8 ส.ค. 2024 เวลา 14:00 • ไลฟ์สไตล์

YOLO หลบไป รู้จักกับ 'YONO’ หรือ You Only Need One เทรนด์ใหม่ที่ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง

[ 📌 เทรนด์การใช้จ่ายเริ่มเปลี่ยนไปแล้ว ]
1. YOLO ย่อมาจาก คำว่า You only live once (ชีวิตมีแค่ครั้งเดียว) คำนี้เป็นสแลงติดหูที่ใคร ๆ ก็ใช้โดยเฉพาะบนโซเชียลมีเดีย สื่อว่าเราควรทำสิ่งที่สนุกหรือน่าตื่นเต้นเพราะเราเกิดมาแค่ครั้งเดียว
2. ไลฟ์สไตล์แบบ "YOLO" (You Only Live Once) ส่งเสริมการใช้จ่ายไปกับการให้ความสำคัญของการมีความสุขทันทีมากกว่าชะลอเวลาและลงทุนในอนาคตที่ไม่แน่นอน แต่แนวคิดแบบนี้ดูเหมือนจะได้รับความนิยมน้อยลงแล้ว
3. ปัจจุบันความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ เริ่มเปลี่ยนวิธีคิดของผู้คนไป รวมไปถึงนิสัยการใช้เงิน
4. ยกตัวอย่างเช่น ประเทศจีนที่เคยเป็นเบอร์หนึ่งด้านการใช้จ่ายก็เริ่มมีกระแสลดการใช้จ่าย เกิดขึ้นทั้ง Luxury Shame (ความอายที่จะใช้ของแพง) และ Revenge Saving (การออมเพื่อล้างแค้นทุนนิยม)
5. ล่าสุดที่เกาหลีใต้มีเทรนด์ประมาณเดียวกัน ในชื่อ YONO - โยโนะ หรือ You Only Need One (ชิ้นเดียวก็พอใช้แล้ว) ซึ่งเทรนด์นี้กำลังเป็นที่นิยมในวัยรุ่นในเกาหลีใต้ 🌟
[📌 อยากเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ YONO ต้องเริ่มยังไง? ]
6. ก่อนที่จะลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เราต้องรู้ก่อนว่าอะไรที่ไม่จำเป็น โดยเริ่มจากการทำบัญชีการใช้จ่าย
7. ตัวอย่างจาก Choi Ye-bin อายุ 27 ปี เธอเริ่มนิสัย YONO เมื่อทำบัญชีและพบว่าสัดส่วนรายได้ที่รับกับรายจ่ายไม่สัมพันธ์กัน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการทานอาหารนอกบ้าน
‘โอมากาเสะ’ เคยเป็นมื้อโปรดที่เธอและเพื่อน ๆ ชอบ แต่หลังจากรู้ว่าการทานอาหารนอกบ้านเป็นรายจ่ายที่เธอใช้จ่ายเกินงบไปมากที่สุด เธอจึงเปลี่ยนนิสัยและพยายามกินข้าวนอกบ้านให้น้อยที่สุด
[ 📌 ตัวเลขที่ยืนยันว่าคนยุคนี้มีวิธีคิดเกี่ยวกับการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไปแล้ว ]
8. ธนาคาร NongHyup (NH) Bank ของเกาหลีใต้ ได้ วิเคราะห์ข้อมูลธุรกรรมบัตรเครดิตและบัตรเดบิตของลูกค้า ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2022 ถึง 30 มิถุนายน 2024 และพบสิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด
จำนวนธุรกรรมการกินข้าวของคนหนุ่มสาวในวัย 20 และ 30 ปี ลดลง 9% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
จำนวนธุรกรรมการซื้ออาหารจากร้านสะดวกซื้อ เพิ่มขึ้นมา 21%
จำนวนธุรกรรมในห้างสรรพสินค้าลดลง 3%
จำนวนธุรกรรมในร้านกาแฟ Starbucks และ A Twosome Place ก็ลดลง 13%
การซื้อรถยนต์นำเข้าลดลง 11%
การซื้อรถยนต์ในประเทศกลับเพิ่มขึ้น 34%
[📌 #เงินเฟ้อและค่าครองชีพที่สูงขึ้นคือปัจจัยหลัก ]
9. ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปเป็นภาพสะท้อนถึงความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจที่คนวัยหนุ่มสาวได้รับจากพิษของอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงทศวรรษหลัง ค่าครองชีพที่สูงขึ้น และยิ่งกระทบหนักในกลุ่ม First Jobber (นักศึกษาจบใหม่พึ่งเริ่มทำงานแรก) ที่มีรายได้น้อย
10. อย่างไรก็ตาม ธนาคาร NongHyup (NH) Bank ทิ้งท้ายไว้ว่า แม้คนรุ่นใหม่จะใช้จ่ายอย่างประหยัดขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งพวกเขาก็พร้อมที่จะใช้จ่ายเพื่อหาประสบการณ์ เช่น การชมการแข่งขันกีฬา หรือท่องเที่ยวต่างประเทศ
#aomMONEY #MakerichGeneration #YONO #YOLO
#YouOnlyNeedOne
โฆษณา