงอยู่ลึกๆ
แม้ว่าเวลาที่เด็กทำผิดคนที่ต้องรับผิดชอบก็คือพ่อแม่ผู้ปกครองหรือครู แต่แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากจะรับผิดชอบความผิดของคนอื่น แล้วจะทำยังไงถึงจะหลีกเลี่ยงการรับผิดชอบต่อความผิดของเด็กได้ล่ะ?
คำตอบสำหรับพวกผู้ใหญ่ก็ง่ายมาก “แค่ควบคุมพวกเขาซะ” ควบคุมพวกเขามากที่สุดเท่าที่จะมากได้ พวกเขาจะได้เดินไปบนเส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ ไม่ต้องลำบาก
และเช่นเคย ผู้ใหญ่ไม่ได้ทำเพราะเป็นห่วงเด็กๆ ทั้งหมดเป็นเพียง “การปกป้องตัวเอง” เพราะไม่อยากรับผิดชอบต่อสิ่งที่เด็กทำ
คนที่มีหน้าที่ในหารอบรมสั่งสอนตลอดจนคนที่มีหน้าที่ในการบริหารองค์กร จึงต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเป้าหมายสูงสุดของการสอนคือการ “พึ่งพาตัวเองได้” และต้องคอยระวังไม่ให้พวกเขาอยู่ในภาวะ" พึ่งพิง” และ “ปราศจากความรับผิดชอบ"
เช่น ครูที่ทำให้เด็กพูดว่า "ที่สอบติดได้ก็เพราะครู” ถือว่าทำในหน้าที่ครูได้ไม่สมบูรณ์ เพราะสิ่งที่อยู่เบื้องหลังคำพูดเหล่านั้นคือ "*ฉันทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้เลย*”
ครูหรือผู้ที่มีหน้าที่สอนที่ดีต้องให้นักเรียนรู้สึกว่าความสำเร็จเกิดขึ้นได้ด้วยความสามารถของตัวเขาเอง
ถาม : ต้องทำผังไงให้เด็ก “พึ่งพาตัวเองได้”
ตัวอย่าง: สมมุติถ้าลูกมาขออนุญาตไปเล่นที่บ้านเพื่อน พ่อแม่บางคนจะ อนุญาตทันที หรือไม่บางคนก็ตั้งเงื่อนไขว่า "ทำการบ้านให้เสร็จก่อนค่อยไป” บางคนก็ไม่อนุญาต แต่ไม่ว่าจะแบบไหนก็จะทำที่ให้เด็กอยู่ในภาวะ “พึ่งพิง” และ “ไร้ความรับผิดชอบ”
แทนที่จะทำแบบนั้นพ่อแม่ควรบอกว่า "ตัดสินใจเองเลยลูก" พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้ว่าชีวิตของตัวเอง กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน ตลอดจนทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเรื่องที่ลูกต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง และพร้อมกันนั้นก็มอบความรู้กับประสมการณ์ที่จำเป็นต่อการตัดสินใจให้กับเขา
เวลาเด็กทำผิดพลาดแน่นอนว่าผู้ใหญ่ย่อมกลายเป็นคนที่ต้องรับผิดชอบ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ถึงขั้นคอขาดบาดตาย ที่จริงแล้วคนที่ต้องรับผิดชอบเต็ม ๆ ก็คือเจ้าตัวเอง
แต่ไม่ใช่ว่าจะให้ปล่อยเด็กไปตามยถากรรมเสียเมื่อไร แค่เราต้องเคารพการตัดสินใจของเด็ก สนับสนุนในสิ่งที่เขาเลือก เฝ้าดูในระยะที่เข้าไปช่วยได้ถ้าจำเป็น แต่ก็ต้องไม่เข้าใกล้มากไป
ต่อให้สุดท้ายสิ่งที่เขาเลือกมันจะจบลงที่ความผิดพลาด แต่เด็กก็จะได้เรียนรู้บางอย่างอยู่เสมอ ที่สำคัญเด็กจะได้เรียนรู้ว่า “ชีวิตเรา เราเลือกได้”
---
**ทำไมแอดเลอร์ ถึงให้เราเลิกวิ่งไล่หาการยอมรับ ??**
หลักจิตวิทยาแบบแอดเลอร์เสนอว่า : มนุษย์ทุกคนล้วนมีความรู้สึกต่ำต้อย
มนุษย์น่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่มีพัฒนาการทาง “ร่างกาย” ช้ากว่า “จิตใจ”
คนเราในตอนเด็กจะดำเนินชีวิตในสภาพที่เหมือนถูกมัดมือมัดเท้า เพราะจิตใจเป็นอิสระแต่ร่างกายนั้นไม่ ทำให้เกิดความไม่ลงรอยกันระหว่าง "สิ่งที่อยากทำ” กับ “สิ่งที่ทำได้” เรื่องนี้ทำให้เด็กเป็นทุกข์ เช่น ผู้ใหญ่เอื้อมถึงชั้นวางของสูงๆ ได้แต่ตัวเองกลับทำไม่ได้
เด็กทุกคนเคยผ่านประสบการณ์ที่ทำให้ตระหนักถึง ความไม่สมบูรณ์พร้อมของตัวเอง พวกเขาจึงมีความรู้สึกต่ำต้อยอยู่ในใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เราทุกคนล้วนเริ่มจาก "ความไม่สมบูรณ์พร้อม" ไม่ใช้ในฐานะมนุษย์ แต่เพราะว่า”ร่างกาย”ของเราตอนเด็ก พัฒนาไม่ทัน “จิตใจ”
แต่ผู้ใหญ่มักมองแค่ความไม่สมบูรณ์พร้อมทาง “กายภาพ” แล้ว "ปฏิบัติด้วยเหมือนเด็ก" โดยไม่ได้มองที่จิตใจของพวกเขา เด็กเลยยิ่งเป็นทุกข์กับความรู้สึกต่ำต้อย เพราะพวกเขาไม่ได้รับการยอมรับคุณค่าในฐานะมนุษย์ ทั้งที่ในระดับจิตใจแล้วก็แทบไม่ต่างจากผู้ใหญ่
แต่ก็ใช่ว่าความรู้สึกต่ำต้อยจะเป็นเรื่องไม่ดีเสมอไป มันสามารถเป็นแรงกระตุ้น ให้พยายามและเติบโตขึ้นได้ด้วย อย่าง ถ้ามนุษย์วิ่งได้เร็วเหมือนม้าก็คงไม่มี สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า “รถ” หรือถ้าเราบินได้เหมือนนกก็คงไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “เครื่องบิน”
สิ่งประดิษฐ์ ความรู้หรือที่เรียกว่า “อารยธรรม” คือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อชดเชยความอ่อน มันคือการก้าวไปข้างหน้าเพื่อต่อสู้กับความรู้สึกต่ำต้อย
และเพราะความอ่อนแอมนุษย์จึงสร้างสังคมขึ้นมาเพื่อใช้ชีวิตแบบร่วมมือกัน แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีความรู้สึกว่า “ตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม” ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของความเป็นมนุษย์
ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไม่ใช่สิ่งที่ต้อง “ฝึกฝน” เพื่อให้ได้มา แต่เป็นสิ่งที่ต้อง “ปลุกขึ้นมา" จากภายใน
ความปรารถนาพื้นฐานของมนุษย์คือความต้องการ “ที่ทาง” ของตนเอง คนเราไม่อยากโดดเดี่ยวและอยากรู้สึกว่า "ตรงนี้คือที่ของเรา" แต่ต้องทำอย่างไรถึงจะ ”รู้สึก” ว่าตัวเองมี “ที่ทาง” ในสังคมล่ะ
อาจต้องเป็นคนพิเศษ แต่ไม่น่าจะใช่เพราะการเติมเต็มความปรารถนาพื้นฐานของมนุษย์ด้วยการชื่นชมและการยอมรับจากคนอื่นจะทำให้ไม่อาจรับรู้ถึงคุณค่าที่แท้จริงได้
