Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วินทร์ เลียววาริณ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
5 ก.พ. เวลา 05:00 • หนังสือ
จะมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อ เลิกมองความทุกข์เป็นศัตรู
ในปี ค.ศ. 1868 เมื่ออายุ 24 นักปรัชญาชาวเยอรมัน ฟรีดริค นีทเช่ ได้รับเสนอตำแหน่งศาสตราจารย์ ตอนนั้นเขาขายหนังสือไม่ได้ เพราะแนวคิดของเขาสวนทางกับขนบความคิดความเชื่อเดิม นีทเช่ประสบปัญหาครอบครัว ปัญหาเงิน ปัญหางาน
ณ จุดนั้นนีทเช่มีทางเลือกสองทาง ทางแรกคือทำงานประจำด้านวิชาการ มีรายได้ทุกเดือน มีคนนับถือ ทางหลังคือทำงานเขียนหนังสืออย่างโดดเดี่ยว เสนอความคิดที่ขายยากและไม่มีคนอ่าน
นีทเช่เลือกทางหลัง
1
หากเราเป็นนีทเช่ เราคงรีบรับตำแหน่งศาสตราจารย์ ทำงานวิชาการ เขียนหนังสือที่อ่านง่ายกว่านี้ ชีวิตจะไม่ต้องทุกข์แบบนั้น
1
แต่สำหรับนีทเช่ เขาไม่ได้มองว่ามันเป็นทุกข์ เขาเลือกที่จะโอบรับชีวิตที่เต็มไปด้วยปัญหาของเขา เขาเขียนว่า “ข้าฯเชื่อในชีวิต ร่างกาย ความคิดสร้างสรรค์ และความจริงของโลกใบที่เราอาศัยอยู่ มากกว่าที่จะเป็นชีวิตในโลกอื่นใด”
นีทเช่เขียนในหนังสือเล่มหนึ่งว่า “มีแต่ความเจ็บปวดสาหัสจึงปลดปล่อยจิตวิญญาณเป็นอิสระ ข้าฯสงสัยว่าความเจ็บปวดนั้นทำให้เราดีขึ้น แต่ข้าฯรู้ว่ามันทำให้เรารู้ลึกซึ้งมากขึ้น”
1
นีทเช่เห็นว่าเราไม่จำเป็นต้องหนีจาก ‘เรื่องไม่ดี’ แล้วแสวงหา ‘โลกที่ดี’ ความสามารถที่จะยอมรับสิ่งดีและไม่ดีในชีวิตน่าจะเป็นหนทางที่ถูกต้อง มันอาจช่วยลดทุกข์
1
นี่ตรงกับแนวคิด ‘โอบกอดทุกข์’ ของตะวันออก แต่กรีกโบราณเรียกมันว่า Amor fati แปลตรงตัวว่า รักชะตากรรม หรือรักชะตาของตนเอง
1
ไม่หนีความทุกข์ ยอมรับมันอย่างสงบ
2
Amor fati เป็นวิธีมองชีวิต โดยไม่บ่น ไม่สาปแช่งโชคชะตา ยอมรับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต เพราะมองว่าทุกอย่างเกิดขึ้นในชีวิตเรา ทั้งสุขและทุกข์ เราจึงโอบรับมันได้ ไม่ว่าสุขหรือทุกข์
2
คนไทยสมัยก่อนก็มีวิธีมองโลกคล้ายกัน มักพูดปลอบใจเมื่อเจอเรื่องร้ายว่า “ถือว่าชดใช้กรรมเก่าก็แล้วกัน”
บางคนว่า “อะไรที่เกิดขึ้นย่อมเป็นสิ่งดี”
2
แนวคิด Amor fati เห็นว่าอิสรภาพทางใจจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเรายอมรับส่วนที่เราหนีไม่พ้น เมื่อยอมรับโลกที่เป็นอยู่ ก็จะเป็นอิสระ แล้วจึงสามารถใช้ชีวิตอย่างเต็มที่
1
แม้ Amor fati บอกว่าเราควรยอมรับมัน ถึงขั้น ‘รัก’ มัน (amor แปลว่ารัก) แต่ไม่ได้สอนให้เราต้องฝืนทนกับมัน
1
‘ยอมรับมัน’ ไม่เหมือน ‘ฝืนทนกับมัน’
‘ยอมรับมัน’ คือเข้าใจมัน ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ยอมรับว่าชีวิตมิได้มีแค่ความทุกข์ มันมีความสุขด้วย สุขทุกข์มาเป็นแพ็คเกจ เหมือนกินมะระยัดไส้หมู มีทั้งส่วนขมและส่วนหวาน
1
จะเห็นว่าทั้งปรัชญาพุทธ เซน และกรีกโบราณ มองตรงกันว่า เมื่อเกิดทุกข์ อย่าวิ่งหนีความทุกข์
เมื่อทุกข์ จงโอบกอดตัวทุกข์
อย่ามองตัวทุกข์เป็นศัตรู มองมันเป็นเพื่อน
กอดหนาม แล้วหนามจะไม่ทำร้ายเรา
3
........................
จาก กอดหนาม / วินทร์ เลียววาริณ
51 บทความกำลังใจ ราคาเพียง 260 บาท = บทความละ 5 บาท (ไม่คิดค่าส่ง)
หนังสือหมดเมื่อไร จะไม่ตีพิมพ์ใหม่แล้ว
กอดหนาม เว็บ
https://www.winbookclub.com/store/detail/241/กอดหนาม
กอดหนาม Shopee
https://s.shopee.co.th/8KZjqDnhaW
โปรโมชั่นคู่ไอน์สไตน์ S11 กอดหนาม + ปฎิบัติการผ่าสมองไอน์สไตน์ + Mini Tao
https://s.shopee.co.th/9UlhEWRxAd
5 บันทึก
41
11
5
41
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย