24 มิ.ย. 2024 เวลา 07:34 • อสังหาริมทรัพย์

มองอีกมุมนึง การแก้ไข พ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธิ ตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562

เพื่อให้ขยายสัญญาการเช่าจาก 30 ปี เป็น 99 ปี นี่เราว่าเป็นการกระตุ้นตลาดอสังหาฯแบบ Leasehold และน่าจะช่วยให้ราคาอสังหาฯใจกลางเมืองลดลง จนโดนใจคนซื้อชาวไทยได้พอสมควรนะ
แต่เห็นจากกระแสส่วนใหญ่เค้าไปมุ่งประเด็นแต่ต่างชาติอย่างเดียวเลย ซึ่งจริงๆแล้วการขยายระยะเวลาเช่าจาก 30 ปีก็ไม่ได้มีไว้ให้แค่คนต่างชาตินิ แต่คนไทยจำนวนไม่น้อยเลยก็จะได้ประโยชน์
เพราะเดี๋ยวนี้อสังหาฯ Leasehold บน Super Prime Area ก็มีคนไทยยุคใหม่ที่ไม่ได้มีลูกหลานมาซื้อเยอะเลย โดยเฉพาะทำเลอย่างสามย่าน หลังสวน พระรามสี่ แต่สำหรับคนยุค Boomers หลายคนก็อาจจะติดตรงที่ระยะเวลามันไม่นานพอที่จะส่งเป็น Legacy ให้ลูกหลานนี่แหละ ทั้งๆที่คอนโดในหลายๆทำเลที่ที่เป็น Leasehold มันก็ถูกกว่า Freehold ในย่านเดียวกันพอประมาณเลย
ด้วยต้นทุนค่าที่ดินที่ถูกกว่า แต่สเปคห้องดีกว่า เพราะ Landlord ไม่ต้องจำใจตัดขายที่ในราคาแพงๆ แต่ได้ประโยชน์ในระยะยาวมาทดแทน ยิ่งมีพ.ร.บ.ทรัพย์อิงสิทธิ มาช่วยรักษาสิทธิประโยชน์ในตัวทรัพย์สินทั้งในฝั่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ และผู้เช่าทีสามารถนำที่ดินไปจำนองกับสถาบันการเงิน
นำสิทธิสัญญาเช่าที่มีอยู่ไปประกอบธุรกรรมอื่นๆ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงห้อง และส่งมอบสิทธิการเช่าให้แก่ทายาทหรือลูกหลานในกรณีที่คู่สัญญาเช่าเสียชีวิตลงได้ง่าย ก็น่าจะ work กว่าการจดทะเบียนสัญญาการเช่าแบบเก่าที่กรมที่ดินเยอะเลย
ถ้าจะแก้ไขเรื่องปัญหาคอนโดใจกลางเมืองราคาแพง หาคนไทยมาซื้อยาก และเข้ากับเทรนด์เรื่องการเช่าของคนเจนใหม่ ผมว่า way นี้ดูทำง่าย ไม่ซับซ้อน และดู dilemma เหมือนอย่างอีดประเด็นในเรื่องการพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิคนต่างด้าวสามารถถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด จากเดิมไม่เกิน 49% เป็นไม่เกิน 75% นะ เพราะอันนั้นถ้าจะทำแน่นอนว่ามันต้องไม่ใช่มาตรการถาวร และทำได้แค่ในบางพื้นที่เท่านั้น
โฆษณา