ความต้องการการยอมรับมันไม่มีจุดสิ้นสุด เวลามีคนชมเราอาจรู้สึกได้รับการยอมรับและมีความสุขอยู่ชั่วขณะแต่เพราะมันเป็นความสุขที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เราจึงไม่ต่างจากตุ๊กตาไขลานที่ถ้าไม่มีคนไขลานให้ก็เคลื่อนไหวเองไม่ได้
คนที่มีความสุขเมื่อมีคนชมจะ “อยากได้คำชมมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนวาระสุดท้าย” คนแบบนี้จะอยู่ในสภาพ "พึ่งพาคนอื่น” ใช้ชีวิตโดยที่ต้องเรียกร้องจากคนอื่นและจะไม่ได้รับการเติมเต็มไปตลอดกาล
ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำคือ “ต้องตัดสินใจว่าจะยอมรับตัวเอง” และ “ไม่เรียกร้องขอการยอมอันจากคนอื่น” การให้คนอื่นมากำหนดคุณค่าของเราคือการพึ่งพาคนอื่น
ในทางกลับกัน การกำหนดคุณค่าของ "ตัวเรา” ด้วยตัวเราเอง คือการพึ่งพาตนเอง และที่บางคนยอมรับตัวเองไม่ได้เป็นเพราะยังขาด “ความกล้าที่จะเป็นตัวเอง”
แต่วิธีใช้ชีวิตที่ดีที่สุดก็คือ “การเป็นตัวเอง” แม้จะไม่ใช่คนพิเศษแต่ตราบใดที่เป็นตัวเองเราก็จะมีที่ทางในสังคมเสมอ แค่ยอมรับการเป็นคนธรรมในรูปแบบของตัวเราเอง
-คุณค่าของเราอยู่ที่การเป็นตัวเอง ไม่ใช่การแตกต่างจากคนอื่น”
---
**ความรัก**
-ไม่มีอะไรจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความกล้าได้มากเท่ากับ "ความรักในแบบของแอดเลอร์ -
พอเข้าเรื่องความรักเรามักพูดกันแต่ทฤษฎี แน่นอนว่าความรักมีมิติที่เป็น อย่างที่ทฤษฎีเหล่านั้นว่าไว้อยู่ แต่นั่นเป็นเพียงการพูดถึงแต่ "ความรักแบบเทพ" ที่เป็นอุดมคติกับ "ความรักแบบสัตว์" ที่มาจากสัญชาตญาณ แต่ไม่มีการอธิบาย *"ความรักแบบมนุษย์"* เลย
ในมุมมองของใครต่อใครความรักคือ "การตกหลุม" หรือที่เราเรียกว่าการตกหลุมรักนั่นแหละ เวลาตกหลุมรักใครแทบทุกการกระทำจะทำไปโดยปราศจากการยั้งคิด เป็นแรงขันที่ขับเคลื่อนเราโดยที่เราทำอะไรไม่ได้มีแต่ต้องปล่อยใจไปตามพายุแห่งรัก
แต่มีคนหนึ่งที่ตั้งข้อสงสัยต่อสามัญสำนึกของสังคม คิดต่างและเสนอ
”ความเห็นที่ขัดแย้งต่อสามัญสำนึก" คนคนนั้นมีชื่อว่า อัลเฟรด แอดเลอร์
แอดเลอร์เสนอว่า “ความรักไม่ใช่สิ่งที่บริสุทธิ์และเป็นธรรมชาติอย่างที่นักจิตวิทยาบางส่วนคิด” แอดเลอร์บอกว่าความรักของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพรหมลิขิตหรือสัญชาตญาณ หรือก็คือเวลามีความรักมนุษย์ไม่ได้อยู่ในสภาพ "ตกหลุม"
สำหรับแอดเลอร์ ความรัก คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ถ้าความรักเป็นแค่ "การตก
ลงไปในหลุมที่ชื่อว่าความรัก" ไม่ว่าใครก็ทำได้
