Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วิฬาร์แผลงฤทธิ์
•
ติดตาม
7 พ.ย. 2024 เวลา 11:48 • ปรัชญา
" จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว "
หากเรานึกถึงประโยคที่ว่า " จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว " โดยทั่วไปแล้ว หลายท่านคงนึกถึงคำคม สุภาษิต หรือหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ที่ว่า จิต หรือ ใจ ซึ่งหมายถึง สิ่งที่มีหน้าที่รู้ คิดและนึก หรืออาจกล่าวได้โดยง่ายว่า "จิต" หรือ "ใจ" คือกระบวนการทางความคิดของมนุษย์เรา
ส่วนคำว่า "กาย" นั้น มักใช้คู่กับคำว่า "ร่าง" คำว่า "ร่างกาย" จึงมีความหมายว่า เรือนร่าง หรือลำตัวของเรา
ประโยคที่ว่า "จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว" จึงมีความหมายโดยประมาณว่าความคิดของเราทำหน้าที่ควบคุมร่างกายให้ทำตามที่ต้องการได้ ซึ่งหลายท่านอาจคิดว่าประโยคนี้เป็นการนิยามความหมายของพฤติกรรมของมนุษย์อย่างเราได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าหากว่าการนิยามเช่นนี้มันไม่ถูกต้องซะทีเดียวล่ะครับ
หากลองพินิจพิเคราะห์ความหมายของคำว่า "จิต" อย่างละเอียดถี่ถ้วนจะพบว่า จิตหรือ กระบวนการทางความคิดของมนุษย์เรา เป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการทำงานของ "สมอง" ซึ่งสมอง ก็เป็นเพียงอวัยวะหนึ่งในร่างกายของเรา
"จิต" จึงไม่มีจริง มีเพียง "กาย" ที่ทำหน้าที่ควบคุมและแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตใดๆก็ตาม หากท่านทั้งหลายยังคงงุนงง ในการสื่อความหมายของผม ผมจะขอยกกรณีตัวอย่างที่จะทำให้ท่านเข้าใจว่า
"มีเพียงกายเท่านั้นที่ควบคุมเรา"
- กรณี่ที่ 1 (ซึ่งเป็นกรณีที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด) ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.1966 ชาร์ลส์วิตแมน ได้ก่อเหตุกราดยิง ณ ตึกยูนิเวอร์ซิตีออฟเท็กซัส ในเมืองออสติน รัฐเท็กซัสประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 14 ราย (รวมชาร์ลส์ วิตแมน) และบาดเจ็บ 33 ราย
เมื่อตำรวจ ได้ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว กลับพบว่า ในวัยเด็ก ชาร์ลส์ วิตแมน ได้คะแนน 138 คะแนน จากการทดสอบไอคิวของแสตนฟอร์ด บีเน และอยู่ในลำดับผู้ทำคะแนนได้สูงสุด 0.1 เปอร์เซ็น จึงทำให้เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ระดับชาติ
และเมื่อเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพอย่างละเอียด ก็พบว่าสมองของวิตแมนมีเนื้องอก ขนาดเท่าเส้นผ่านศูนย์กลาง เหรียญห้าเซนต์ ซึ่งเรียกว่ากลิโอบลาสโตมา ซึ่งมีผลต่อสมองส่วนไฮโปทาลามัส และมีผลต่อบริเวณที่เรียกว่า อมิกดาลา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์โดยเฉพาะความกลัวและก้าวร้าว
- กรณีที่ 2 (ซึ่งเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันและสารสื่อประสาทที่เรียกว่า โดพามีน)
ก่อนอื่น ผมต้องขออธิบายก่อนว่า "โรคพาร์กินสัน" มีสาเหตุมาจากการที่ร่างกาย ไม่สามารถสังเคราะห์ฮอร์โมนที่เรียกว่า "โดพามีน" ได้ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มี 2 หน้าที่
1.ทำหน้าที่ในกลไกการให้รางวัลตัวเองของร่างกาย หรือ กล่าวโดยง่ายว่านี่คือ "ฮอร์โมนความสุข"
2. ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ
อาการทางกายของโรคพาร์กินสัน มีดังนี้
- ร่างกายสั่นและแข็งเกร็ง
- พูดและเคลื่อนไหวช้า
- หน้านิ่ง
ส่วนอาการทางจิตใจ อาจทำให้ซึมเศร้าและวิตกกังวล
ในช่วงแรกของการรักษาโรคนี้ (ประมาณปี ค.ศ. 2001) ใช้การรักษาโดยการใช้ยาแพรมีเพกโซล เพื่อกระตุ้นระบบโดพามีน แต่กลับทำให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ติดการพนัน กินและดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้ป่วย มีระดับโดพามีนเพิ่มขึ้น เพราะหนึ่งในหน้าที่ของโดพามีน คือการ "สร้างความสุข" ผู้ป่วยจึงเสพติดความสุขจากการพนัน การกิน การดื่มแอลกอฮอล์ หรือแม้แต่การมีเพศสัมพันธ์
จากกรณีตัวอย่างข้างต้นที่ผมได้กล่าวมานั้น หวังว่าจะทำให้หลายๆท่าน เข้าใจในความหมายที่ผมต้องการสื่อมากยิ่งขึ้น หรือหากท่านใดที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากผมอย่างไร สามารถแสดงความคิดเห็นด้วยเหตุผลของท่านในส่วนของคอมเมนต์ใต้โพสต์ในเพจ *วิฬาร์แผลงฤทธิ์* หรือ เฟซบุ๊กส่วนตัวของผมก็ได้เช่นกันครับ (Facebook : Neti Ninpetch)
ก่อนจากกันไป หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผมขอน้อมรับไว้และ
ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย...
อ้างอิงจาก
- INCOGNITO (THE SECRET LIVES OF THE BRAIN) ความลับของสมอง
เขียน : ดร.เดวิด อีเกิลแมน
แปล : อรดา ลีลานุช
-
https://pantip.com/topic/37286541
-
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/parkinson-disease
-
https://dictionary.sanook.com/
โดย #วิฬาร์แสด
เรียบเรียงโดย @วิฬาร์แผลงฤทธิ์
6
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย