Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
REGENS Official
•
ติดตาม
4 ม.ค. เวลา 23:34 • ข่าวรอบโลก
ซอย ลาดพร้าว 15
ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่ารับปีใหม่ คาดนโยบายทรัมป์ยังคงหนุนเงินเฟ้อ
ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า ภาวะการเคลื่อนไหวของตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันที่ 30 ธันวาคม 2567-3 มกราคม 2568 ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันจันทร์ (30/12) ที่ระดับ 33.99/34.01 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (27/12) ที่ระดับ 34.09/11 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยในช่วงสัปดาห์ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวขึ้นลงในกรอบเดิม ทั้งนี้ ปริมาณธุรกรรมซื้อขายเป็นไปอย่างเบาบาง เนื่องจากบริษัทเอกชนหลายแห่งต่างทยอยหยุดในช่วงเทศกาลปีใหม่
อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปลายสัปดาห์หลังเปิดตลาดในช่วงปีใหม่ โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2568 เนื่องจากเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าเป้าหมายของเฟด ประกอบกับแรงกดดันเงินเฟ้อจากนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์
โดยนักวิเคราะห์มองว่า นโยบายของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทั้งการขึ้นภาษีนำเข้า การคุมเข้มการเข้าเมือง และการลดกฎเกณฑ์ควบคุมธุรกิจ น่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐให้โตขึ้น แต่ก็อาจทำให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะยิ่งหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าต่อไป แม้อาจมีความผันผวนบ้างจากการแทรกแซงของญี่ปุ่นหรือการเปลี่ยนนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB)
ประกอบกับ ข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยของสหรัฐในช่วงปลายสัปดาห์นี้ยังออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์หลายรายการ ได้แก่ ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือน พ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 79.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2566 และเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้นเพียง 0.9% หลังจากเพิ่มขึ้น 1.8% ในเดือน ต.ค. และเมื่อเทียบรายปี ดัชนีเพิ่มขึ้น 6.9% ในเดือน พ.ย.
โดยนักวิเคราะห์มองว่า นโยบายของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทั้งการขึ้นภาษีนำเข้า การคุมเข้มการเข้าเมือง และการลดกฎเกณฑ์ควบคุมธุรกิจ น่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐให้โตขึ้น แต่ก็อาจทำให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะยิ่งหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าต่อไป แม้อาจมีความผันผวนบ้างจากการแทรกแซงของญี่ปุ่นหรือการเปลี่ยนนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB)
ประกอบกับ ข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยของสหรัฐในช่วงปลายสัปดาห์นี้ยังออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์หลายรายการ ได้แก่ ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือน พ.ย.เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 79.0 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2566 และเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้นเพียง 0.9% หลังจากเพิ่มขึ้น 1.8% ในเดือน ต.ค. และเมื่อเทียบรายปี ดัชนีเพิ่มขึ้น 6.9% ในเดือน พ.ย.
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 9,000 ราย สู่ระดับ 211,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2567 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 222,000 ราย
ส่วนตัวเลขผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานอย่างต่อเนื่อง ลดลง 52,000 รายสู่ระดับ 1.84 ล้านราย และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.89 ล้านราย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสนับสนุนมุมมองที่ว่าตลาดแรงงานของสหรัฐ ยังคงแข็งแกร่ง และเพิ่มน้ำหนักของความเป็นไปได้ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมในการประชุมวันที่ 30-31 มกราคมนี้
อย่างไรก็ดีเอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 49.4 ในเดือน ธ.ค. จากระดับ 49.7 ในเดือน พ.ย. แต่สูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 48.3 ทั้งนี้ ดัชนี PMI ยังคงปรับตัวต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งขี้ภาวะหดตัวของภาคการผลิตสหรัฐ
โดยเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 อย่างไรก็ดีนักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ หลายรายการในสัปดาห์หน้า ซึ่งรวมถึงตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS), ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือน ธ.ค. จาก ADP และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปี 2568