มันก็คงไม่มีค่าพอให้เรียกว่าเป็นภารกิจของชีวิต “ที่ภารกิจด้านความรักเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะความรักเป็นสิ่งที่ต้องทุ่มเทใจสร้างขึ้นมาจากศูนย์" ไม่ใช้จาก 100 และลดลงเมื่อหมดรัก แต่เริ่มจากไม่รัก (0) ไปเป็นรัก (100)
นี้คือเรื่องที่เราไม่รู้ เราเลยเอาเรื่อง “พรมลิขิต” หรือ “ สัญชาตญาณ” มาอธิบาย ผลคือเราใช้ชีวิตโดยไม่ได้เผชิญหน้ากับสิ่งที่สำคัญที่สุด “เรายังไม่เคยมีความรัก”
สมมุติคุณกำลังอยากได้อะไรบางอย่างเช่น กล้องถ่ายรูปแล้วคุณก็ดันไปเห็น กล้องตัวหนึ่งจะวางโชว์ไว้อยู่ คุณไม่เคยใช้งานมันไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะปรับโพกัส ยังไง แต่ก็ยังอยากได้ แค่หลับตาก็นึกถึงกล้องตัวนั้น คุณอยากได้มันมากๆ
แต่ความจริงคือ คุณจะเบื่อมันหลังจากได้มันมาครอบครองเพียงครึ่งปี ทำไมถึงเบื่อล่ะ? คำตอบง่ายๆ คือคุณไม่ได้อยากถ่ายรูปด้วยกล้องนั้น คุณแค่อยากเอาชนะ อยากครอบครอง อยากเป็นเจ้าของ การตกหลุมรักก็เหมือนกันมันคือความอยากชนะ
เราสามารถอธิบายการตกหลุมรักให้กลายเป็นเรื่องโรแมนติกได้แต่จริงๆแล้วมันก็คือความอยากได้อยากมีนั่นแหละ
นั่นคือสิ่งที่เราให้ความสนใจ มันคือเรื่องราวตั้งแต่เริ่มจนถึงตอนที่ซินเดอเรลลาได้ครองคู่กันเจ้าชายนี้คือ “การตกหลุมรัก” แต่สิ่งที่แอดเลอร์สนใจคือเรื่องราวต่อจากนั้น แอดเลอร์สนใจ "ความสัมพันธ์" หลังจากคนสอนคนได้ครองคู่กันแล้ว
ในการบรรยายเกี่ยวกับเรื่องความรัก ผู้คนต่างถามหา “*เทคนิคการเป็นที่รัก*" แต่แอดเลอร์มองต่างเขาไม่สนใจว่าควรทำอย่างไรจึงจะเป็นที่รัก ความสนใจของเขาอยู่ที่ "เทคนิคการรักคนอื่น"
อีริด ฟรอมพ์ ผู้เขียนหนังสือ The Art of Loving (ศิลปะแห่งการรัก) กล่าวว่า “การได้รับความรักจากคนอื่นเป็นเรื่องยากแต่ ‘การรักคนอื่น’ เป็นเรื่องที่ยากกว่าหลายเท่า”
**ความรักคือสิ่งที่ต้องสร้างด้วยกัน**
คนส่วนมากคิดว่า "การรัก" เป็นเรื่องง่าย "การได้เจอคนที่ใช่” เป็นเรื่องยาก ส่วนนี้เราจะมาดูว่าแอดเลอร์นิยามความรักยังไง
แอดเลอร์บอกว่า “เราได้เรียนรู้สิ่งที่ต้องทำคนเดียวกับสิ่งที่ต้องห้า
กันหลายคนไปแล้ว แต่กลับไม่เคยเรียนรู้สิ่งที่ต้องทำร่วมกันสองคนเลย”
เมื่อเริ่มแรกเราทำอะไรเองไม่ได้ แต่เราก็เรียนรู้สิ่งที่ต้องทำคนเดียว อย่างการยืน เดิน หรือวิ่ง และสิ่งที่ต้องทำกันหลายคนอย่างการทำงาน แต่เราไม่เคยเรียน "สิ่งที่ต้องร่วมกันสองคนให้สำเร็จ"
สิ่งที่ต้องทำร่มกันสองคนก็คือ “ความรักในแบบของแอดเลอร์” ความรักเป็น สิ่งที่ต้องทำร่วมกันสองคนให้สำเร็จ แต่เรากลับไม่เคยเรียนรู้เทคนิคในการทำสิ่งนี้เลย
ถาม: แล้วทั้งสองคนต้องช่วยกันทำอะไร?
