23 พ.ค. เวลา 03:01 • ธุรกิจ

‘ดัชนีวัดคุณค่าธุรกิจทางสังคม’

Sustain ที่จับต้องได้
วิถีใหม่ของการทำธุรกิจ ที่ไม่ได้อิงแค่ผลกำไร แต่ต้องเอา สังคมและสิ่งแวดล้อม มาเป็นตัวตั้งด้วย การจัดตั้ง “สถาบันเพื่อเศรษฐกิจใหม่” เน้นกรอบการทำงาน ที่มีดัชนีชี้วัดชัดเจน เพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของโลก คือการพัฒนาที่ยั่งยืน
ประเทศไทยมีเครื่องมืออะไร? ในการบริหารจัดการธุรกิจ ให้ไปตอบโจทย์ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) แล้วหรือยัง?
เป็นคำถามที่น่าสนใจ เนื่องจากในปัจจุบัน ในการทํากิจกรรม ทําโครงการ แผนงานในแต่ละปี ที่มีการผลิตสินค้า บริการ และการลงทุน ในธุรกิจ ยังมีการวัดผล โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิม โดยใช้เครื่องมือทางด้านการเงิน เป็นตัวชี้วัดว่า การลงทุนนี้ คุ้มค่าหรือไม่?
ทว่าก็ยังไม่ตอบโจทย์โลก ในยุคที่กำลังจะเคลื่อนไปสู่ ‘ระบบเศรษฐกิจใหม่’ ที่มุ่งเน้นความยั่งยืน จึงจะต้องมีการลงทุน ด้านมิติของสังคม ควบคู่กับสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่มีการจัดทำ ดัชนีชี้วัดให้สอดคล้อง สมดุล และเหมาะสม กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้อย่างแท้จริง
สิ้นสุดทางเศรษฐกิจดั้งเดิม
ปรับกระบวนทัศน์เกณฑ์วัดคุณค่า บริบทโลกใหม่
‘สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์’ เลขาธิการ สมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย Social Value Thailand มองว่า โลกแบบดั้งเดิมที่ผ่านมา ขยับเขยื้อนด้วยคำถามชุดเดิม ที่มองการทำธุรกิจ มีตัวชี้วัด เป็นความคุ้มค่าทางการเงิน เป็นระบบเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ที่อิงการลงทุน กับการใช้ทรัพยากร แล้ววัดผลตอบแทนทางการเงินสูงสุด (Maximize Profit Return)
ซึ่งไม่ตอบโจทย์ทิศทางโลก ที่กำลังมุ่งไปสู่การพัฒนาสมดุล ไม่ได้มองเพียงแค่ศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางการเงินอย่างเดียว แต่ยังมีมิติในด้านของสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทั้งสามมิติ ต่างได้รับประโยชน์ร่วมกันไปด้วย โดยมีการจัดกรอบการทำงาน และมีหลักเกณฑ์การวัดผลที่เป็นรูปธรรม
“สมาคมประเมินมูลค่าทางสังคมไทย จึงตั้งขึ้นมา เพื่อให้ธุรกิจได้มีส่วนร่วม รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ ทั้งทางด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เพียงความคุ้มค่าทางการเงิน เพราะต้องการเปลี่ยนวิธีทำบัญชีทางโลกการเงิน พร้อมกันกับตรวจสอบสุขภาพขององค์กร ควรจะมีตัวเลขความคุ้มค่า ของสังคมและสิ่งแวดล้อม หลอมรวมอยู่ในการตัดสินใจด้วย”
ที่มาของดัชนีการชี้วัด ที่มีการวางกรอบการทำงาน เกิดขึ้นจากการรวมตัวของกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ พยายามปลดล็อกคำถามของเศรษฐกิจในมิติเดิม
โดยการจัดตั้ง ‘สถาบันเพื่อเศรษฐกิจใหม่’ (New Economy Foundation) ที่ทำให้โลกยั่งยืน พัฒนากรอบการทำงานที่ 4 นอกเหนือจากในมิติของภาครัฐ เอกชน และสังคม ดำเนินการจัดทำ หลักเกณฑ์การประเมินผลกระทบ ได้แก่ การคำนวณผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) ช่วยในการจัดวางกรอบกำหนดกลยุทธ์แผนการปฏิบ้ติงาน และมีส่วนในการสร้างกระบวนการตัดสินใจ ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs
“หากเลือกวงใดวงหนึ่งก็ไปไม่รอด เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) หากมองมิติของสังคม และรอรับเงินบริจาคอย่างเดียว ก็ไม่ได้ จึงต้องเกิดวงที่ 4 เป็นเครื่องมือวัดคุณค่าร่วม ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เ
พื่อพิจารณาในการนำเม็ดเงินลงทุนเข้ามา ที่ผ่านมาตอบโจทย์เพียง กรอบความคุ้มค่าทางการเงิน และการประเมินผลกระทบทางธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า การประเมินนี้ จะช่วยประเมินคุณค่าของธุรกิจได้ พัฒนาให้อุตสาหกรรมไทย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ร่วมพัฒนากันไป ทั้งระบบนิเวศทางธุรกิจ และอุตสาหกรรมสีเขียว ที่มีโอกาสยั่งยืนได้ในเวทีโลก”
#ESG #ESGuniverse #SROI #BIA #SDGs #ดัขนีวัดคุณค่าธุรกิจเพื่อสังคม #ธุรกิจ #อุตสาหกรรม #ความยั่งยืน
โฆษณา