24 เม.ย. เวลา 18:48 • ข่าว

สารทำความเย็นรั่วไหล ไม่ใช่ครั้งแรก !

จากเหตุการณ์ “ก๊าซแอมโมเนียรั่วไหล” ในพื้นที่ใกล้โรงน้ำแข็ง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ที่เกิดขึ้นมาอีกครั้งในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานสาธารณสุข ได้ออกประกาศเตือนภัย แก่ประชาชนที่อยู่รอบข้าง ที่ได้รับการสูดดม หรือรับก๊าซแอมโมเนียมากเกินไป
โดยหากเกิดอาการ ตาอักเสบ น้ำตาไหล หายใจหอบถี่ แสบคอ จมูก หรือผิวหนังอักเสบ ให้รีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากมีอันตรายถึงตายได้
นอกจากแอมโมเนียแล้ว ยังมีสารทำความเย็นหลายชนิดอาจเป็นพิษได้หากสูดดม กลืน หรือสัมผัสกับผิวหนังหรือดวงตา ความเป็นพิษของสารทำความเย็นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีและความเข้มข้น
𝗔𝗦𝗛𝗥𝗔𝗘 ได้จัดหมวดหมู่สารทำความเย็นแบ่งตามระดับการติดไฟและสารพิษ โดยแบ่งความเป็นพิษของสารทำความเย็นเรียงจากความเป็นพิษน้อยไปหามาก ตั้งแต่ระดับ 𝗕𝟭-𝗕𝟯 ตามลำดับ เช่น
ระดับ 𝗕𝟭 : 𝗥-𝟭𝟮𝟯, 𝗥-𝟭𝟬, 𝗥-𝟳𝟲𝟰
ระดับ 𝗕𝟮 : 𝗥-𝟳𝟭𝟳 (𝗮𝗺𝗺𝗼𝗻𝗶𝗮), 𝗥-𝟰𝟬
ระดับ 𝗕𝟯 : 𝗥-𝟭𝟭𝟰𝟬 (𝗖𝗵𝗹𝗼𝗿𝗼𝗲𝘁𝗵𝘆𝗹𝗲𝗻𝗲/𝘃𝗶𝗻𝘆𝗹 𝗰𝗵𝗹𝗼𝗿𝗶𝗱𝗲)
อ่านบทความ "การแบ่งประเภทของสารทำความเย็น" ได้ที่ : https://www.coldersolution.co.th/.../07/Refrigerant-type/
สารทำความเย็นมีพิษที่เรารู้จักกันดี และใช้ในงานอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย คือ แอมโมเนีย หรือ 𝗥-𝟳𝟭𝟳 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับระบบทำความเย็นเชิงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
แอมโมเนียเป็นก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งเป็นสารประกอบของไนโตรเจนและไฮโดรเจน สามารถใช้ผลิตและเป็นตัวสร้างสารเคมี สำหรับอุตสาหกรรมบางประเภท เมื่อใช้ในระบบทำความเย็น แอมโมเนียจะทำงานเพื่อดักจับ และถ่ายเทพลังงานความร้อนเพื่อให้แยกออกจากกระบวนการทำความเย็น
สำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรม แม้จะมีความเป็นพิษที่ถือว่าเป็นข้อเสียด้าน "โทษ" แต่ก็ยังมีด้าน "ประโยชน์" หลากหลายประการเช่นกัน ดังนั้นการออกแบบระบบทำความเย็นในโรงงานจึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยค่อนข้างสูง
เช่น มีอุปกรณ์ Gas detector, Pressure indicator จึงสามารถใช้งานสารทำความเย็นที่มีพิษ หรือสารทำความเย็นที่มีคุณสมบัติติดไฟได้ ตามข้อบังคับของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
อย่างที่กล่าวไป นอกเหนือจากแอมโมเนียแล้ว น้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น "สารเคมี" แล้ว ย่อมเป็นอันตรายต่อร่างการมนุษย์ หากได้รับสารเคมีเข้าร่างกาย หรือ หากปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ก็ยังเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยมีสาเหตุการรั่วไหล เช่น อุปกรณ์ชำรุด ไม่ได้มาตรฐาน หรือความผิดพลาดในการจัดเก็บ/ขนย้าย