ตอบ: ความสุข ต้องทำให้ชีวิตมีความสุขร่วมกัน
เราทุกคนอยากมีความสุข เราจะมีความสุขได้ต่อเมื่อก้าวออกไปมีความสัมพันธ์กับคนอื่น *“ความทุกข์มาจากความสัมพันธ์กันผู้อื่น ความสุขก็เช่นกัน”*
ความสุข = การ“รู้สึก” ว่าได้ช่วยเหลือคนอื่น
คนเราจะเห็นว่าตัวเองมีคุณค่าก็ต่อเมื่อ“คิดว่า”ตัวเองมีประโยชน์กับใครสักคน“
มาถึงตรงนี้ตั้งแต่เล่ม 1 ยันเล่ม 2 เราจะเห็นว่าแอดเลอร์เลือกใช้คำว่า “รู้สึกว่า" และ "คิดว่า” เพราะจริงๆ มนุษย์ไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่า สิ่งที่ตนทำนั้นมีประโยชน์กับคนอื่นจริงๆ หรือเปล่า
ดังนั้นแอดเลอร์จึงบอกว่าขอแค่เรา "รู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์กับใครสักคน" หรือ “รู้สึกว่าได้ช่วยเหลือคนอื่น" ก็เพียงพอแล้ว
เมื่อทำภารกิจด้านการงานและด้านการเข้าสังคมได้ดี เราจะรู้สึกได้ว่าตัวเองมี ประโยชน์และได้ช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งจะกลายเป็นที่มาของความสุขของเรา
แต่มันไม่เหมือนกัน เวลาที่ทำภารกิจด้านการงานกลยุทธ์ที่เราใช้คือ “การแบ่งงาน” และ “การยึดความสุขของตัวเอง” ซึ่งจะกลายไปเป็นความสุขของคนอื่น ในด้านการเข้าสังคมเราต้องยึด “ความสุขของคนอื่น” ต้องเชื่อใจ เป็นผู้ให้และจะได้รับ
ส่วนภารกิจด้านความรักนั้นไม่ได้ใช้ทั้งหลัก “ความสุขของตัวเอง” และไม่ใช้การยึดหลัก "ความสุขของคนอื่น" แต่เป็นการยึดหลัก “ความสุขของเราสองคนที่ไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้”
อย่าเพียงแต่ให้ความสำคัญกันความสุขของ “ตัวเอง "และ “คนอื่น” จำไว้ว่าถ้า “เราสองคน” ไม่มีความสุข ความสุขอื่นๆ ก็ไม่มีความหมาย
ความรักไม่ใช่การยึดประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม แต่เป็นการหลีกเลี่ยงทั้งสองอย่างเพราะ"ประธานของชีวิต” ได้เปลี่ยนไปแล้ว
เมื่อแรกเริ่มมนุษย์จะมองดูโลก ฟัง สัมผัสด้วยตัว “ฉัน” และใช้ชีวิตของ “ฉัน” โดยการแสวงหาความสุขให้ “ฉัน” แต่เมื่อรู้จักความรักที่แท้จริงประธานของชีวิตที่เคยเป็น “ฉัน” จะเปลี่ยนมาเป็น *"พวกเรา"*
เราจะรู้จักความรักที่แท้จริงผ่านแนวทางใหม่ที่ไม่ใช่การยึดทั้งประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนร่วม และประธานชีวิตที่ชื่อว่า “ฉัน” ก็จะหายไปเพื่อให้ชีวิตมีความสุข
แต่ในมุมมองผม “ฉัน” ไม่ควรหายไปแบบ 100% เพราะ “ฉัน”กับ”เธอ”รวมกันเป็น “พวกเรา” เปรียบ “ฉัน” เป็น 1 และ “เธอ” เป็น 1 อีกตัว 1+1 = 2 และ 2 คือ “พวกเรา”
ดังนั้นถ้า 1 ตัวใดตัวหนึ่งหายไปอย่างสมบูรณ์ก็จะไม่มี “พวกเรา”
เพราะฉะนั้น “ฉัน” ก็ยังคงเป็น “ฉัน” แค่เปลี่ยนจุดโฟกัสของชีวิตจากเดิมที่เคยฟังด้วยหูของ “ฉัน” มองด้วยตาของ “ฉัน” ตามหาความสุขของ “ฉัน” มาเป็น ฟังด้วยหูของ “พวกเรา” มองด้วยตาของ “พวกเรา” ตามหาความสุขของ “พวกเรา”
