25 เม.ย. เวลา 01:30 • ครอบครัว & เด็ก

ช่วงนี้ หลายคนอาจผ่านหูผ่านตากับโพสต์กึ่งระบาย กึ่งตัดพ้อ 💬

เกี่ยวกับชีวิตคู่ของตนที่พึ่งเลิกกับแฟนด้วยสาเหตุเพราะแฟนเป็น “เดอะแบก” ของครอบครัว 😳 เล่าแบบคร่าวๆ บรีฟๆ คือ จำเป็นต้องเลิกกันเพราะแฟนเงินเดือนไม่พอใช้ ทำงานได้เงินมาต้องส่งให้ทางบ้านทุกเดือนเกือบ 50% ของรายได้ และสุดท้ายจุดพีคที่ทำให้ทั้งคู่ทะเลาะกัน คือ เกิดปัญหาทางบ้านอีกและเรื่องการเงินจึงกลายเป็นปัญหาบานปลายมาหยิบยืมอีกฝั่งทำให้กระทบกระทั่งกัน 💥
หากมองดูในมุมความกตัญญู เข้าใจได้มากๆ ครับว่าการเป็นเดอะแบก เป็นเรื่องที่แทบจะเห็นได้หลายบ้านหลายครอบครัว เพราะนี่คือจุดเด่นจุดดีที่น่าชื่นชมของคนไทยที่รักครอบครัว รักพ่อรักแม่ เมื่อหาเงินได้ จึงอยากตอบแทนค่าน้ำนมเลี้ยงดูท่านในยามแก่เฒ่า 👴🏻👵🏼
แต่ในอีกมุมที่ค่าครองชีพเริ่มสูงแซงรายรับ การบริหารจัดการเงินที่ผิดพลาดอาจสร้างผลกระทบตามมาเป็นลูกโซ่ได้เลยทีเดียว 😰 ถ้าเป็นแบบนี้ เดอะแบกของที่บ้านควรเรียนรู้วิธีบริหารจัดการเงินของตนเองก่อน ดังนี้ครับ
🧮 งบการเงินของเราเอง เราต้องรู้ครับ เพื่อวางแผนใช้จ่ายได้ถูก จะทำเป็นรูปแบบบัญชึใน excel ก็ได้ หรือใช้วิธีสไตล์ old school จดรายรับรายจ่ายใส่บัญชีครัวเรือนง่ายๆ ก็ไม่ผิดครับ หรือเดี๋ยวนี้แอปในมือถือมีให้โหลดมาเก็บข้อมูลง่ายๆ สำคัญคือ ขอแค่เริ่มทำต่อเนื่องสม่ำเสมอ แค่นี้ครับ เราจะเห็น flow ของกระแสเงินรับจ่ายเราแล้ว และจะพอคาดประมาณเงินของเราในอนาคตได้คร่าวๆ ด้วย
📝 ทีนี้ พอเห็นตัวเลขในกระดาษที่ชัดเจนขึ้นแล้ว เวลาจะคิดจะวางแผนอะไรมันก็จะง่ายขึ้นกว่าตัวเลขที่ลอยๆ ในความคิด สิ่งที่ต้องทำต่อมาเลย คือ มาดูรายการค่าใช้จ่ายกันครับ ค่าใช้จ่ายมี 2 ส่วนที่ควรรู้ ส่วนแรก คือ ค่าใช้จ่ายประจำหรือคงที่ ส่วนนี้ อาจไปแตะอะไรไม่ค่อยได้มาก เพราะถูกล้อคไว้ด้วยสัญญา ค่าปรับ ดอกเบี้ยล่าช้า ฯลฯ ตัวอย่างเช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ สัญญากู้ยืมไฟแนนซ์ต่างๆ ส่วนนี้จำเป็นต้องจ่ายต่อเนื่องห้ามขาดครับ
แต่ส่วนที่เราสามารถปรับได้ คือ รายจ่ายจร หรือ ผันแปร อาทิ ค่ากิน เที่ยว สังสรรค์ ภาษีสังคม ภาษีเงินได้ ค่าน้ำไฟโทรศัพท์ รวมถึงเงินอุปการะผู้อื่น ในส่วนนี้ อาจลองค่อยๆ ดูทีละรายการ รายการไหนเกินความจำเป็น ปรับลดได้ ทยอยลดครับ อาจต้องรัดเข็มขัดนิดนึง ทนเอาหน่อย ชีวิตต้องสู้เดี๋ยวก็ผ่านไป อันไหนไม่จำเป็นงดได้งดเพื่อความอยู่รอดก่อน 🥺
