12 มี.ค. เวลา 09:43 • ธุรกิจ

ทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือจดเป็นนิติบุคคลดี ?

ช่วงนี้เริ่มมีคน แนะนำในเรื่องการทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา ดีกว่าจดเป็นรูปแบบนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัทจำกัด) ส่วนตัวมองว่า มันอยู่ที่มูลค่าธุรกิจ แล้วมาเปรียบเทียบว่าแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน มากกว่าค่ะแล้วแบบไหนที่เรียกว่า คุ้มค่า! ล่ะ
อันดับแรก เราต้องมองตัวเองก่อนว่า ตัวเองจะทำธุรกิจอะไร เป้าหมายคืออะไร แค่ไหน สำหรับตัวเอง แนะนำว่า เมื่อเรารู้ว่าจะเริ่มทำอะไร แล้วธุรกิจที่เราจะดีลด้วยไม่ได้มีเงื่อนไขว่าเราต้องเป็นนิติบุคคล ก็เริ่มจากทำเป็นบุคคลธรรมดาก่อน ค่อยๆทำไป แต่เป็นการทำที่เสมือนเราเป็นนิติบุคคล
เช่น เริ่มจากการเก็บรวบรวมเอกสารทุกอย่าง ทำบัญชีรับจ่าย ดูว่าคู่ค้าเราต่างๆเค้ามีบิลถูกต้องมั้ย ช่วงแรกๆ ยอดยังไม่เยอะ ดูเรื่องเอกสารถูกต้องแค่ไหน เคสบิลไม่ถูกจะแก้อย่างไร หาคู่ค้าที่มีบิล หรือ ทำบิลที่สรรพากรยอมรับแนบด้วย (เอกสารไม่ถูกต้อง เช่น บิลเงินสดธรรมดา หรือแค่เศษกระดาษที่จดยอด) บิลที่สรรพากรยอมรับคือ บิลที่พิสูจน์ผู้รับเงิดได้ มีชื่อที่อยู่ร้านค้า หรือสลิปหลักฐานการโอนเงินประกอบ
เวลายื่นแบบภาษี ก็ยื่นแบบบุคคลธรรมดา โดยเปรียบเทียบยอดเหมาจ่าย (ปจบ เหมาจ่ายคชจ ที่ 60%) กับใช้ คชจ จริง (ซึ่งต้องมีบิลประกอบถูกต้องครบถ้วน) ซึ่งแน่ละ ถ้าบิลถูกและครบ ยื่นแบบคชจ จริงประหยัดกว่าเยอะ แต่ส่วนใหญ่คนไม่ค่อยเก็บบิล ใช้วิธีเหมาจ่าย ก็จะบ่นว่าหัก คชจ ให้น้อยเกินไป ซึ่งเจตนาจริงๆของสรรพากรที่เปลี่ยนอัตราเหมาจ่ายจากเดิม 70% เหลือ 60% ก็เพื่อบีบให้บุคคลที่ยอดรายได้เยอะๆ มาจดเป็นนิติบุคคล โดนเอาอัตราภาษี ที่ต่ำกว่ามาหลอกล่อนั่นแหละ ค่ะ
โดยบอกไม่หมดว่า เป็นนิติ จะมีอะไรที่ยุ่งยากเพิ่มเติมอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
- คชจ ในการจดนิติบุคคล ก็มีทั้งแบบเป็นห้างหุ้นส่วน และแบบ เป็น บริษัท จำกัด อันนี้ก็จะมีความแตกต่างนิดหน่อย ขออนุญาตข้ามไปก่อนนะคะ เพราะประโยชน์ทางภาษีไม่ต่างกัน ค่าจดทะเบียนไม่เท่ากัน
- การเป็นนิติบุคคล ต้องมีผู้ทำบัญชี ที่ต้องขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แน่ละ ถ้าเราเจ้าของไม่จบและไม่ขึ้นทะเบียนเองก็ต้องจ้างค่ะ ปริญญาตรีบ/ช และจบในสถาบันที่สภารับรองหลักสูตรด้วย
- การเป็นนิติบุคคล ต้องมีผู้สอบบัญชีเซ็นรับรองงบการเงินประจำปี ที่ต้องทำยื่นส่งต่อ กรมสรรพากร และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทุกปี ค่ะ และมีคชจ ด้วย ซึ่งนั่นแหละ ถ้าผู้ปนะกอบการไม่ได้อยู่ในวงการบัญชี จะไปรู้จักผู้สอบได้งัย ที่เป็นผู้สอบที่ขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีจริงๆ ปจบ ยังมีผู้สอบบัญชีทิพย์ ในระบบอยู่เรื่อยๆค่ะ
- การเป็นนิติบุคคล จะต้องบันทึกบัญชีประจำวัน บัญชีแยกประเภท ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป การใช้บิลคชจ ก็ต้องเก็บบิลให้ถูกต้องครบถ้วน การจัดทำบัญชีคุมสินค้า (stock) เพื่อให้ผู้สอบบัญชี , สรรพากร และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตรวจสอบ ซึ่งแน่ละ ธุรกิจส่วนใหญ่โดยเฉพาะ sme ไม่มีจนท บัญชี ที่มีความรู้เรื่องบัญชีภาษีอากร และบันทึกบัญชีได้ขนาดนั้น ก็ต้องจ้างสำนักงานบัญชี ก็ต้องมีคชจ ตรงนี้ทุกเดือน
- การเป็นนิติบุคคล ไม่ใช่มีแค่ภาษีครึ่งปี (ภงด.51) หรือภาษีปลายปี (ภงด.50) เท่านั้น พวกท่านยังต้องมีหน้าที่ยื่นแบบภาษี ณ ที่จ่าย (ตาม ม.3 เตรส) ด้วย ซึ่งแต่ละการหัก อัตราก็แตกต่างกัน ยื่นไม่ทัน ยื่นไม่ครบ ก็มีเงินเพิ่มเบี้ยปรับไปอีก ปวดหัวมั้ยละนั่น!
**ทั้งหมดที่กล่าวมาคือข้อแตกต่างที่เมื่อจดนิติบุคคลแล้วต้องทำต้องเจอ แต่ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา (แบบเหมา) ไม่ต้องทำ
แต่การเป็นนิติบุคคล เมื่อประกอบกิจการขาดทุนสามารถนำขาดทุนในแต่ละปี (ไม่เกิน 5 ปี) สะสม มาหักในปีที่มีกำไร ไม่ต้องเสียภาษีได้ ในขณะที่บุคคลธรรมดาไม่ได้ เช่น 3 ปีแรกขาดทุนปีละ 1 แสน 3 ปี ก็ขาดทุนสะสม 3 แสน ปีที่ 4 มีกำไร 7 แสน ก็เอาขาดทุนสะสม 3 แสนมาหักออก เหลือกำไรเพื่อคำนวณภาษี 4 แสน และถ้าเป็น sme ยกเว้นภาษี 3 แสนแรกอีก เหลือกำไรคำนวณแค่ 1 แสนบาท อันนี้ก็เริ่ดอยู่นะคะ ^^
และนี่คือแค่คร่าวๆ หยาบๆ ที่ต้องเจอแน่ๆ สำหรับการจดเป็นนิติบุคคล เพื่อเสียภาษีน้อยๆ แบบที่สรรพากรประชาสัมพันธ์นะคะ แต่ถ้ารู้แบบนี้แล้วพร้อม ต้องจดแหละ ต้องเป็นบริษัท ลุยเลยค่ะ
โฆษณา