26 ต.ค. 2024 เวลา 09:28 • ธุรกิจ

‘งานเป๊ะได้สไตล์คนขี้เกียจ’

รู้จัก Lazy Perfectionist พร้อม 5 วิธีปลดล็อกศักยภาพ เพื่อสร้างสุดยอดผลลัพธ์ให้องค์กร
อิงตามแนวคิดของ Kurt von Hammerstein-Equord จอมพลชาวเยอรมัน ที่ได้นิยามลักษณะนิสัยและความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชาเอาไว้ 4 รูปแบบ คือ
🤷 คนฉลาดที่ขยัน
🤷 คนโง่ที่ขยัน
🤷 คนฉลาดที่ขี้เกียจ
🤷 คนโง่ที่ขี้เกียจ
หากดูเผินๆ เราจะรู้สึกว่าคนที่มี ‘ความขยัน’ นั้น ไม่ว่าจะฉลาดหรือไม่ฉลาด ก็ถือเป็นแต้มต่อทั้งนั้น เพราะถือว่า เป็นคนที่ทำงานหนักเพื่อองค์กร แต่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะพบว่าในบางครั้ง คนโง่ที่ขยัน อาจนำพามาซึ่งปัญหาจากการทำงานหนักแต่ไม่มีประสิทธิภาพได้เช่นกัน
ขณะที่ ‘ความขี้เกียจ’ มักถูกมองว่าเป็นอุปนิสัยแย่ๆ ของพนักงานที่ไม่ควรมีในองค์กร ซึ่งในกรณีของพนักงานที่ไร้ความสามารถก็อาจตีความได้เช่นนั้น
แต่สำหรับพนักงานที่ ‘ฉลาด’ องค์กรสามารถมองในอีกแง่มุมได้ กล่าวคือ พนักงานประเภทนี้ เป็นกลุ่มที่มีความสามารถ เพียงแต่ไม่ชอบทำงานหนัก พวกเขาจึงมักจะหาวิธีการที่ง่ายและมีประสิทธิภาพในการช่วยลดความยุ่งยากของการทำงานนั่นเอง
โดยในกลุ่มของพนักงานที่มีความฉลาดแต่ขี้เกียจ เราอาจพบพนักงานบางคนที่มีความเป็น ‘Lazy Perfectionist’ หรือพนักงานขี้เกียจแต่ต้องการความสมบูรณ์แบบ ที่แม้จะฟังแล้วดูขัดแย้งในตัวเอง แต่พนักงานกลุ่มนี้มีคุณลักษณะที่สามารถสร้างมูลค่าให้กับองค์กรได้อย่างมาก หากผู้บริหารรู้วิธีการจัดการและใช้ประโยชน์จากศักยภาพของพนักงาน
🙋[ Lazy Perfectionist คืออะไร? ]
บุคคลที่มีความต้องการให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีแนวโน้มที่จะหาทางลัดหรือวิธีที่ง่ายที่สุดในการบรรลุความสมบูรณ์แบบนั้น
พวกเขามักจะมองหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานให้เสร็จโดยใช้พลังงาน ‘น้อยที่สุด’ ซึ่งทำให้พวกเขามีทักษะในการวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
🙋[ จุดแข็งของ Lazy Perfectionist ]
💥1. การมองเห็นภาพรวม
Lazy Perfectionist มักจะมองเห็นภาพรวมของงานและหาวิธีการที่ดีที่สุดในการทำงานให้เสร็จ โดยใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุด เพื่อประหยัดเวลาและพลังงาน
💥2. มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา
Lazy Perfectionist มักจะมีความคิดสร้างสรรค์และสามารถคิดหาวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา
💥3. การปรับปรุงกระบวนการทำงาน: Lazy Perfectionist
Lazy Perfectionist มักมองหาวิธีการที่สามารถทำให้กระบวนการทำงานรวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
🙋[ บริหาร Lazy Perfectionist อย่างไรให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด ]
💥1. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้
กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้พนักงานรู้ว่าความสำเร็จมีลักษณะอย่างไร และเป้าหมายที่ต้องการอยู่ที่ไหน ซึ่งจะช่วยให้พนักงานมีทิศทางที่ชัดเจนในการทำงาน พร้อมใช้ตัวชี้วัดความสำเร็จเพื่อให้พนักงานเห็นภาพความคืบหน้าของตนเอง และสามารถปรับปรุงการทำงานได้ตามที่จำเป็น
💥2. สร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดสร้างสรรค์
สร้างวัฒนธรรมที่เปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงาน โดยการให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและปรับปรุงกระบวนการทำงานจะช่วยให้พวกเขารู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและเป็นส่วนหนึ่งของทีม ทั้งยังควรสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงาน เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
💥3. สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนา
จัดให้มีการฝึกอบรมที่เหมาะสม เพื่อให้พนักงานสามารถพัฒนาทักษะความรู้ใหม่ๆ และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงมอบหมายงานที่มีความท้าทาย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน
💥4. ให้คำชมและการยอมรับ
เมื่อพนักงานสามารถบรรลุเป้าหมาย หรือมีวิธีการที่สามารถปรับปรุงกระบวนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรให้คำชมและการยอมรับเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ
อาจมีการใช้ระบบการให้รางวัลที่ชัดเจนและเหมาะสม เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานได้
💥5. ช่วยจัดการเวลา
ผู้บริหารอาจมีส่วนในการช่วยพนักงานในการวางแผนและจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายโดยไม่ต้องทำงานหนักเกินไป เช่น การแนะนำ Pomodoro Technique เพื่อช่วยให้พนักงานเริ่มทำงานและไม่เลื่อนงาน
การจัดการกับพนักงานที่มีพฤติกรรม Lazy Perfectionist เป็นความท้าทายที่ผู้บริหารเลี่ยงไม่ได้ แต่หากมีการใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม ผู้บริหารก็จะสามารถเปลี่ยนพนักงานกลุ่มนี้ ให้กลายเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสำหรับองค์กรได้
ด้วยการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน เปิดโอกาสให้แสดงความคิดสร้างสรรค์ สนับสนุนการเรียนรู้ ให้คำชมและการยอมรับ และการช่วยจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม การชี้ว่า พนักงานคนใดมีลักษณะนิสัยอย่างไร เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ผู้บริหารจึงต้องมีความระมัดระวังในการเลือกใช้แนวทางในการแก้ไขหรือพัฒนาพนักงานคนนั้นๆ ไม่ควรใช้ความรู้สึกในการพิจารณาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องดูเรื่องอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ผลลัพธ์ของงาน คุณภาพของงาน เป็นต้น
เขียนโดย ชนัญชิดา พลอยพลาย
#FutureTrends #FutureTrendsetter #FutureTrendsWorkAndLife
พบกับ Work Life Festival 2024 เฟสติวัลสุดยิ่งใหญ่แห่งปีจาก Future Trends ตอบโจทย์ในทุกมิติสำหรับค นทำงาน ที่ครอบคลุมทั้ง Work-Wealth-Health-Fun
🗓️ วันที่ 2 - 3 พฤศจิกายน 2567
🏬 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียน เข้าร่วมงานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมรับสิทธิพิเศษต่างๆ
⚠️⚠️ฟรี! ลงทะเบียนได้ที่ลิงก์นี้ https://bit.ly/477HQU9
โฆษณา