1 ก.ย. เวลา 01:30 • ข่าวรอบโลก

ทำไมปูตินเสี่ยงไป “มองโกเลีย” ด้วยตัวเอง

ทั้งที่ประเทศนี้ลงสัตยาบันไว้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ
มีการคาดการณ์จากหลายนักวิเคราะห์ที่เชื่อมโยง “การเยือนมองโกเลียของปูติน” ซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 3 กันยายนนี้ (วันอังคารหน้า) กับประเด็นเรื่องท่อก๊าซสายที่ชื่อว่า “Power of Siberia 2”
ซึ่งรัสเซียและจีนมีช่องทางที่ต้องให้หารือกัน รวมถึงมองโกเลียที่มีส่วนร่วมกับโครงการท่อก๊าซนี้ เพราะเมื่อไม่นานนี้ (สิงหาคม 2024) ทางการมองโกเลียตัดสินใจไม่คุยเรื่องงบสำหรับก่อสร้างวางท่อก๊าซสายนี้ให้พาดผ่านประเทศจากรัสเซียเข้าสู่จีน โปรเจคถูกโฮลด์ไว้ อย่างที่ทราบจีนกับมองโกเลียตามประวัติศาสตร์เป็นชนชาติที่ไม่ค่อยถูกกัน แต่นี่มันก็เป็นเพียงการประเมินผิวเผินเพียงเหตุผลเดียว - อ้างอิง: [1][2]
2
เครดิตภาพ: Table Briefings / Source: Gazprom, Petroleum Economist, Financial Times, IISS
“มองโกเลีย” ยังมีแหล่งสำรองสายแร่แรร์เอิร์ธจำนวนมาก แม้ว่าจะไม่ชัดเจนว่ามีปริมาณมากเพียงใด แต่จากการประมาณการณ์ของผู้เชี่ยวชาญคาดว่ามีตั้งแต่ 3.1 ถึง 31 ล้านตัน สิ่งที่สำคัญเป็นพิเศษคือมองโกเลียมี “ลิเธียม” ซึ่งแหล่งสำรองแร่ชนิดนี้มีจำนวนมากที่บริเวณชายแดนติดกับรัสเซีย และมีการค้นพบแหล่งสำรองลิเธียมสำคัญของโลกในพื้นที่ของประเทศจนถึงปัจจุบัน (ลิเธียมเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมรถอีวี) – อ้างอิง: [3][4]
3
นอกจากนี้มองโกเลียอยู่ในอันดับที่ 10 ในด้านแหล่งสำรองถ่านหินและอันดับที่ 7 ในด้านแหล่งสำรองทองแดง โดยมีเยอรมนี ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ที่ลงทุนในแหล่งสำรองด้านเหมืองแร่เหล่านี้อย่างเข้มข้น (มองโกเลียเรียกชาติฝ่ายตะวันตกเหล่านี้ว่า ‘เพื่อนบ้านที่สาม’) นอกจากผลประโยชน์ร่วมกันของชาติฝ่ายตะวันตกแล้ว พวกเขายังเล็งหาโอกาสเขี่ยจีนและรัสเซียเพื่อนบ้านชาติใหญ่ของมองโกเลียให้พ้นจากทางด้วยในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าว - อ้างอิง: [5][6]
3
เรื่องหนึ่งที่เป็นน่าจับตามองและกำลังถูกมองว่าฝ่ายตะวันตกพยายามแย่งชิงทรัพยากรและมีอิทธิพลเหนือรัสเซียกับจีนในมองโกเลีย คือการจัดตั้งคณะกรรมาธิการไตรภาคีว่าด้วยแร่แรร์เอิร์ธประกอบด้วย มองโกเลีย-สหรัฐอเมริกา-เกาหลีใต้ และดำเนินการทำงานอยู่ในอูลานบาตอร์ (เมืองหลวงมองโกเลีย) ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างมองโกเลียกับรัสเซียยังไม่มีการกระเตื้องมากนัก หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต – อ้างอิง: [7]
1
เครดิตภาพ: Canva - IPS
ความสัมพันธ์ระหว่าง “มองโกเลีย” และ “จีน” เมื่อเข้าสู่ปัจจุบัน ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจากปีก่อน การคว่ำบาตรรัสเซียซึ่งเป็นเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ของมองโกเลียทำให้ความสัมพันธ์ที่ราบรื่นกับจีนมีความสำคัญมากขึ้น แม้ว่ามองโกเลียจะพยายามกระจายคู่ค้าการค้าต่างประเทศ แต่ปัจจุบันเส้นทางทั้งหมดไปยังส่วนอื่นๆ ของโลกล้วนนำไปสู่จีนมากกว่าที่เคย ในบริบทดังกล่าวรัฐบาลมองโกเลียได้แสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่จะขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนมากกว่าที่เคย
3
ส่วนฝั่งรัสเซียมีโอกาสที่จะ “ไล่ตาม” ชาติตะวันตกในมองโกเลียได้หรือไม่? สิ่งหนึ่งที่รัสเซียอาจมีข้อได้เปรียบคือการมองมองโกเลียในลักษณะของเพื่อนบ้านมากกว่าเมื่อเทียบกับจีน รัสเซียมีข้อเสนอธุรกิจที่จะเสนอให้กับอูลานบาตอร์ แน่นอนที่เห็นชัดคือในภาคพลังงาน ไม่ใช่เรื่องไร้เหตุผลที่ Rosatom (บริษัทภาครัฐของรัสเซียที่ดำเนินงานเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์) มีบทบาทนำในการร่วมมือทางธุรกิจกับมองโกเลีย เพราะมองโกเลียยังมีแหล่งสำรองยูเรเนียมอีกด้วย
การที่ปูตินไปเยือนมองโกเลียในครั้งนี้ ทั้งที่รู้ว่าเสี่ยง ก็น่าจะเป็นเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องการค้าการลงทุนที่เจออุปสรรคหยุดชะงักโดยเฉพาะเรื่อง “พลังงาน” เป็นสำคัญ เพราะยังไงรัสเซียจำเป็นต้องขายก๊าซให้กับทางจีนลูกค้ารายหลักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลังถูกคว่ำบาตรจากตะวันตก ท่อก๊าซเดิม Power of Siberia สายแรกก็ไม่เพียงพอที่จะป้อนจีนตามที่สองฝ่ายได้คุยกัน จำเป็นต้องพาดสายใหม่เพิ่มผ่านในมองโกเลีย และโอกาสเรื่องเกี่ยวกับ “แรร์เอิร์ธ” ที่ถูกอาจมองว่าตะวันตกกำลังเข้าไปตัดหน้าพวกเขา
2
อย่างไรก็ตามล่าสุดรัสเซียออกมาประกาศ “ไม่กังวลอะไรเลย” เกี่ยวกับผลกระทบของธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศในมองโกเลียที่ต้องปฏิบัติตามหมายศาลจับปูติน “ดมิทรี เปสคอฟ” โฆษกเครมลินออกมากล่าว - อ้างอิง: [8]
เรื่องราวความเป็นมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับ “การเยือนมองโกเลียของปูติน” สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความที่ทางเพจได้เคยลงไว้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
1st Sep 2024
  • แหล่งข่าวและข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: The Economist>
โฆษณา