30 เม.ย. เวลา 01:21 • หุ้น & เศรษฐกิจ

สรุปข่าว #เศรษฐกิจต้องรู้ ประจำวันที่ 30 เมษายน 2567

โดยมีหัวข้อข่าวที่น่าสนใจดังนี้
.
🔹 ส่งออกมี.ค.ทรุดหนัก 10.9%
🔹 คลังหั่นจีดีพีเหลือ 2.4%
🔹 กูรู-เอกชนหวังทีมศก.ใหม่
📌ประเด็นเชิงบวก
- '3บิ๊กรับเหมาก่อสร้าง' คึก รับอานิสงส์งบรัฐ 'ไอทีดี' เด้งแรง | กรุงเทพธุรกิจ
คงถึงรอบการเก็งกำไร "หุ้นรับเหมาก่อสร้าง" แล้ว! หลังปลายสัปดาห์ ที่ผ่านมาการประกาศพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 3.4 ล้านล้านบาท โดย "3 หุ้นรับเหมารายใหญ่" ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประกอบด้วย บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) บมจ. ช.การช่าง (CK) และ บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น (STEC)คาดว่าจะได้รับอานิสงส์โครงการประมูลใหม่ๆ ที่ออกมาจำนวนมาก
📌ประเด็นเชิงลบ
- ส่งออกมี.ค.ทรุดหนัก 10.9% | เดลินิวส์
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า เดือน มี.ค.67 ไทยมีมูลค่าการส่งออก 24,960 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 10.9% เมื่อเทียบเดือน มี.ค.66 ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน เมื่อคิดเป็นเงินบาท 892,290 ล้านบาท ลดลง 6.6% การนำเข้า 26,123 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 5.6% คิดเป็นเงินบาท 944,828 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.7% ขาดดุลการค้า 1,163 ล้านดอลลาร์ หรือขาดดุล 52,538 ล้านบาท
📌ประเด็นข่าวทั่วไป
- คลังหั่นจีดีพีเหลือ 2.4% | ข่าวสด
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.4% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 2.8% จาก 4 ปัจจัยสำคัญ คือ 1.ภาคการส่งออกหดตัวกว่าที่คาด 2.การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัวสะท้อนจาก ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะหมวดยานยนต์ ชิ้นส่วน และแผงวงจรหดตัวต่อเนื่อง 3.ภาคการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และสถานการณ์เอลนีโญ และ 4.ภาคการคลังจากการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ที่ล่าช้า
- กูรู-เอกชนหวังทีมศก.ใหม่ | เดลินิวส์
ดันไทยโตเต็มศักยภาพสักที นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศ ไทย และหอการค้าไทย เปิดเผยถึงการปรับ ครม.ใหม่ รัฐบาลเศรษฐา 1/1 ว่า การปรับ ครม. ด้านเศรษฐกิจครั้งนี้ ถือว่า เหมาะสม โดยได้คนที่เข้าใจเอกชน และมีประสบการณ์ในการบริหารงานมาด้วย เชื่อว่าจะช่วยรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยเรื่องเร่งด่วนยังเป็นการเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้โตเต็มศักยภาพ
โดยเฉพาะเร่งเบิกจ่ายงบประมาณที่ได้รับอนุมัติออกมาทุกกระทรวง โดยสิ่งที่หอการค้าฯ มองคือ ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงเงินทุน รวมถึงเร่งเจรจาความร่วมมือการค้าระหว่างประเทศ และดึงดูดการลงทุน สร้างความชัดเจนของอีอีซี เสริมกับการท่องเที่ยวที่เป็นเครื่องจักรหลักในการดันเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้ เป็นเรื่องที่น่าจะดำเนินการเร่งด่วน
