ทบทวน CSR ด้านสิ่งแวดล้อมด้วยมาตรการป้องกันผลกระทบและสังคม ESS

ปัจจุบันกิจกรรมฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสังคม หรือกิจกรรม CSR เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัท สามารถแบ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมออกเป็น 7 รูปแบบ ได้แก่ การปลูกป่า การปล่อยสัตว์คืนสู่ธรรมชาติ การทำแนวกันไฟ การสร้างฝาย การปลูกป่าชายเลน สร้างบ้านปลา/ปะการังเทียม และการทำทุ่นจอดเรือ/ทุ่นว่ายน้ำ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้บางครั้งนำไปสู่ผลเสียมากกว่าผลดีต่อระบบนิเวศ
การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ของประชาชนและชุมชนโดยรอบ
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นจะขอยกตัวอย่าง ‘กิจกรรมการปลูกป่า’ ปลูกแล้วตายไป ในหลายๆ ครั้ง มีการลงกล้าไม้ในพื้นที่เดิมซ้ำทุกๆ ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นไม่ได้นำไปสู่การฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ (มีงานวิจัยจากศึกษาของศูนย์นิเวศวิทยาและอุทกวิทยาแห่งสหราชอาณาจักร ที่ได้สำรวจโครงการปลูกป่าทั้งหมด 176 แห่ง ที่เกิดขึ้นในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึง
ประเทศไทยพบว่า เกือบครึ่งหรือคิดเป็น 44 เปอร์เซ็นต์ อยู่รอดได้ไม่ถึง 5 ปี)
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงได้จัดได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Safeguards: ESS) ขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา
การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันศึกษา และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวของกับโครงการขนาดเล็กแต่ละประเภท เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อนิยามมาตรการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Safeguard: ESS) และพัฒนาหลักเกณฑ์รายการตรวจสอบเพื่อกำหนดขอบเขตของโครงการพัฒนาขนาดเล็กให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยในประเด็นต่างๆ
สร้างคำนิยามให้โครงการพัฒนาขนาดเล็ก
‘โครงการพัฒนาขนาดเล็ก’ คือ โครงการที่ดำเนินการโดยบุคคล หรือนิติบุคคล ทีมี่แผนการดำเนินงานหรือกิจกรรมที่จะนำไปปฏิบัติได้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานอย่างชัดเจน มีระยะเวลาเริ่มต้น มีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด โดยในการดำเนินโครงการดังกล่าวมีผู้ร่วมโครงการไม่เกิน 50 คน หรือใช้งบประมาณในการดำเนินงานไม่เกิน 500,000 บาท
ขั้นตอนการดำเนินงาน ESS
ผู้พัฒนาโครงการต้องประเมินว่า ผลกระทบด้านลบของโครงการมีอะไรบ้างและส่งผลต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มใดบ้าง ตัวอย่างการตั้งแนวคำถามแบบประเมินรายการตรวจสอบความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม อาทิ
โครงการและกิจกรรมอยู่ใกล้ระบบนิเวศที่ละเอียดอ่อนและมีคุณค่า พื้นที่คุ้มครอง อุทยานแห่งชาติ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ปากแม่น้ำ พื้นที่พิเศษสำหรับการปกป้อวความหลากหลายทางชีวภาพ และที่อยู่อาศัยของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์หรือไม่?
โครงการอาจจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ ทำให้เกิดการสูญเสียระบบนิเวศอันมีค่าและหน้าที่ของระบบนิเวศ ที่ไม่สามารถฟื้นฟูกลับคืนสู่สภาพเดิมได้หรือไม่?
—---------------------------------
บริษัท วันมอร์ลิงค์ จำกัด รับกำจัดกาก
อุตสาหกรรมและให้บริการขนส่งอุตสาหกรรม
ทุกประเภท แบบ One Stop Service
📗Waste Management
-จัดหา / ขนส่ง กากอุตสาหกรรม เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและถูกต้องตามกฎหมาย
📗Environment Test
-บริการตรวจวัดคุณภาพสิ่งเเวดล้อมภายในโรงงาน เช่น แสง เสียง อากาศ ฝุ่น ตะกอน น้ำเสีย
📗Monitoring Well
-บริการติดตั้งบ่อติดตามตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดิน
📗Carbon Credit Consultant
-บริการเป็นที่ปรึกษาการประเมิน Carbon Footprint
หากต้องการข้อมูลด้านการบริการสิ่งแวดล้อม สอบถามได้ที่
Tel : 083-844-6222 / 088-639-2251
#วันมอร์ลิงค์ #บริการรับกำจัดกากอุตสาหกรรม #กากอุตสาหกรรม #สิ่งแวดล้อม #ข่าววันนี้ #ความรู้ทั่วไป #CEORAPATSORN #ประเทศไทย #เทรนด์โลก #โลกร้อน #ขึ้นหน้าฟีด
โฆษณา