1 ต.ค. เวลา 03:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

TSMC การลงทุนที่คุ้มค่าสุดของ รัฐบาลไต้หวัน รับปันผลปีละ 20,000 ล้าน

ถ้าเราลองหลับตา แล้วลองจินตนาการว่า เราเป็นรัฐบาลไต้หวัน จะเอาเงิน 20,000 ล้านบาท ไปทำอะไรดี
- เอาเงินไปแจกให้ประชาชนทุกคน
- สร้างถนน สะพาน โครงการรถไฟฟ้าใหม่ ๆ
- พัฒนาระบบชลประทานของประเทศ
3
แต่รัฐบาลไต้หวันกลับใช้เงินแบบฉลาดกว่านั้น แทนที่จะเอาไปใช้พัฒนาในโครงสร้างพื้นฐานทั่ว ๆ ไป กลับเอาเงินตรงนี้ ไปลงทุนต่อยอดผ่านกองทุนที่ตั้งขึ้นมาแทน
1
กองทุนนี้คือจุดเริ่มต้นของ TSMC บริษัทผลิตชิปที่ใหญ่ที่สุดในโลก
2
และวันนี้ TSMC ก็จ่ายเงินปันผลกลับมาให้รัฐบาลไต้หวัน ปีละกว่า 20,000 ล้านบาท
1
กองทุนที่ว่านี้ ช่วยพัฒนาไต้หวันอย่างไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จริง ๆ ต้องบอกว่า รัฐบาลไต้หวันไม่ได้ถือหุ้นใน TSMC โดยตรง แต่ถือหุ้นผ่านกองทุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งชาติ หรือ National Development Fund (NDF) แทน
เพราะในช่วงการก่อตั้ง TSMC เมื่อปี 1987 รัฐบาลไต้หวันตัดสินใจลงทุน เพื่อหวังให้ไต้หวันเป็นผู้นำการผลิตชิป ผ่านกองทุนตรงนี้ โดยร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับ Philips จากเนเธอร์แลนด์
ซึ่งปัจจุบัน NDF ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของ TSMC
ด้วยสัดส่วน 6.38% ของหุ้นทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 1,678,000 ล้านบาท
และ TSMC ก็ตอบแทน NDF ด้วยการจ่ายเงินปันผล
ในปีที่แล้วมากถึง 22,200 ล้านบาท..
แล้ว NDF เอาเงินตรงนี้ไปทำอะไรต่อ ?
เงินปันผลที่ได้มา กองทุนนี้จะนำไปรวมกับเงินที่รัฐบาลไต้หวัน แบ่งมาจากกระทรวงการคลังบางส่วน แล้วนำไปลงทุนต่อยอดเพิ่มเติม
โดยเฉพาะการถือหุ้นธุรกิจในประเทศ กระจายตามอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น ไบโอเทค, อากาศยาน, การเงิน, ชิป, การสื่อสาร, การขนส่ง
และกว่า 90% เป็นการลงทุนระยะยาว
นอกจาก TSMC แล้ว กองทุนนี้ก็ยังถือหุ้นในธุรกิจชื่อดังอย่างสายการบิน China Airlines หรือ VIS ธุรกิจรับจ้างผลิตชิปเฉพาะทางของไต้หวัน
แต่กองทุนก็ไม่ได้ถือหุ้นแค่ธุรกิจขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว เพราะยังเอาเงินไปลงทุนในกองทุน Venture Capital ที่ไปลงทุนในสตาร์ตอัปต่าง ๆ อีกที
แถมบางครั้ง NDF ยังทำตัวเสมือนเป็นธนาคารที่ปล่อยกู้ให้กับบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการระดมทุนเพิ่มเติมอีกด้วย
ซึ่งในช่วงแรกของการก่อตั้งกองทุน รัฐบาลไต้หวันไม่ได้รับเงินปันผลจากกองทุนนี้แม้แต่น้อย เพราะยังอยู่ในช่วงที่กองทุนได้ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่มากนัก
จนปี 1992 เป็นต้นมา กองทุนนี้ก็เริ่มสร้างผลตอบแทนให้กับรัฐบาลไต้หวัน โดยจ่ายเงินปันผลกลับมาเรื่อย ๆ ถึงปัจจุบัน ซึ่งมีมูลค่ารวมกันมากถึง 318,000 ล้านบาท
เรียกได้ว่า เป็นการลงทุนที่ได้ประโยชน์ถึง 2 เด้ง
ทั้งเงินที่ได้กลับมา เอาไปพัฒนาประเทศต่อ และให้กองทุนเอาเงินไปลงทุนต่อยอดธุรกิจของประเทศตัวเองได้อีกทาง
เรื่องนี้ก็เป็นกรณีศึกษาที่ดีว่า มันไม่สำคัญว่า เราหาเงินได้มากขนาดไหน แต่มันสำคัญว่า เราจัดการเงินที่ได้มาอย่างชาญฉลาดแค่ไหนมากกว่า
5
สิ่งที่รัฐบาลไต้หวันทำคือ เน้นการลงทุนในระยะยาวตั้งแต่เริ่มต้น ด้วยการจัดตั้งกองทุน เพื่อนำเงินไปลงทุนต่อยอด และช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
มากกว่าใส่เงินไปกับโครงสร้างพื้นฐานทั่ว ๆ ไป เหมือนชาติอื่น ๆ
3
ผลตอบแทนที่งอกเงย ซึ่งรัฐบาลไต้หวันได้รับกลับมา โดยเฉพาะในรูปของเงินปันผล
รัฐบาลไต้หวัน ก็ไม่ได้ใช้เงินปีละ 20,000 ล้านบาท จาก TSMC ไปทำอะไรที่เกิดประโยชน์ในระยะสั้น
แต่เอาไปใช้ทำประโยชน์ในระยะยาว กระจายการลงทุนไปยังธุรกิจใหม่ ๆ ในประเทศ ให้ได้มีโอกาสเติบโต
จนสุดท้ายก็ทำให้เศรษฐกิจไต้หวันไม่ล้าหลัง มีเศรษฐกิจใหม่ ๆ ขับเคลื่อนประเทศอยู่ตลอดเวลา..
โฆษณา