สำหรับในส่วนของค่าอุปการะคนในครอบครัว ตามที่เป็นตัวอย่างที่คุยกันข้างต้น ทางออกที่น่าจะดีและเหมาะสมสำหรับทุกฝ่ายเลย คือ ตั้งโต๊ะเจรจาครับ ควรได้หันหน้าคุยกันทุกคน เปิดใจให้ทุกคนในครอบครัวได้รู้สถานการณ์การเงินของเดอะแบกว่าปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง ✅ อย่างน้อยที่สุด เราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก ครอบครัวอาจพอช่วยเหลือตัวเองได้ในระหว่างนี้ ลดการพึ่งพิงชั่วคราว ก็พอจะทำให้เดอะแบกลดภาระความตึงทางการเงินลงได้บ้าง
☔️ วิธีบริหารจัดการขั้นสุดท้ายสำหรับ “เดอะแบก” ของบ้าน คือ กันเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินด้วยครับ อย่างน้อยที่สุด 3 เท่าของรายจ่ายครอบครัว และต้องไม่ลืมทำประกันชีวิตคุ้มครองตนเองในฐานะรายได้ของครอบครัว เสาหลักของที่บ้าน เพราะหากขาดเราไป เสาล้มบ้านทรุดแน่นอน 🏚️
แล้วทำเท่าไหร่ดีล่ะ ❔ ถึงจะเพียงพอและปลอดภัย ถ้ากรณีเราคือรายได้หลักของครอบครัว รายจ่ายทุกรายการ เราจำเป็นต้องดูแลรับผิดชอบ หยิบตัวเลขรายจ่ายของครอบครัวแต่ละรายการที่เราได้ทำไว้แล้วในบัญชีครัวเรือนหรืองบการเงินออกมาครับ รวมดูว่าปีนึงประมาณเท่าไหร่ ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายครอบครัวประมาณ 120,000 บาทต่อปี (เดือนละ 10,000 บาท) เราควรทำทุนประกันชีวิตตนเองคุ้มครองไว้อย่างน้อย 10 เท่าเป็นขั้นต่ำ คือ 1,200,000 บาท หรือตีง่ายๆ ว่าคุ้มครองไว้ 10 ปีนั่นเองครับ ✅
เบี้ยไม่แพงหรอกครับสำหรับประกันชีวิตแบบนี้ แต่สิ่งที่แลกมาคือ ความสบายใจของเรา หากวันนึงไม่อยู่ ก็หมดห่วงตายตาหลับนะครับ ถ้าใครสนใจอยากให้ THEE PLANS 🦌 ช่วยคำนวณเบี้ยประกันให้ หรือต้องการขอคำปรึกษา สามารถทักข้อความมาสอบถามได้เลยครับ พวกเรายินดีดูแลและช่วยวางแผนการเงินให้ครับ 💋
บอส พัทธนันท์ 🦌
ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™
นักวางแผนการลงทุน (IP)
สนใจอ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม มาเป็นเพื่อนบ้านกับ THEEPLANS 🫎 กันครับ https://thee.pw/LinkTree
#เดอะแบก
#ประกันชีวิต #คุ้มครองรายได้
#THEEPLANS
#FinancialSolutions
#STANDbyYOU
โฆษณา