- ตลท.ส่ง 'แมนพงศ์' ชิงเอ็มดี 'ขยายเวลารับสมัคร' อีก 2 สัปดาห์ เหตุไร้คู่แข่ง | กรุงเทพธุรกิจ
ด้าน "บอร์ดตลท." ชี้ต้องสรรหา ผู้มีความสามารถ หวังแก้โจทย์ ตลาดหุ้นไร้เสน่ห์ จับตาวันสุดท้ายเปิดรับสมัคร "ผู้จัดการตลท." คนที่ 14 วงในสะพัดตลาดหลักทรัพย์ฯ ส่ง "แมนพงศ์ เสนาณรงค์" ชิงตำแหน่ง ชี้คุณสมบัติครบ-ผลงานเด่น แต่ติดปัญหาแค่ไร้คู่แข่งจำเป็นต้อง "ขยายเวลารับสมัคร" ออกไป อีก 2 สัปดาห์ เหตุต้องการสรรหาผู้ที่มีความสามารถเข้ามาแก้โจทย์ใหญ่ของ "ตลาดทุน" กำลังเผชิญ "วิกฤติเชื่อมั่น" นักลงทุนรายย่อย-ใหญ่ที่หายไป
- สมอ.อุ้มส่งออกไทย2.55แสนล้าน | มติชน
โชว์เจรจาปมร้อนอินเดีย-ไต้หวัน-ศรีลังกา รถยนต์อ่วมออสซี่รื้อเกณฑ์ปล่อยซีโอทู 'วันชัย'เลขาธิการ สมอ. โชว์ผลงานช่วยผู้ส่งออกไทยรักษาตลาด 2.55 แสนล้านบาท ปี'66 ชี้ศรีลังกา ไต้หวัน อินเดียราบรื่น เว้นออสเตรเลียตลาดใหญ่สุดหืดจับ เหตุปรับเกณฑ์ปล่อยก๊าซ CO2 ลุ้นผู้ผลิตในไทยเสนอเกณฑ์-ปรับตัว
- ไทยถก'เอฟตา'รอบที่9 สรุปบางกลุ่ม-ปิดดีลปีนี้ | มติชน
น.ส.โชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) กับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) หรือเอฟตา รอบที่ 9 ระหว่างวันที่ 23-26 เมษายนที่ผ่านมา ณ กรุงเทพฯ โดยทั้งสองฝ่ายเร่งเครื่องการเจรจาอย่างเต็มที่
ซึ่งในภาพรวมมีความคืบหน้าในหลายเรื่อง บางกลุ่มสรุปผลได้แล้ว และหลายกลุ่มใกล้ได้ข้อสรุปผล ทั้งนี้ การเจรจา รอบที่ 10 จะจัดขึ้นเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อสรุปผลการเจรจาภายในปี 2567 ตามเป้าหมาย ถือเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญลำดับต้นที่รัฐบาลเร่งรัดการเจรจาเอฟทีเอ กับคู่ค้าสำคัญให้สำเร็จโดยเร็ว เพื่อขยายโอกาสการค้าและการลงทุน สร้างขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
- เอกชนจ่อขึ้นราคาสินค้าเพิ่มอีก 15% | ข่าวสด
เอฟเฟ็กต์ค่าแรงวันละ 400 บ.-ซ้ำเติมต้นทุนน้ำมัน หอการค้าเผยผลสำรวจเอกชน จ่อขึ้นราคาสินค้าและบริการ 15% ภายใน 1 เดือน หลังรัฐบาลขึ้นค่าแรง 400 บาท/วัน ซ้ำเติมต้นทุนพลังงาน
- ชี้ค่าแรง 400 บาทผลเสียมากกว่าผลดี | ไทยรัฐ
นายวิเชียร แก้วสมบัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลกระทบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท ว่า หากปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาทเท่ากันในทุกกิจการ ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ครอบคลุมแรงงาน 5.28 ล้านคนทั่วประเทศ
จะมีผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าเชิงบวก โดยจะทำให้ผู้ผลิตผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มไปยังราคาขายสินค้า ซึ่งยิ่งผลักภาระไปมากเท่าไร หรือยิ่งปรับขึ้นราคาขายมากเท่าไร ก็จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจในปีนี้ลดลงมากเท่านั้น
--
ติดตามเราผ่าน
Facebook: เรียลลงทุน
X: เรียลลงทุน
Blockdit: เรียลลงทุน
YouTube: เรียลลงทุน
Line: @RealLongtun
Podcast: เรียลลงทุน
โฆษณา