5 ธ.ค. 2024 เวลา 05:53 • หุ้น & เศรษฐกิจ

‘เฟ้อ’ กับ ‘ฝืด’ ที่เสียงพ้องเดียวกัน แต่ผลกระทบแตกต่างกัน

ตามที่เราเข้าใจทั่วไป เงินเฟ้อสื่อถึงสินค้าและบริการมีราคาที่สูงขึ้น มูลค่าของเงินนั้นเสื่อมลง ส่วนเงินฝืดคือการที่ราคาสินค้าและบริการลดลง บอกเป็นนัยว่าตัวเลขเงินเฟ้อนั้นติดลบ
โดยผลกระทบของสองสิ่งนี้ไม่ได้มีเพียงเท่านี้นะคะ วันนี้เนิร์ดจึงจะมาเล่าเกี่ยวตัวเลขเงินเฟ้อและเงินฝืดว่าแตกต่างต่างกันอย่างไร แล้วจะกระทบในภาคส่วนไหนอีก นอกจากราคาของสินค้าและบริการ ฉะนั้น เราไปเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ
‘เงินเฟ้อ’
ด้วยความที่เงินเฟ้อส่งผลให้ราคาของข้าวของที่เราใช้เป็นประจำหรือค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้เราต้องออกเงินมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้ได้สินค้าเหล่านั้นที่เคยซื้อมา แถมทำให้เกิดความรู้สึกว่ามูลค่าเงินที่เราถืออยู่นั้นลดลงในเหตุการณ์ภาวะเงินเฟ้อ
มันยังมีผลกระทบต่อในด้านอื่นๆ เช่นกัน เริ่มจากการปรับอัตราดอกเบี้ย ธนาคารกลางจะทำหน้าที่ควบคุมเงินเฟ้อ โดยดำเนินนโยบายการเงินในการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้เรามีค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงินที่สูงขึ้น
ต่อมา นักลงทุนอาจมีความลังเลในการลงทุนระยะยาวในสภาวะที่เศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ส่วนภาคธุรกิจอาจมีการพิจารณาลดค่าใช้จ่ายสำหรับต้นทุนในการผลิตสินค้า
แต่ถึงกระนั้น เงินเฟ้อยังมีข้อดีอยู่เช่นกัน นั่นคือช่วยลดภาระหนี้ของทั้งภาครัฐและเอกชน ตัวอย่างเช่นการทำสัญญาเงินกู้ซึ่งมีอัตราเบี้ยคงที่ ภาวะเงินเฟ้อทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นในขณะที่รายจ่ายต่อเดือนเพื่อใช้หนี้ยังคงเดิม ดังนั้นลูกหนี้จึงมีเงินเหลือต่อเดือนมากขึ้นว่าเดิม ทั้งยังงทำให้ภาคเอกชนเกิดแรงจูงใจในการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากราคาสินค้ามีราคาสูงขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น ในทศวรรษ 1970 เหตุการณ์เงินเฟ้อครั้้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงถึง 13.5% สาเหตุมาจากการปรับอัตราดอกเบี้ยหลายต่อหลายครั้งในช่วง 10 ปีของธนาคารกลางหรือ FED แต่นั่นก็ไม่ได้สร้างความเสถียรในอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานเลย รวมถึงราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจากการหยุดขนส่งน้ำมันของกลุ่ม OPEC ที่ส่งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรียกว่า Stagflation หรือเศรษฐกิจที่อยู่ในสภาวะตกต่ำ แต่อัตราเงินเฟ้อที่สูง
อ่าน The Great Inflation ได้ที่: https://www.longtunman.com/38623
ส่วน ‘เงินฝืด’ นั้นมีผลกระทบตรงกันข้ามกับเงินเฟ้อ ซึ่งข้อดีในการเกิดอัตราเงินฝืด คือทำให้สินค้าและบริการลดลง ผู้ซื้อสามารถจับต้องได้มากขึ้นในระยะสั้น พร้อมสถานะทางการเงินของผู้คนมีความมั่นคง สามารถทำแผนการเงินเพื่ออนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ว่าอาจส่งผลให้รายได้และกำไรในภาคธุรกิจนั้นลดลง ซึ่งมาจากการลดราคาและลดสต็อกของสินค้าและบริการ อาจนำไปสู่การเกิดปัญหาการว่างงานที่มาจากการลดจำนวนพนักงานเพื่อรักษาสถานะทางการเงินของบริษัทนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ หรือ The Great Depression ที่ส่งผลให้ตัวเลข GDP ทั่วโลกลดลงกว่า 15% ราคาสินค้าและบริการลดฮวบ ยอดตัวเลขนำเข้า-ส่งออกลดลงต่ำกว่า 50%
รวมถึงอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นกว่า 23% ซึ่งสาเหตุมาจากผลประกอบของภาคธุรกิจนั้นลดลงอย่างมากในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ยังกระทบต่อส่วนอื่นๆ ได้แก่ รายได้ของประชาชน รายได้ของภาษีอากร
#การ์ตูน #economicseries #wealthelling
ช่องทางอื่นๆ สำหรับติดตามเพจ WEALTHELLING
โฆษณา