Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ไฉไลเป็นบ้า
•
ติดตาม
16 ก.ค. 2024 เวลา 04:21 • ข่าว
นับถอยหลัง 7 ปี สัมปทานทีวีดิจิทัล จากโอกาสพลิกสู่การ Lay off คนข่าว
นับตั้งแต่มีแผนแม่บทให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่องในไทยต้องเปลี่ยนผ่านการออกอากาศโทรทัศน์ระบบอะนาล็อกมาเป็นระบบทีวีดิจิทัล เมื่อปี 2557
ภายใต้มูลค่าการประมูลดิจิทัลทีวีจำนวน 50,862 ล้านบาท ใบอนุญาตออกอากาศมีอายุ 15 ปี ซึ่งสำหรับสถานีโทรทัศน์แล้วใบอนุญาตเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี 2559 และจะสิ้นสุดปี 2571
ระยะเวลาที่เหลืออีกเพียง 7 ปี นอกจากผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ต้องตัดสินใจประเมินสถานการณ์ธุรกิจสื่อ ว่าจะไปขอต่อใบอนุญาตการออกอากาศระบบดิจิทัลจาก คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อีกหรือไม่
การเข้ามาของเทคโนโลยีโซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนความสนใจและพฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนยุคปัจจุบัน กำลังจะส่งผลกระทบกับใคร อาชีพอะไรบ้างในประเทศไทย
ย้อนไปดูกันช้าๆว่า 8 ปีที่ผ่านมา สถานะของกิจการทีวีดิจิทัลที่เคยมั่นคง ทำไมวันนี้มีโอกาสเดินตามรอย Disrupt สื่อหนังสือพิมพ์
1) มติของ กสทช. หลังใช้เวลาประชุมมาหลายครั้งได้หลักเกณฑ์การบริหารช่องและคลื่นความถี่ในวันที่ 2 ตุลาคม 2555 ว่า อนุมัติให้มีช่องรายการทีวีดิจิทัลทั้งหมด 60 ช่อง แม้ว่าต่อมา กสทช.จะลดเหลือ 48 ช่อง อ้างความเหมาะสม ก่อนจะลดลงอีกเมื่อบางช่องออกอากาศไปแล้วแต่ไม่สามารถจ่ายค่าประมูลสัมปทานได้ตามกำหนดเวลา หรือตั้งบริษัทขึ้นมาบริหารเป็นกรุ๊ปแต่ธุรกิจสถานีโทรทัศน์ขาดทุนย่อยยับย้ายกระเป๋าซ้ายขวาจนพังจากหุ้นกู้
แต่การที่ กสทช.อนุมัติ 60 ช่องเริ่มแรก หมายความว่ามองเห็นกำไรจากการประมูลช่องออกอากาศทีวีดิจิทัล ไม่ต่างจากผู้ประกอบการที่ก็มองเช่นกันว่าอยากจะมีสัดส่วนการถือหุ้นหรืออยากลองใช้สื่อโทรทัศน์เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าในบริษัท อย่างไรก็ตาม กสทช.
ที่เป็นผู้วางนโยบาย ทำแผนแม่บทกำหนดเงื่อนไขการประมูล มีส่วนขับเคลื่อนให้ช่องออกอากาศระบบดิจิทัลแพร่ภาพได้สำเร็จ การทำกำไรจากใบอนุญาต วันนี้หลายคนเรียกมันว่า “ขายฝัน” แต่ กสทช.เชื่อว่า “แข่งขัน”
2) แค่เพียงปีแรกในการออกอากาศผ่านโครงข่ายภาคพื้นดินระบบดิจิทัล เกิดรัฐประหารและคณะผู้ก่อการได้เข้าทำการควบคุมแทรกแซงการแพร่ภาพสถานีโทรทัศน์ ซึ่งขัดต่อใบอนุญาตและหลักสิทธิสื่อในการนำเสนอข่าวสาร
ไม่เพียงเท่านั้น รายได้จากการประมูลช่อง 50,862 ล้านบาท ยังถูก กสทช. นำไปใช้อย่างไม่โปร่งใสหลังมีปัญหาลิขสิทธิการถ่ายทอดฟุตบอลโลก 2014 คือแค่เริ่มต้นก็นำเงินที่เป็นรายได้การประมูลไปใช้ผิดวัตถุประสงค์แล้ว นั่นทำให้เมื่อประเทศไทยเจอปัญหาการซื้อลิขสิทธิถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลยูโรปี 2020 กสทช.จึงมีความตั้งใจแน่วแน่ว่าจะเอาเงินขององค์กรอิสระมาใช้อีก
3) คนในวงการหนังสือพิมพ์ต่างยอมรับกันว่าสาเหตุที่ทำให้สื่อกระดาษถูก Disrupt เป็นเพราะการเข้ามาของสื่อออนไลน์ที่สามาถเผยแพร่ได้รวดเร็วกว่า แต่ปัจจัยหลักๆในช่วงตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมาคือกระดาษที่ต้องสั่งนำเข้ามาพิมพ์นั้นราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งนโยบายการขายหนังสือพิมพ์เน้นหาโฆษณามากกว่านำเสนอข่าวที่ตีแผ่ความไม่สุจริตซึ่งมักปิดปากสื่อด้วยการซื้อโฆษณา หนังสือพิมพ์เสื่อมความนิยมจากตรงจุดนี้
