24 เม.ย. เวลา 11:25 • ปรัชญา
Chiang Rai

"คนพาลผู้ประพฤติชั่ว"

มักหลงคิดผิดว่าสิ่งที่ตนทำ
ไม่ดีกับผู้อื่นนั้นคือเรื่องที่ถูกต้อง
โดยไร้จิตสำนึกของความเป็นคน
จนแยกแยะคำว่าดีเลวไม่ออก
และผู้เป็นพาลมักชอบเอาความคิด
ของตนเองเป็นใหญ่โดยทำตัวเป็น
น้ำเต็มแก้ว
ใครมีความเห็นที่ผิดไปจากตน
คนนั้นคือภัยของเขา
ผู้ที่มีความอ่านความคิดเช่นนี้
มักไปไหนก็จะเป็นขี้ปากชาวบ้านไปทั่ว
ยิ่งหนักไปกว่านั้นคือผู้เป็นพาลย่อมกำลัง
ประสบกับบาปที่มิใช่บุญเป็นอันมาก
อยู่เรื่อยๆโดยที่ตัวเขานั้นไม่รู้ตัว
..
"ผู้เป็นบัณฑิตแท้" จักทำการใด
ย่อมมีสติและไม่ประมาท
ในการอยู่อย่างโดยรอบเสมอ
และยังรู้จักแยกแยะดีชั่วได้
โดยกระทำในสิ่งที่ถูกต้องอยู่เสมอๆ
"ความสุขแท้" บางทีอาจอยู่ใกล้ตัวเรา
โดยที่ตัวเราอาจยังไม่ทันสังเกต
และไม่รู้ตัว
โดยที่สิ่งที่ได้ที่มีนั้นไม่จำเป็นต้อง
เป็นวัตถุสิ่งของเสมอไป
แต่อาจเป็นความสุขในแบบที่เราพอใจ
จริงๆในบางสิ่งบางอย่าง
..
ส่วน
"ความสุขเทียม" ของผู้เป็นพาลนั้น
โดยมากมักย่อมอยากได้ความสุข
ที่เต็มไปด้วยกองกิเลสตัณหาที่ใครๆ
ก็อยากได้ อยากมี
เช่น เงินตรา อำนาจ ชื่อเสียง
หรือเกียรติยศ (ได้มาโดยมิชอบ)
..
โลกย่อมน่าอยู่จนน่าอัศจรรย์ใจ
หากผู้คนบนโลกประพฤติตามศีล
ตามธรรมและกระทำแต่สิ่งที่เรียกว่า
กุศลไว้มากๆกันถ้วนหน้า
หากเป็นเช่นนั้นจริง
โลกที่มีแต่การเบียดเบียดย่อม
หาไม่เจอเป็นแน่แท้
หากเป็นเช่นนั้นจริง..
..
"อันคนพาล มักทำตัว อย่างผู้หลง
ใจพะวง คิดพูดทำ แต่เรื่องเลว
ประพฤติชั่ว หยาบช้า มิกลัวเกรง
ไม่ชัดเจน ก่อแต่กรรม ทุกข์ยืนยาว.."
..
เขียนผ่านความรู้สึก : Weerawit Phanjaturaphat
ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดีนะครับ ขอบคุณครับ 😊
เรียบเรียงนำเสนอบทความ :
"สาระหลากด้าน"
โฆษณา