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ธนาคารแห่งประเทสไทย (ธปท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวม เดือน ธ.ค. 67 อยู่ที่ระดับ 48.4 ลดลงเล็กน้อยจาก 49.3 ในเดือน พ.ย. 67 โดยภาพรวมดัชนี กลับมาอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้นในไตรมาสสุดท้ายหลังจากที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 66 จากการฟื้นตัวของภาคที่ไม่ใช่การผลิตเป็นสำคัญ
ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวดธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มเกี่ยวกับการท่องเที่ยว อาทิ กลุ่มโรงแรม และร้านอาหาร และกลุ่มขนส่งผู้โดยสารที่ความเชื่อมั่นปรับเพิ่มขึ้นมากตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาทิ สหภาพยุโรป และสหรัฐ ที่เพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี
ด้านนายสรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยผลการประเมินจำนวนนักท่องเที่ยว เบื้องต้นพบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-29 ธ.ค. 67 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาสะสมแล้วกว่า 35 ล้านคน สำหรับในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาแตะระดับเก้าแสนคนต่อสัปดาห์
ซึ่งถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก ทั้งนี้ในช่วงระหว่างสัปดาห์นี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 33.89-34.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดในวันศุกร์ (3/1) ที่ระดับ 34.48/49 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดวันจันทร์ (30/12) ที่ระดับ 1.0428/29 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (27/12) ที่ระดับ 1.0416/17 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร อย่างไรก็ดีค่าเงินยูโรปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องสู่ระดับ 1.0223 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร
ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2565 หรือในรอบกว่า 2 ปี โดยได้แรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในปีนี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนกำลังปรับตัวลงสู่เป้าหมายของ ECB
นอกจากนี้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยูโรโซนจาก HCOB ที่จัดทำโดยเอสแอนด์พี โกลบอล (S&P Global) ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 45.1 ในเดือน ธ.ค. ต่ำกว่าตัวเลข 45.2 ในเดือน พ.ย.เล็กน้อย และยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 มาตั้งแต่กลางปี 2565 ขณะที่ภาคการผลิตของเยอรมนีปิดท้ายปี 2567 ยังคงย่ำแย่โดยผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ลดลงอย่างรุนแรง เป็นสัญญาณชี้ชัดว่าภาคอุตสาหกรรมของประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปยังคงจมอยู่ในภาวะถดถอยต่อไปอีกระยะ
ทั้งนี้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของเยอรมนีจาก HCOB ที่จัดทำโดยเอสแอนด์พี โกลบอล (S&P Global) ร่วงลงสู่ระดับ 42.5 ในเดือน ธ.ค. จาก 43.0 ในเดือน ต.ค. และ พ.ย. สอดคล้องกับตัวเลขประมาณการเบื้องต้น โดยในช่วงระหว่างสัปดาห์นี้ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0223-1.0458 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดในวันศุกร์ (3/1) ที่ระดับ 1.0282/84 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดวันจันทร์ (30/12) ที่ระดับ 157.95/96 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (27/12) ที่ระดับ 157.82/84 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินเยนยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่า หลังจากที่ BOJ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.25% ในการประชุมเดือนธันวาคม
อย่างไรก็ดี สำนักข่าวเกียวโดเปิดเผยผลสำรวจในวันนี้ (3/1) ระบุว่าเกือบ 80% ของบริษัทขนาดใหญ่ในญี่ปุ่นคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจภายในประเทศจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2568 และยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อความคืบหน้าของการปรับขึ้นค่าจ้างและการฟื้นตัวด้านการใช้จ่ายของผู้บริโภค ทั้งนี้ในการสำรวจบริษัทญี่ปุ่นจำนวน 114 แห่งในช่วงปลายเดือน พ.ย. ถึงกลางเดือน ธ.ค. 2567
พบว่า 78% ของบริษัทที่เข้าร่วมการสำรวจคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวในระดับปานกลาง เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่พบว่ามีบริษัท 73% คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวปานกลาง
โดยเหตุผลที่มักถูกอ้างถึงมากที่สุดคือการฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภคซึ่งอยู่ที่ 88% และเหตุผลรองลงมาคือค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผู้เลือกตอบ 81% ทั้งนี้ในช่วงระหว่างสัปดาห์ค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 156.00-158.07 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดในวันศุกร์ (3/1) ที่ระดับ 157.33/34 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย