17 ส.ค. 2024 เวลา 15:38 • นิยาย เรื่องสั้น

รีวิว "กวีนิพนธ์แห่งรักยี่สิบบทและบทเพลงความสิ้นหวังหนึ่งบท" ของ ปาโบล เนรูดา

//เกริ่น
ตอนแรกจะใช้คำว่า "วิจารณ์" แต่เมื่อเห็นคำนี้แล้ว ก็นึกเสียวอยู่ในทรวง ไม่อยากจะกล้าใช้คำนี้นักเพราะทำให้นึกถึงทฤษฎีทางวรรณกรรมต่างๆ อันยุบยับยืดยาวที่จะใช้ในการวิจารณ์วรรณกรรม ฉะนั้นจึงขอเลี่ยงๆ มาใช้คำว่า "รีวิว" ดีกว่า เพราะการรีวิวดูเหมือนจะเป็นเพียงแต่การเสนอความเห็นของผู้อ่านที่มีต่องานวรรณกรรมนั้นๆ โดยไม่ได้เคร่งครัดต่อทิดสะดุ้งทฤษฎีอะไรมากนัก ฉะนั้นจึงขอใช้คำนี้เป็นหัวข้อก้แล้วกัน
1
//เกี่ยวกับหนังสือ
แต่ก่อนอื่นก้ต้องนำเสนอก่อนว่าสิ่งที่จะรีวิวนี้คืออะไร เพราะหากเสนอความเห็นไปโดยพรวดพราด ผู้ที่พลาดมาอ่านรีวิวนี้เข้า จะได้ไม่เข้าใจกันไปพอดี (เว้นเสียแต่จะเคยอ่านกวีนิพนธ์เล่มนี้มาก่อนแล้ว)
1
"กวีนิพนธ์แห่งรักยี่สิบบทและบทเพลงความสิ้นหวังหนึ่งบท" เป็นกวีนิพนธ์ของนักเขียนชาวชิลีผู้มีชื่อว่า "ปาโบล เนรูดา(Pablo Neruda)" ผู้เกิดในปี ค.ศ. 1904(พ.ศ. 2447) และตายในปี ค.ศ. 1973(2516) (ถึงอยากจะบ่นว่าเราจะเรื่องมากไปทำไมกับการใช้คำ อสัญกรรม อนิจกรรม หรือเสียชีวิต แทนคำว่าตาย ด้วยข้อหาว่าเป้นการใช้คำที่ฟุ้มเฟือยไปเปล่าๆ แต่เมื่อคุณอ่านสิ่งที่ผมกำลังเขียนอยู่นี้ก็คงจะรู้ได้เช่นกันว่าสำนวนอย่างนี้นั้น มิใคร่จะมีใครใช้ หรือถึงขั้นไม่มีใครใช้กันแล้วในสมัยนี้ ฉะนั้นจะบ่นไปใยเล่า)
1
หรือก็คือคนจากศตวรรษก่อนนู้นนั่นแหละ
เดิมบทกวีนี้เป็นภาษาสเปน "ภาสุรี ลือสกุล" เป็นผู้แปลจากภาษาสเปนมาเป็นภาษาไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ. 2548 โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ และเล่มนี้เป็นการตีพิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2567 โดยสำนักพิมพ์เดียวกัน ดังนั้นสิ่งที่เราจะทำการรีวิวก้คือเจ้าหนังสือกวีนิพนธ์เล่มที่ว่านี้ ซึ่งต่อไปจะเรียกสั้นๆ ว่า "กวีนิพนธ์แห่งรัก 20 บทฯ"
1
//รีวิว
"กวีนิพนธ์แห่งรัก 20 บทฯ" เป็นบทกวีที่นำเสนอเรื่องราวความรักของชายหนุ่มที่มีต่อหญิงสาว โดยความรักที่เราพบในบทกวีนี้เป็นความรักของหนุ่มสาวในวัยแรกรุ่น เป็นความรักอันรุ่มร้อนและรุนแรง แต่ก็เป็นรักที่ไม่สมหวังในปั้นปลาย ดังนั้นรสที่เราได้จากบทกวีจึงเป็นแห่งความเศร้าโศก กลัดกลุ้ม ไปจนถึงขั้นเก็บกด แต่โดยความที่เป็นบทกวีแห่งรัก ดังนั้นจึงมีความโรแมนติกอยู่มาก กล่าวคือ ความเก้บกดที่จะได้จึงไม่ใช้ความเก็บกดแบบที่จะได้จากการอ่านนวนิยายอย่าง "บันทึกจากใต้ถุนสังคม" ของดอสโตเยฟกี้