เมื่อต้นทุนกระดาษและการผลิตสูงขึ้นสวนทางกับยอดขายและรายได้โฆษณา ในที่สุดหนังสือพิมพ์ก็หันไปทำเว็บไซต์ข่าว เหมือนเกลียดตัวแต่กินไข่
โดยสถานการณ์ช่องทีวีดิจิทัลวันนี้บางคนเชื่อว่าเป็นเพราะสื่อโซเชียลที่รวดเร็วมีข้อมูลลึกกว่า กำลัง Disrupt สื่อโทรทัศน์
4) สิ่งที่คนไทยทั้งประเทศสามารถพบเห็นในสื่อโทรทัศน์และไม่มีใครตอบได้ คือ ทำไมทุกช่องสถานีถึงมีข่าวเหมือนกันทุกวัน เมื่อมีแต่ข่าวซ้ำๆตั้งเช้ายันเย็นแล้วเหมือนกันทุกช่อง การไปเอาข่าวเอาภาพจากโซเชียลมีเดีย จากคลิปที่มีคนโพสต์ไว้ ก็ยังซ้ำกันอีกเป็นเพราะอะไร สถานีจ่ายเงินเดือนให้นักข่าวแต่ทำไมมีแต่ข่าวโซเซียล การเบลอภาพหน้าจอปัจจุบันทำเพื่อประโยชน์อะไร
5) ข่าวผัวเมียมีชู้ ชาวบ้านทะเลาะกัน เอาคู่กรณีมาเผชิญหน้าในรายการ นำเสนอแต่เรื่องผีเรื่องหลอกลวง การสร้างสภาวะความขัดแย้งและไม่มีสาระให้เป็นเรื่องปกติบนหน้าสื่อโทรทัศน์เพื่อดึงเรตติ้งไปขายโฆษณาเป็นการทำเพื่อประโยชน์สังคมหรือเพื่อธุรกิจ
คำถามเหล่านี้สะท้อนเป็นกระจกให้เห็นถึงการล่มสลายของสื่อหนังสือพิมพ์มาแล้ว เนื่องจากจำนวนของสินค้าที่ต้องการซื้อโฆษณาในสื่อนั้นมีจำกัด การแย่งลูกค้าจึงเป็นการแข่งขันที่จะย้อนมาทำลายธุรกิจสื่อด้วยกันเอง
6) เมื่อธุรกิจสื่อโทรทัศน์มีการแข่งขันจากโฆษณา ช่องใหญ่สายป่านยาวกับรายการดังเท่านั้นที่จะอยู่รอด เมื่อมองถึงใบอนุญาตสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในอีก 7 ปีที่เหลือ เราจึงได้เห็นการปลดพนักงานฝ่ายข่าวเพิ่มมากชึ้นเรื่อยๆ และมีโอกาสสูงมากที่ในปี 2571 จะเหลือสถานีโทรทัศน์เพียงไม่กี่ช่องเท่านั้น
7) ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล หรือ MUX ทั้ง 4 ราย ได้แก่ 1.กรมประชาสัมพันธ์ 2.สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก 3. บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และ 4.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
ผู้ประกอบการที่ กสทช.รับรองออกใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล ต้องเลือกใช้คลื่นความถี่จาก MUX ทั้ง 4 รายว่าช่องสถานีจะใช้บริการสัญญาณออกอากาศของใคร
บางข้อมูลระบุว่า MUX เองก็ต้องได้รับใบอนุญาตผู้ให้บริการโครงข่ายจาก กสทช. เช่นกัน ซึ่งจะหมดอายุในปี 2570 มีการตั้งคำถามกรณีนี้ว่าหากใบอนุญาต MUX หมดอายุจะทำการให้โครงข่ายภาคพื้นดินระบบดิจิทัลกับผู้ประกอบการอย่างไร
8) หากมีการต่อใบอนุญาต MUX แล้ว แต่บังเอิญในปี 2571 ผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิทัลในโครงข่าย MUX ไม่ต่อใบอนุญาต ความเสียหายในการประกอบธุรกิจนี้ทาง กสทช.จะรับผิดชอบอย่างไร
จุดเริ่มต้นการตั้ง กสทช.ให้เป็นองค์กรอิสระเข้ามากำกับดูแลบริหารกิจการกระจายเสียงโทรทัศน์ และโทรคมนาคม ดูเผินๆแล้วเหมือนจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่เมื่อผ่านมากว่า 10 ปี กลับพบว่าการทำงานของ กสทช.น่าจะเป็นการติดกระดุมเม็ดแรกผิดมากกว่า เพราะถึงวันนี้ธุรกิจสื่อโทรทัศน์ไม่ได้ทำให้ผู้ประกอบการแข่งขันผลิตรายการให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และการลงทุนของผู้ประกอบการช่องต่างๆ ขาดทุนมากกว่ากำไร
คาดกันว่าในปี 2571เทคโนโลยี Syreaming และการ Live ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอาจเข้ามามี บทบาทต่อการแพร่ภาพผ่านสื่อมากขึ้น วันนั้นอาจมีช่องโทรทัศน์เหลือประกอบกิจการแค่เพียง 7-8 สถานีจากที่ กสทช.เคยวาดฝันไปถึง 60 ช่องก็เป็นได้
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย