30 ธ.ค. 2024 เวลา 15:42 • ประวัติศาสตร์

เหรียญสตางค์รู จักรนาราย์ : วัตถุมงคลล้างอาถรรพ์และพลังศักดิ์สิทธิ์แห่งความเชื่อโบราณ

บทนำ:
ในสังคมไทย ความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาและไสยศาสตร์มีบทบาทสำคัญที่ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกหนึ่งในสิ่งที่สะท้อนถึงความเชื่อเหล่านี้ คือ "เหรียญสตางค์รู" ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของการเงินในสมัยก่อน แต่ยังถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความศักดิ์สิทธิ์และการล้างอาถรรพ์ คนโบราณเชื่อว่าเหรียญเหล่านี้มีพลังในการปกป้องคุ้มครองจากอันตราย และนำพาความโชคดีมาให้ทั้งในด้านชีวิตและการเงิน
โดยเฉพาะในพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ที่มีการใช้เหรียญสตางค์รูเพื่อเสริมความขลังในการปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และแก้อาถรรพ์ที่ตามหลอกหลอนในชีวิต จึงไม่แปลกที่สมัยโบราณจะใช้เหรียญสตางค์รู ในพิธีการมงคลต่างๆ อย่างแพร่หลายทั้งในอดีต
เหรียญสตางค์รูคนสมัยก่อน จะร้อยเหรียญใส่เชือกเป็นพวงยาวแล้วขาดไว้ที่เอว เวลาใช้จ่ายก็จะปลดเชือกแล้วดึงเหรียญออกมาที่ละเหรียญเพื่อง่ายต่อการใช้จ่าย
ส่วนเรื่องความเชื่อว่าเป็นเหรียญมงคล คือ
เมื่อเด็กทารกแรกเกิดครบหนึ่งเดือนจะมีพิธีโกนผมไฟ ปู่ย่าตายายในชนบทสมัยนั้นมักรับขวัญลูกหลานด้วยเหรียญสตางค์รูผูกร้อยด้วยด้ายสายสิญจน์ที่ข้อมือเด็กเพื่อปกป้องคุ้มภัยอันตรายจากโรคภัยไข้เจ็บและถือเป็นสิริมงคลแก่บุตรหลาน การสร้างบ้านเรือนในสมัยโบราณจะมีพิธียกเสาเอก
เจ้าพิธีและเจ้าของบ้านต้องวางเหรียญสตางค์รู จำนวน ๙ เหรียญหรือมากกว่านั้น ลงก้นหลุมเสาเอกเสาโทและหลุมเสาบ้านต้นอื่นๆ เพื่อให้บ้านเรือนที่กำลังปลูกสร้างมีความมั่นคงแข็งแรง คนอาศัยอยู่เย็นเป็นสุขและมีทรัพย์สินร่ำรวย
ในพิธีกรรมยกศาลพระภูมิเจ้าที่ประจำบ้านเรือน พราหมณ์หรือเจ้าพิธีจะมีเหรียญสตางค์รู จำนวน ๙ เหรียญในขันยกครู สำหรับวางที่ก้นหลุมตั้งศาลพระภูมิ หรือในพิธีพุทธาภิเษกพระ พระเกจิอาจารย์ขมังเวทย์มักนำเหรียญสตางค์รูใส่ในบาตรน้ำมนต์ขณะทำพิธี เพื่อเพิ่มพลังพุทธคุณและความขลัง และพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป มักพบเห็นผู้เฒ่าผู้แก่ตามชนบทจะนำเหรียญสตางค์รูเท่าที่มีในบ้านมาถวายวัดเพื่อเป็นมวลโลหะศักดิ์สิทธิ์รวมกับแก้วแหวนเงินทอง หลอมรวมเท
หล่อส่วนพระเศียรพระพุทธรูป
โดยมีความเชื่อว่าจะได้บุญกุศลมหาศาลในการสร้างพระพุทธรูปตามคติความเชื่อ และสำหรับคนนิยมชมชอบหวยรวยเบอร์ จะมีความเชื่อในความศักดิสิทธิ์
และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารของเหรียญสตางค์รู สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นอย่างมาก โดยจะนำเหรียญสตางค์รูใส่ในขันทำน้ำมนต์ประกอบพิธีขอหวยหรือใช้เหรียญสตางค์รูไปขูดตามต้นไม้ใหญ่ที่ตนคิดว่ามีเทพารักษ์หรือรุกขเทวดาสถิตอยู่ เพื่อให้เห็นเลขเด็ดตามความเชื่อของแต่ละบุคคล
หรือ อีกบางกลุ่มของจอมขมังเวทย์เกจิอาจารย์และกลุ่มนักเลงหัวไม้ จะใช้เหรียญรู สวดคาถากำกับด้วยอาคาอาวุธทั้ง5 แล้วนำเหรียญถักเชือกทำเป็นสร้อยข้อมือ เชื่อว่าจะทำให้หมัดหนักและมีความแคล้วคลาดคงกระพัน หรือบางคนนำไปติดไว้ที่ไม้คมแฟก เพราะมีความเชื่อว่าจะใช้กำราบปราบผีหรือใช้ล้างอาถรรพ์ ของศัตรู
ที่มีอาคมได้เปรียญดังอาวุธกรงจักรของพระนรายณ์
ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้น มีข้อสังเกตเหรียญสตางค์รูส่วนใหญ่ใช้ในพิธีการทางมงคล และพิธีกรรมทางไสยศาสตร์บ้างในบางกรณี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้เหรียญสตางค์รูถูกฝังไว้ใต้พื้นดิน และถูกนำไปหลวมหล่อพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เหรียญส่วนหนึ่งก็ตกลงในแม่น้ำ ลำคลอง ตามท่าเรือเนื่องจากการค้าขายสินค้าทางเรือในสมัยก่อน ปัจจุบันเหรียญสตางค์รูพบเห็นน้อยมากแล้วเริ่มหายากมากแล้ว หากมีเหรียญสตางค์รูในบ้านหรือครอบครัวใด จึงควรมอบให้บุตรหลานได้เก็บรักษาไว้สืบไป
มาพูดถึงความหมายในเหรียญสตางค์รูกันบ้างครับ
ด้านหน้าเหรียญ รอบรูกลางเป็นรูปมหาอุณาโลม* ซึ่งหมายถึง
* เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นมหาบุรุษของพระพุทธเจ้า
* ความเป็นสิริมงคล: ชาวพุทธมีความเชื่อว่าอุณาโลมเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นสิริมงคล นำมาซึ่งความสุข ความเจริญ และความสำเร็จ
* ส่วนอีกความเชื่อถ้าได้นำไปปลุกเสกลงอาคมเป็นวัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง * จะเชื่อกันว่า
จะนำมาซึ่งความเมตตามหานิยม
* และแคล้วคาดคงกระพันชาตรี
ในสัญลักษณ์อุณาโลมในเหรียญสตางค์รู ก็ยังสื่อความว่า ประเทศไทยนับถือพระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ ด้านซ้ายมีอักษร คำว่า“สยามรัฐ” ด้านขวามีคำว่า “สตางค์” เบื้องล่างเป็นเลขไทยบอกชนิดราคา 1 สตางค์ 5 สตางค์ 10 สตางค์
ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปจักรทักษิณาวัตร ๘ กลีบ "ตราจักร"สื่อความหมายตราแผ่นดินประจำรัชกาลที่ ๑ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี ส่วน"ทักษิณาวัตร"สื่อความหมายการเวียนขวาเป็นมงคล ตามความเชื่อแต่โบราณเพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย และ "จักร ๘ กลีบ"สื่อความหมาย สัญลักษณ์สิ่งมงคล ๘ ประการ แห่งพุทธศานิกชน ส่วนริมขอบในรูกลางของเหรียญมีเลขบอกรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ ซึ่งเป็นปีแรกสร้าง ร.ศ.๑๒๗ หรือบางเหรียญเป็น (พ.ศ.๒๔๕๑) เหรียญชุดนี้ รัชกาลที่๕ โปรดเกล้าฯ ให้โรงกษาปณ์เมืองบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เป็นผู้ผลิต
บทสรุป: มรดกแห่งความทรงจำในยุคดิจิทัล
แม้เหรียญสตางค์รูจะเลือนหายไปจากชีวิตประจำวัน แต่คุณค่าทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณยังคงอยู่ในความทรงจำ หากคุณพบเจอเหรียญเหล่านี้ในบ้านหรือจากบรรพบุรุษ จงเก็บรักษาไว้ ไม่ใช่เพียงเพราะความหายาก แต่เพราะมันคือมรดกที่บอกเล่าเรื่องราวของอดีต สู่ปัจจุบัน และอาจเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลังเรียนรู้ความสำคัญของประวัติศาสตร์ผ่านวัตถุชิ้นเล็กๆ นี้
[รับฟังเสียงบรรยาย #อาร์ตแมวแดง ได้ที่ลิ้งค์]
โฆษณา