26 เม.ย. เวลา 04:37 • สิ่งแวดล้อม
กรุงเทพมหานคร

กทม.เปิด 10 จุดกดน้ำฟรี ตามรอยเมืองน่าอยู่

น้ำสะอาดพื้นฐานยั่งยืน จุดเริ่มลด ละ เลิกพลาสติก
กทม. ติดตั้งตู้น้ำดื่มลดขยะขวดพลาสติกทั่วกรุงเทพ สนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการเข้าถึงน้ําดื่มที่ปลอดภัยและราคาไม่แพงสําหรับทุกคนในระดับสากลและเท่าเทียมกัน
น้ำประปาสะอาดดื่มได้เป็นสิทธิ์ในการเข้าขั้นพื้นฐานของมนุษยชน ในการเข้าถึงทรัพยากร เพื่อที่แสดงถึงการก้าวสู่โครงสร้างการพัฒนายั่งยืน ทั้งการต่อท่อตรงไปสู่ในทุกบ้าน หรือน้ำดื่มที่พื้นที่สาสามารถดื่มได้
เป็นการสะท้อนถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร เพราะลดค่าใช้จ่ายต้นทุนการเข้าถึงน้ำในท้องถิ่นได้โดยตรง โดยไม่ต้องขนส่งผ่านน้ำขวด ที่ทั่งเพิ่มคาร์บอน และเพิ่มมลพิษจากระบวนการผลิตยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นการสะสมขยะพลาสติกจากขวดที่ต้องใช้เวลานับร้อยปีในการย่อยสลาย
ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การสร้างขยะสะสมล้นในโลกในไปค้างลงสู่มหาสมุทร และยังดีต่อสุขภาพในระยะยาว กับการดื่มน้ำบริสุทธิ์จากธรรมชาติ แทนผ่านเครื่องกรองน้ำในหลายชั้น และผ่านขวดดื่มพลาสติก แบบใช้ครั้งเดียว ที่สำคัญ น้ำดื่มที่บริโภคจากท่อน้ำที่ต่อตรงจากธรรมชาติโดยตรง จะปลอดภัย และมีคุณภาพมากกว่า
หลายคนเมื่อเดินทางไปในประเทศที่พัฒนาแล้ว มักจะตั้งคำถามในเมืองไทยทำไมเรายังต้องซื้อน้ำขวด หรือเครื่องกรองน้ำเพื่อดื่มกินกันอยู่
ในสังคมเมือง ที่เมื่อประเทศเราพัฒนามากขึ้น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้น แต่เรากลับบริโภคน้ำดื่มจากขวดพลาสติกกันในปริมาณที่มาก ยากมากในการหาน้ำดื่มสะอาดบริการตั้งตามจุดต่างๆ ให้เรา หากเทียบกับในอดีต ที่หน้าบ้านในสมัยก่อน ต่างล้วนมีตุ่มน้ำหน้าบ้านบริการให้คนผ่านไปมาได้ดื่มฟรี
บทความจากTappwater.com ระบุถึงการขาดแคลนน้ำและการพัฒนายั่งยืน การขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นในหลายภูมิภาคของโลก ในการใช้บริโภค ทำการเกษตร และ อุตสาหกรรม ภาครัฐ จึงมีความท้าทายในการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้เพียงพอและยั่งยืน ที่จะต้องมีองค์ประกอบในการอนุรักษ์น้ำ การหมุนเวียนน้ำมาใช้โดยการบำบัดน้ำ การจัดการลุ่มน้ำให้เพียงพอ
การกำหนดราคาน้ำให้สะท้อนความเป็นจริง และ การกักเก็บน้ำในหน้าฝน รวมไปถึงการส่งเสริมให้ดื่มน้ำสะอาดจากประปา แทนน้ำจากขวดพลาสติก เพื่อลดปัญหาขยะ ที่ในไม่ช้าทั่วโลกำลังจะมีกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมนำดื่มจากขวดพลาสติกเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อน
ด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Susgtainable Development Goal -SDG) ข้อที่ 6.1 ระบุถึง "ทำให้คนเข้าถึงน้ําดื่มที่ปลอดภัยและราคาไม่แพงสําหรับทุกคนในระดับสากลอย่างเท่าเทียมกัน" ภายในปี 2030 ทำให้ทั่วโลกคำนึงถึงเรื่องน้ำดื่มที่มีคุณภาพ สะอาด และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ผลลัพธ์ดื่มน้ำจากขวดพลาสติก
ปีที่ผ่านมาปริมาณขยะแตะ 2.83 ล้านตัน
ย้อนกลับมาดูน้ำดื่มในไทย เชื่อว่าหลายคนเคยมีประสบการณ์ดื่มน้ำประปาจากก็อกน้ำในบ้านเรือนแต่ก็รู้สึกว่าน้ำมีกลิ่นแปลกๆ แม้ว่าผู้หลักผู้ใหญ่จะบอกว่าน้ำประปาสามารถดื่มได้ แต่มันสะอาดจนสามารถดื่มได้แบบไม่มีสารตกค้างจริงๆหรือ ด้วยความเคลือบแคลงใจนี้ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากซื้อน้ำดื่มบริโภคแทนการดื่มน้ำประปา