1
แต่เป็นความเก็บกดเพราะความคลั่งรักของชายหนุ่มแทน และความเก็บกดคลั่งรักนี้ก็ปะปนกับความเศร้าสร้อย แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นความเศร้าสร้อยชนิดที่ "ปริ่มว่าจะวายปราณ" แบบที่มักจะพบได้บ่อยๆ ในกวีรักแบบไทยๆ ดังนั้นความโศกเศร้าและเก็บกดนี้ จึงเป็นความโศกที่ละมุนละไมสมกับเป็นกวีนิพนธ์แห่งรักอยู่เหมือนกัน
1
แถมในบทส่งท้ายที่ชื่อว่า "บทเพลงความสิ้นหวัง" นั้น นอกจากกวีจะได้รวบยอดเรื่องราวทั้งหมดให้ผู้สามารถเข้าใจภาพรวมของกวีนิพนธ์ชิ้นนี้ได้แจ่มชัดมากขึ้น กวียังได้ผ่อนคลายอารมณ์ของผู้อ่านให้สงบลง โดยการนำเสนอว่าเรื่องราวเหล่านั้นเป็นเรื่องราวในอดีต และมันก็ "ควร" จะเป็นเรื่องราวที่เขา "ปลง" ได้แล้วในระดับหนึ่ง
1
ต่อไปนี้จะขอนำเสนอบทกวีที่ผู้อ่าน(ผม)ประทับใจซักบท (หากหลายบทมันจะเป็นบทความที่ยาวเลยทีเดียว) พร้อมความเห็นว่าประทับใจอย่างไรดังนี้
บทที่ 15 (Poema 15)
"ฉันชอบเธอยามนิ่งเงียบ ด้วยเปรียบประหนึ่งว่าไม่มีเธอ
และเธอได้ยินฉันแต่ไกล และเสียงของฉันมิอาจสัมผัสเธอ
เสมือนดวงตาเธอนั้นติดปีกโดบยบินไปแล้ว
และดูเหมือนว่ารอยจูบหนึ่งปิดปาดเธอไว้
"ดุจสิ่งทั้งมวล ล้วนเต็มพรั่งอยู่ด้วยวิญญาณฉัน
เธอปรากฎพลันจากสรรพสิ่ง จึงเปี่ยมด้วยวิญญาญนั้น
ผีเสื้อแห่งความฝัน เธอดูคล้ายวิญญาณของฉัน
และเธอช่างมะล้ายถ้อยคำสร้องเศร้า
"ฉันชอบเธอยามนิ่งเงียบ เปรียบประหนึ่งว่าเธออยู่แสนไกล
และดังว่าเธอพร่ำบ่น เจ้าผีเสื้อเสียงใส
และเธอได้ยินฉันแต่ไกล ทว่าเสียงฉันกลับไปไม่ถึงเธอ
โปรดปล่อยให้ฉันนิ่งเงียบอยู่กับความเงียบงันของเธอ
"ดุจกัน โปรดปล่อยให้ฉันได้พูดกับความเงียบงันนั้น
ซึ่งใสกระจ่างดั่งดวงตะเกียง เรียบง่ายดั่งแหวนวงเกลี้ยง
เธอเป็นเช่นยามราตรี เงียบสงัดและประดับดาว
ความเงียบของเธอคือความเงียบแห่งดวงดารา
แสนห่างไกล และงามง่าย
"ฉันชอบเธอยามนิ่งเงียบ ด้วยเปรียบประหนึ่งไม่มีเธอ
ช่างห่างไกลและรวดร้าว ดังว่าเธอตายจากไปแล้ว
ดั่งนั้นหนอ ขอถ้อยสักคำ พร้อมรอยยิ้มสักนิดก็เพียงพอ
แล้วฉันจะสุขใจ สุขใจที่เรื่องทั้งปวงล้วนไม่เป็นจริง"