แค่เปลี่ยนจุดโฟกัสจาก “ฉัน” เป็น “พวกเรา” เท่านั้นเอง มันไม่ได้หมายความว่าเราต้องล่ะทิ้งตัวเรา
อนึ่งการพึ่งพาตัวเองได้คือ "การหลุดพ้นจากการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง” และความรักเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ยากที่สุดได้
นั้นคือเปลี่ยนประธานของชีวิตที่เคยเป็น “ตัวฉัน” ให้กลายเป็น "พวกเรา" ความรักจึงเป็นสิ่งที่ปลดปล่อยตัวเราให้เป็นอิสระ สามารถพึ่งพาตนเองและยอมรับโลกอย่างแท้จริง
หากท่านได้อ่าน Untamed ท่านอาจจะสงสัย เพราะคุณ Glennon บอกให้เราตามหาตัวเอง แต่ผมจะอธิบายตามความเข้าใจของผม
การเป็นตัวเองไม่ใช่เรื่องที่ผิด สิ่งสำคัญคือเราต้องทำให้ตัวเราเองตระหนักรู้ว่าเราไม่ใช่ “ศูนย์กลางจักรวาล” การเป็นตัวเราในแบบคุณเกล็นนอนนั้นเธอไม่ได้กรีดร้องหรือโวยวายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ
เธอพึ่งพาตัวเองทำภารกิจทั้ง 3 ด้านของชีวิตและปลดปล่อยตัวเองจากกรงขัง หรือไลฟ์สไตล์ที่โลกบอกให้เป็นได้แล้ว
ในตอนแรกเธอเป็นในสิ่งที่โลกบอกให้เป็นเพราะเธอไม่มีความกล้าที่จะใช้ตรรกะของตัวเอง เธอไม่มีความกล้าที่จะมีความสุข เธอทำตามสิ่งที่โลกและสังคมบอกเพราะต้องการ “การยอมรับ”
แต่แล้วเธอก็ตระหนักได้ว่านี้คือชีวิตของ “เธอ” และเธอก็อยากเป็น “เธอ” คุณเกล็นนอนจึงก้าวออกจากกรงขังและใช้ชีวิตของตัวเธอเอง
แม้จะมีคนเกลียดบางก็ไม่เป็นไรเพราะเธอยอมรับและรักตัวเองได้แล้ว
การพึ่งพาตัวเองได้ไม่ใช่เรื่องของเงินหรืองาน แต่เป็นเรื่องของ “ท่าทีในการใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ของเรา”
ตอนเด็กเราเลือกไลฟ์สไตล์ที่ช่วยให้เราเป็นที่รักเพื่อเอาตัวรอด เพราะเรายังทำอะไรเองไม่ได้ หรือก็คือเรายอมเข้าไปอยู่ในกรงขังเพื่อเอาใจผู้อื่น
ไลฟ์สไตล์ที่ช่วยให้เป็นที่รักคือการคิดว่าทำอย่างไรจึงจะได้เป็น “ศูนย์กลางของโลก” มันคือ “ไลฟ์สไตล์ของเด็ก” เพื่อให้ได้รับการยอมรับและมีชีวิตรอด
แต่เมื่อเรากล้าที่จะรักใครสักคนอย่างเด็ดเดี่ยวและแน่วแน่ เราจะสามารถบอกลาไลฟ์สไตล์ของเด็กได้ เราจะพึ่งพาตัวเองอย่างแท้จริงเพราะจุดโฟกัสได้เปลี่ยนจาก “ฉัน” เป็น “พวกเรา”
ความรัก = การพึ่งพาตัวเอง = การเป็นผู้ใหญ่
เพราะแบบนี้ความรักจึงเป็นเรื่องที่ยาก แต่เราทุกคนต้อง “กล้าที่จะรัก”
---
**สรุปจบ**
- การมี “ความรักที่แท้จริง” จะทำให้เรากลายเป็นผู้ใหญ่ เพราะประธานของชีวิตนั้นเปลี่ยนไปเราจึงต้อง “พึ่งพาตัวเอง”
- เราจะเห็นว่าตัวเองมี “คุณค่า” จากการ “รู้สึกว่า” เราได้ช่วยเหลือผู้อื่นหรือสร้างประโยชน์แก่ผู้อื่นซึ่งจะทำให้เรา “มีความสุข”
- เราไม่ควรเรียกร้อง “การยอมรับจากผู้อื่น” เพราะ “คุณค่าที่แท้จริง” ของเราเป็นสิ่งที่เราต้องสร้างมันขึ้นมาจาก “ภายใน” ด้วยการ "ยอมรับตัวเอง” “เป็นตัวของตัวเอง” ตราบใดที่เราเป็นตัวเอง เราจะหาที่ทางของตัวเองได้แน่นอน