ปัญหาที่ตามมาคือ ขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastics) จากการซื้อน้ำดื่มเพื่อการบริโภคมีปริมาณกว่า 2.83 ล้านตันในปีที่ผ่านมา และในเมื่อทรัพยากรน้ำคือสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
นี่คือปัญหาหลักที่ ทางกรุงเทพมหานคร หรือ กทม.จึงแก้ไขปัญหาลดขยะพลาสติก ด้วยการตั้งตู้น้ำเย็นฟรี นำร่อง 10 แห่งแรกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ช่วยลดการใช้ขวดพลาสติกแล้วกว่า 50,000 ตัน
หลายประเทศกำลังพัฒนา มีวิธีการจัดการกับขยะจากพลาสติกใช้ครั้งเดียว (Single Use) ที่เริ่มตั้งแต่ต้นทางอย่างชัดเจนและเด็ดขาด นำหน้าไทย อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ไต้หวัน ที่ได้มีการบังคับใช้มาตรการและกฏหมายต่างๆ เช่น ควบคุมการใช้ไมโครบีดพลาสติก เพิ่มมาตรการเก็บภาษี
มีบทลงโทษเข้มข้น เรียกปรับเงินหากพบการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เป็นวิธีที่จะเห็นผลในการปรับพฤติกรรมคนให้ลด ละ เลิก การใช้พลาสติกได้ ที่จะเกิดผลในระยะยาวและยั่งยืน
ขณะที่ประเทศไทย ยังใช้รูปแบบการสมัครใจมากกว่าบังคับ ยังไม่มีบทลงโทษทางกฎหมายชัดเจน เน้นตามความสะดวกเป็นหลัก
คนไทยยังคุ้นชินกับดื่มน้ำจากขวด
น้ำประปาไทยดื่มได้จริงไหม? คำถามที่ยังมีคำตอบได้ไม่เต็มปาก และไม่มั่นใจ มีหลายคนยังมีข้อสังสัยและความเชื่อมั่นทั้งต่อผู้บริโภคคนไทย และชาวต่างชาติ ที่ผ่านมา กรมอนามัยได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนจำนวน 700 คนในประเด็น “น้ำประปาดื่มได้..จริงหรือ” ซึ่งผลการสำรวจ พบว่า แหล่งน้ำดื่ม 3 อันดับแรก ที่ประชาชนดื่มบ่อยมากที่สุด คือ
1.น้ำบรรจุขวดปิดสนิท สัดส่วน 58%
2.น้ำประปาที่ผ่านเครื่องกรองน้ำในบ้าน สัดส่วน 20%
3.น้ำบรรจุถัง 20 ลิตร สัดส่วน 18%
ประชาชนทั่วไปยังคุ้นชินและมีความพึงพอใจการดื่มน้ำจาก น้ำรรจุขวดปิดสนิทสัดส่วน 75% และรองลงมา น้ำประปาผ่านเครื่องกรองน้ำในบ้าน สัดส่วน 41% และน้ำบรรจุถัง 20 ลิตร สัดส่วน 31%
หลักฐานวิจัยยืนยัน น้ำประปาไทยดื่มได้ ปลอดภัย
นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนกังวลเกี่ยวกับน้ำประปามากที่สุดคือ ความสะอาดของสถานที่ผลิต แหล่งผลิต ผู้ผลิต และน้ำที่ใช้ในการผลิต รวมไปถึงกังวลว่า ระบบการผลิตไม่ได้ตามมาตรฐาน
ซึ่งในความเป็นจริง มีข้อมูยืนยันทางหลักวิทยาศาสตร์ได้ว่าน้ำประปาสามารถดื่มได้
จากข้อมูลของศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์ และการเกษตรแห่งเอเซีย ได้ระบุถึงกระบวนการผลิตน้ำประปา ที่ทางการประปานครหลวงสูบน้ำมาจากแหล่งน้ำดิบเรียบร้อยแล้ว จะนำน้ำมาปรับปรุงคุณภาพน้ำเบื้องต้นก่อนด้วยการเติมสารเคมี เช่น สารส้ม และปูนขาว เพื่อช่วยให้มีการจับตัวของตะกอนได้ดียิ่งขึ้น
แล้วจึงส่งผ่านไปยังถังตะกอนที่ตะกอนขนาดใหญ่น้ำหนักมากจะตกลงสู่ก้นถัง เป็นการกำจัดสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในตะกอนออกไป ได้แก่ ความขุ่น จุลินทรีย์ ฯลฯ
ส่วนน้ำใสจะส่งผ่านไปสู่กระบวนการกรองที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อกำจัดตะกอนและจุลินทรีย์ส่วนที่ยังเหลืออยู่ในน้ำ ทำให้น้ำมีความใสมากขึ้น และในขั้นตอนสุดท้ายน้ำจะถูกนำไปผ่านขบวนการฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน เพื่อให้น้ำสะอาดสามารถดื่มได้อย่างปลอดภัย
#ESG
#ESGuniverse
#ยืดอกพกขวด
#กทม
#กรุงเทพมหานคร
#เติมน้ำฟรี
#ตู้กดน้ำ
#ลดก่อนล้นโลก
#ตู้กดน้ำฟรี
#ความยั่งยืน
#SDG
#พลาสติก
#ขยะ
#ขวดน้ำ
#ชัชชาติ
โฆษณา