ประการแรก ผมยังไม่เคยเห็นโคลงที่สรรเสริญ ไความเงียบ" ของคนรักได้ถึงขนาดนี้ โดยปรกติแล้ว เมื่อจะพรรณาถึงความงาม ความรัก หรือคุณต่างๆ ของคนรัก กวีเป็นต้องพรรณาถึงทรวดทรงองเอว แววตา เรือนผม หรือผิวพรรณ อันจับต้องได้ด้วยประสาททั้งห้า หรือไม่ก็พรรณาถึงกริยาแห่งความน่ารักน่าน่าใคร่ประการต่างๆ อันจะรับรู้ได้ด้วยประสาทที่หกคือใจ แต่ไม่มีเลยที่จะได้ยินว่ากวีพรรณาถึงความเงียบของคนรักว่างาม ดังนั้นในประการแรก บทกวีบทนี้จึงให้ความคิดความรู้สึกที่แปลกใหม่ยิ่งสำหรับผม
1
ประการต่อมา ในบทกวีบทนี้ กวีได้ใช้โวหารที่น่าประทับใจยิ่ง ไม่รู้ว่าลักษณะอย่างนี้มีชื่อเรียกแล้วหรือยัง แต่ของเรียกว่า "การเปรียบที่ย้อนแย้ง" ของให้สังเกตท้อนที่ 3 ของทบกวี "ฉันชอบเธอยามนิ่งเงียบ เปรียบประหนึ่งว่าเธออยู่แสนไกล และดังว่าเธอพร่ำบ่น..." จะสังเกตว่าการเงียบนั้นอยู่ตรงข้ามกับการบ่น และการบ่นก็ย่อมไม่ใช่การเงียบ และหากไม่มีความผิดพลาดในการถ่ายทอดความจากภาษาหนึ่งสู่ภาษาหนึ่งและการสื่อสาร ดังนั้น "ฉันชอบเธอยามนิ่งเงียบ (เปรียบดังว่า)เธอพร่ำบ่น..." จึงมีความหมายว่าจริงๆ แล้ว เธอไม่ได้บ่น
1
เพราะมันเป็นแต่เพียงการเปรียบเปรยเอาเองเพียงเท่านั้น (ดังนั้นเธอจึงเงียบมาก)
และขอให้สังเกตท่อนถัดมาที่กวีกล่าวว่า "โปรดปล่อยให้ฉันได้พูดกับความเงียบงันนั้น" ทั้งๆ ที่เมื่อครู่กวียังกล่าวว่า "ฉันชอบเธอยามนิ่งเงียบ" อยู่หยกๆ ดังนั้นมันจึงแสดงว่า จริงๆ แล้วความปรารถนาลึกๆ ที่อยู่ภายใน หรือความปรารถนาที่แท้จริงของกวีไม่ได้ต้องการให้เธอ "นิ่งเงียบ" แต่ต้องการให้เธอพูดคุยด้วย แต่เพราะเธอไม่ยอมพูดคุยด้วย หรือจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตามแต่เธอไม่พูดด้วย มีเพียงความเงียบที่มาจากเธอ เธอเงียบถึงขึ้น "ประหนึ่งว่าไม่มีเธอ" (แต่ว่าจริงๆ แล้วมีเธอยู่ตรงนั้น แค่เธอไม่ยอมพูดจากับเขา)
ดังนั้นกวีจึงทำได้แค่ "(ขอ)โปรดปล่อยให้ฉันได้พูดคุยกับความเงียบงันนั้น" ความหมายแบบลูกทุ่งๆ หน่อยก็คือว่า "ไม่ได้เห็นหน้า เห็นหลังคาบ้านก้ยังดี" เรื่องนี้ก้เช่นกัน ถึงเธอไม่คุยด้วย(หรือคุยด้วยไม่ได้)ขอคุยกับความเงียบของเธอก็ยังดี! มีเพียงคนคลั่งรักจนถึงขั้นเพียงเท่านั้นที่จะทำอย่างนี้ได้ สิ่งนี้ถูกตอกย้ำอีกครั้งในท่อนสุดท้าย "ฉันชอบเธอยามนิ่งเงียบ ด้วยเปรียบประหนึ่งไม่มีเธอ ช่างห่างไกลและรวดร้าว ดังว่าเธอตายจากไปแล้ว ดั่งนั้นหนอ ขอถ้อยสักคำ พร้อมรอยยิ้มสักนิดก็เพียงพอ แล้วฉันจะสุขใจ..."