▶ อันตรายของสารทำความเย็น :
• พิษต่อระบบทางเดินหายใจ : สารทำความเย็นบางชนิด ระเหยเป็นไอและเข้าสู่ปอด อาจทำให้เกิดการระคายเคือง ไอ หายใจลำบาก ปอดบวม และเสียชีวิตในกรณีรุนแรง
• พิษต่อระบบประสาท : สัมผัสสารทำความเย็นเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน สับสน และหมดสติ
• พิษต่อผิวหนัง : สัมผัสสารทำความเย็นโดยตรง อาจทำให้เกิดอาการผิวไหม้ แสบร้อน พุพอง และเป็นแผลเรื้อรัง
• พิษต่อระบบทางเดินอาหาร : กลืนกินสารทำความเย็น อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง และเสียชีวิตในกรณีรุนแรง
▶ วิธีป้องกันพิษจากสารทำความเย็น :
• ติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องทำความเย็นโดยผู้เชี่ยวชาญ : บำรุงรักษา และตรวจสอบหาจุดรั่วไหลเป็นประจำ รวมถึงการเติมสารทำความเย็น และติดตั้งระบบระบายอากาศที่เหมาะสม
• สวมอุปกรณ์ป้องกัน : ผู้ใช้งานควรสวมเครื่องมือป้องกันเสมอ เมื่อทำงานกับสารทำความเย็น เช่น แว่นตา ถุงมือ หน้ากากป้องกันแก๊สพิษ เป็นต้น และควรทำงานในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดการสะสมของสารทำความเย็นในพื้นที่
• เก็บสารทำความเย็นอย่างถูกต้อง: เก็บสารทำความเย็นในภาชนะที่ปิดสนิท ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ห่างไกลจากความร้อน ประกายไฟ และเด็ก
อ่านบทความ "วิธี "เก็บสารทำความเย็น" อย่างปลอดภัย" เพิ่มเติมได้ที่ : https://www.coldersolution.co.th/.../08/store-refrigerant/
• จัดอบรม และสร้างความตระหนักรู้แก่บุคลากร : อย่างการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับกรณีได้รับสารพิษจากสารทำความเย็น วิธีอพยพ และการจัดการที่ถูกต้อง หากเกิดกรณีฉุกเฉิน
• ใช้สารทำความเย็นคุณภาพสูง ที่มีมาตรฐาน ARI700 ที่ยอมรับในอุตสาหกรรม
อ่านบทความ "อันตรายจากสารทำความเย็นคุณภาพต่ำ" : https://www.coldersolution.co.th/.../00/low-refrigerant/
▶ หากได้รับสารทำความเย็น:
• ออกจากพื้นที่ที่รั่วไหล ไปยังที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
• ถอดเสื้อผ้า อุปกรณ์ที่ปนเปื้อน ล้างผิวหนังด้วยน้ำสะอาดและสบู่
• ล้างตาและจมูกด้วยน้ำสะอาดเป็นเวลา 15 นาที
• ตรวจร่างกาย/พบแพทย์ ทันที หลังจากได้รับสารทำความเย็นเข้าร่างกาย
เย็นอย่างมีคุณภาพกับ 𝗖𝗼𝗹𝗱𝗲𝗿 𝗦𝗼𝗹𝘂𝘁𝗶𝗼𝗻 🆒
🚚 #พร้อมส่งน้ำยาแอร์ ทั่วประเทศ
📍 บริการทั้งขายปลีกและขายส่ง
📍 ทุกขนาด สำหรับอุตสาหกรรม ปรับอากาศ และทำความเย็นทุกประเภท
ติดต่อเรา :
Line id : @Colder หรือคลิก : https://lin.ee/VEnKS4M
#น้ำยาแอร์ #สารทำความเย็น #Refrigerant #แอมโมเนียรั่ว #R717 #สารทำความเย็นรั่ว #น้ำยาทำความเย็น
โฆษณา