- เป้าหมายของ”การสอน”คือการทำให้ผู้ถูกสอน “พึ่งพาตัวเองได้” สิ่งที่ครู พ่อแม่หรือใครก็ตามควรทำคือ การสอนให้เด็กรู้ว่าเขาต้องเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง ชีวิตนี้เป็นของตัวเขาเองไม่ใช่ใครอื่น
- “การชม”จะนำไปสู่ การแข่งขันที่ไม่สร้างสรรค์ส่งผลให้เรามองคนอื่นเป็น “ศัตรู” และจะเกิด “ความสัมพันธ์แบบแบ่งชนชั้น” เราควรสร้างการแข่งขันที่ทุกคนมุ่งที่จะร่วมมือกันและมองคนอื่นเป็น “มิตร”
- การดุด่าคือการแสดงออกถึงความรุนแรงและผู้ใดก็ตามที่ใช้ความรุนแรง
นั่นเท่ากันว่า “คนผู้นั้นไร้ซึ่งวุฒิภาวะ” ไม่มีความน่าเคารพแม้แต่น้อย
- เป้าหมายในการสร้างปัญหาของเด็กมีอยู่ 5 ขั้น
1 ต้องการตื่นชม
2 เรียกร้องความสนใจ
3 ช่วงชิงอำนาจ
4 แก้แค้น
5 แสดงให้เห็นว่าไร้ความสามรถ
ในชั้นที่ 1-3 เรายังพอแก้ไขได้โดย “การเคารพ” เด็กและสอนให้พวกเขารับรู้คุณค่าที่มีอยู่ในตัวเองโดยที่ไม่ต้องให้คนอื่นมาสนใจหรือมาชื่นชม
แต่ในขั้นที่ 4-5 เราคงต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
- การดุด่า เป็นดั่งกฎของเผด็จการที่ทุกตั้งขึ้นโดยที่เด็กไม่ได้มีส่วนร่วม และที่ใดมีเผด็จการที่นั่นย่อมมีความขัดแย้ง
- ”การสอน”ถือเป็นการ “ช่วยเหลือ” ไม่ใช่การ”ก้าวก่าย” เพราะจุดประสงค์ของการสอนคือการทำให้ผู้ถูกสอน “พึ่งพาตัวเองได้”
- เมื่อพิจารณาจากปริซึมสามเหลี่ยมคนเรามักบ่นอยู่แค่ 2 ด้าน ด้านหนึ่งคือ “คนอื่นช่างเลวร้าย” ส่วนอีกด้านคือ “เราช่างน่าสงสาร” แต่สิ่งที่มีค่าต่อชีวิตของเราจริงๆ คือด้านที่สามของปริซึมนั้นคือ “จากนี้ไปจะทำอย่างไร” เพราะนี้คือเรื่องที่สำคัญ
- ปัจจุบันคือสิ่งที่กำหนดอดีต มันไม่ได้สำคัญว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับเราแต่มันขึ้นอยู่กับว่าเราให้ความหมายกับมันอย่างไร
- It not what happened to you but How you react
to it that matter.
- Epictatus
- เราสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ตลอดเวลาที่เราต้องการ
*ความเคารพสามารถแพร่ทั้งกันได้ ถ้าเราเคารพผู้อื่นเราจะได้รับการเคารพ
> การเคารพ คือการมองคนในแบบที่เขาเป็น และ การตระหนักว่าตัวตนของคนคนนั้นมีเพียงหนึ่งเดียวที่ไม่มีอะไรมาแทนที่ได้ " - อีริค ฟรอมม์ -
>
- ความต่างของศาสนาและปรัชญาคือเรื่องเล่า ศาสนา “มีพระเจ้า” หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นตัวเอกของเรื่องแต่ปรัชญาอธิบายทุกอย่างในรูปแบบนามธรรม
- จงเป็นผู้ที่ “ไม่รู้” เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราคิดว่าเรา “รู้” เราจะหยุดที่ขวนขวายหาความรู้โดยอัตโนมัติและเราก็จะกลายเป็นคนโง่อย่างแท้จริง
-The only true wisdom is in knowing you know nothing.
— Socrates
โฆษณา