ว่าจริงๆ แล้วกวีไม่ได้พอใจที่เธอนิ่งเงียบ หรือกับความนิ่งเงียบขอเธอ ขอแค่สักถ้อยคำและรอยยิ้มก็ทำให้สุขใจได้แล้ว แต่สิ่งนี้กลับเป็นไปไม่ได้เพราะ "เรื่องทั้งปวงล้วนไม่เป็นจริง" ดังนั้นทุกอย่างจึงส่งให้เกิดอารมณ์เศร้าขึ้นมาได้อย่างลึกซึ้งและจับใจ
1
ประการสุดท้าย หากใครก้ตามอยากที่จะเข้าใจความเศร้าซึ้งของบทกวีบทนี้ได้ จะต้องเข้าใจแบบนี้ นี่เป็นรักแรก ที่แสนยากและเอียงอาย หรือจะรักไม่แรกก็ตาม(แต่รักแรกนั้นละมุนกว่า) เธอได้นั่งใกล้กับคุณเพียงอื้มมือ มีเพียงสิ่งเดียวที่กันคุณกับเธอ(ที่คุณรักยิ่ง)ได้คือความนิ่งเงียบนี่เอง คุณปรารถนาแทบตายที่จะให้เธอเอื่อนเอ่ย แต่เธอก็ไม่เอื่อนเอ่ยแม้สักคำ อย่ากระนั้นเลย แม้ดวงตาที่ว่ากันว่าหญิงสามารถใช้มันแทนคำพูดได้ก็ยังนิ่งเงียบ และคุณเองก็ไม่กล้ารุกคืบมากไปกว่านั้น ความปรารถนาทั้งมวลจึงจุกอยู่ที่อก
แต่ว่าถึงจะจุกอยู่ที่อกเพียงไรคุณก็ยังมีความสุขราวกะว่าได้ขึ้นสวรรค์ ที่ได้นั่งเงียบๆ อยู่ด้วยกันสองต่อสองอย่างนั้น บทกวีบทนี้จึงกล่าวถึงทั้งความรัก ความหวัง ความเก็บกดอดกลั้น และความทุกข์ระทมที่ไม่สมหวังได้อย่างละเมียดละไมเลยทีเดียว
สุดท้ายแล้วขอออกตัวว่า จริงๆ แล้วผมอ่านสเปนไม่ได้เลยแม้แต่ตัวเดียว แม้ในหนังสือเล่มนีัจะมีภาษาสเปนเทียบไว้ให้ด้วย แต่จากการถ่ายทอดของผู้แปล(ซึ่งเป็นผู้สอนภาษาสเปน จึงทำให้เราเชื่อถือเรื่องการแปลได้ในระดับที่มากเลยทีเดียว)กวีนิพนธ์เล่มนี้ก็ยังเป็นกวีนิพนธ์ที่น่าอ่าน สำหรับคนไทยทั่วๆ ไป ไม่ใช่แค่ว่าเพราะผู้เขียนได้รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเพียงเท่านั้น แต่รสกวีในนี้ก็น่าประทับใจอยู่จริงๆ
และแม้ในยุคสมัยนี้ผู้คนในชาติเราดุจะไม่ค่อยชอบอ่านบทกวีกันนัก(ผมไม่เห็นรีวิวหนังสือเล่มนี้ในอินเทอร์เน็ตในระยะเวลาที่ใกล้ๆ อยู่เลย เห็นริวิวอันหนึ่งเขียนไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เข้าใจว่าเป็นรีวิวเล่มการพิมพ์ครั้งแรก)และความจริงผมก็ไม่ใช่นักอ่านกวีนิพนธ์อะไรนัก อ่านตามหาได้เพียงเท่านั้น แต่ก็ยังเชื่ออยู่ว่า งานกวีนิพนธ์นั้นเปนอะไรที่มากกว่าสื่อเพื่อความบันเทิง และนอกจากจะสามารถสะท้อนจิตใจคนได้แล้ว ผมยังเห็นด้วยว่ามันช่วย "ยกระดับ" จิตใจของเราให้นึกถึงความงดงาม
ที่มากกว่าแค่ความสนุกเพลิดเพลินอย่างไม่มีขีดจำกัดได้ ผมเห็นด้วยกับที่ขงจื่อเตยกล่าวไว้ในหลุนอี่ว์ว่า
ในคัมภีร์กวีนิพนธ์มีอยู่ 300 บท
แต่ล้วนสรุปลงได้ประโยคเดียวคือ "คิดเรื่องที่ไม่อุบาทว์
หลุนอี่ว์ เล่มที่ 2 บทที่ 2, สุวรรณา สถาอานันท์ (แปล)
1
โฆษณา