30 พ.ค. 2024 เวลา 05:37 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ไมโตคอนเดรีย - จุดกำเนิดที่ยังคงเป็นปริศนา

ไมโตคอนเดรีย เปรียบเสมือนโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่อยู่ภายในแต่ละเซลล์ ซึ่งทำหน้าที่ในการให้พลังงานแก่เซลล์ แต่ที่น่าสนใจมากก็คือจุดกำเนิดของไมโตคอนเดรียนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันและเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้
ภาพถ่ายไมโตคอนเดรียด้วยกล้องโทรทรรศน์อิเล็กตรอน (ภาพจาก: https://th.m.wikipedia.org)
เนื่องจากไมโตคอนเดรียมี DNA เป็นของตัวเอง ทีกทั้งมีการแบ่งเซลล์ซึ่งคล้ายกับแบคทีเรียมากกว่าที่จะเป็นเพียงส่วนส่วนประกอบหนึ่งของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์  ทำให้นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าจริง ๆ แล้วไมโตคอนเดรียมีจุดกำเนิดมาจากไหนกันแน่ จึงได้ตั้งสมมติฐานขึ้นมา 2 แบบ ได้แก่
สมมติฐานเอนโดซิมไบโอติก (Endosymbiotic hypothesis)(ภาพจาก:https://www2.gwu.edu)
1.สมมติฐานเอนโดซิมไบโอติก (Endosymbiotic hypothesis) บอกเราว่าไมโตคอนเดรียเดิมทีเป็นแบคทีเรีย (prokaryotic cell) จากนั้นก็ถูกแบคทีเรียตัวอื่นกินเข้าไป ซึ่งแทนที่จะถูกย่อย แต่มันกลับสร้างประโยชน์ให้กับเซลล์แบคทีเรียเจ้าบ้าน  โดยการกำจัดของเสียที่เป็นอันตราย และช่วยในการผลิตพลังงาน  เมื่อการพึ่งพาอาศัยกันระหว่างแบคทีเรียที่มาอาศัยและเซลล์เจ้าบ้านเพิ่มขึ้น แบคทีเรียจึงกลายมาเป็นไมโตคอนเดรียในที่สุด
2.สมมติฐานกลไกแบบอัตโนมัติ (autogenous hypothesis) บอกว่าสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (eukaryotic cells) เกิดจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (prokaryotic cell) ที่แยกกันทำหน้าที่แตกต่างกันแล้วมารวมอยู่ด้วยกัน ซึ่งไมโตคอนเดรียก็คือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหนึ่งในนั้น
แบบจำลองภาพ "คลอโรพลาสต์" (ภาพจาก : https://www.britannica.com)
และอีกอย่างที่น่าสนใจคือไม่ใช่เพียงแค่ไมโตคอนเดรียเท่านั้นที่ยังไม่รู้ถึงจุดกำเนิด แต่ยังมีคลอโรพลาสต์ที่อาจจะมีแหล่งกำเนิดมาจากแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ซึ่งเรียกว่า "ไซยาโนแบคทีเรีย หรือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue-green algae หรือ cyanobacteria)" เหมือนกันนั่นเอง
แบบจำลองภาพ "ไมโตคอนเดรีย" (ภาพจาก:https://www.medicalnewstoday.com)
จะเห็นว่าในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดเกี่ยวกับจุดกำเนิดไมโตคอนเดรีย(รวมทั้งคลอโรพลาสต์) แต่นักวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่ให้ความน่าเชื่อถือไปที่สมมติฐานข้อแรก ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่สุด ดังนั้นเราจึงต้องรอหลักฐานที่จะมายืนยันสมมติฐานนี้ต่อไปในอนาคต และอาจพลิกโฉมประวัติศาสตร์ในวงการวิทยาศาสตร์ก็เป็นได้
โฆษณา