25 ก.พ. เวลา 00:48 • ข่าวรอบโลก

เมื่อคนเกียวโตไม่พูดอ้อมค้อมอีกต่อไป

ไวรัลจากญี่ปุ่น : เมื่อคนเกียวโตที่ถูกพูดถึงว่าเป็นคนที่พูดอ้อมค้อมที่สุดในญี่ปุ่น ปรับนิสัยกลายเป็นคนที่พูดตรงกับเขาสักที
2
เหตุทนไม่ไหวหัวจะปวดกับลูกค้าชาวจีน
5
..
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับร้านอาหารร้านหนึ่ง
ที่ตั้งอยู่ในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
ที่มาที่ไปของเรื่องราวนี้เริ่มจาก เมื่อช่วงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โซเชียลญี่ปุ่นได้แชร์รูปภาพ ๆ หนึ่งจนกลายเป็นไวรัลที่มียอดรับชมกว่า 10 ล้านครั้ง
รูปภาพที่ว่าคือป้ายร้านอาหารที่มีชื่อว่า 吉鳥 ซึ่งเป็นร้านที่เน้นขายยากิโทริเป็นหลัก ติดป้ายหน้าร้านเป็นภาษาจีนตัวโตชัดเจนว่า
"คนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ ห้ามเข้า ไสหัวไป"
2
หรือก็คือร้านต้องการเจาะจงไปยังชาวจีนที่คิดจะมาใช้บริการว่า ถ้าเข้ามาแล้วทำตัววุ่นวาย ไม่ปฏิบัติตามกฎ ก็ไสหัวไปจากที่นี่ซะ อะไรทำนองนั้น
1
ป้ายนี้กลายเป็นจุดสนใจของชาวเน็ตญี่ปุ่นทันที
หนึ่งในเหตุผลที่ชาวเน็ตมากมายให้ความสนใจเพราะ "ป้ายนี้ถูกติดโดยชาวเกียวโต" ที่ปกติขึ้นชื่อเรื่องการพูดอ้อมค้อม มีอะไรไม่ยอมพูดกันตรง ๆ มักชักแม่น้ำทั้งห้ามาพูดเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจในสิ่งที่ตนต้องการสื่อ
1
ตัวอย่างเช่น
  • คนเกียวโต : นาฬิกาสวยนะคะ
  • คนทั่วไปคิด : เขาต้องชมนาฬิกาเราแน่ ๆ
  • ความหมาย : พูดนานเกินไปแล้ว ให้ดูเวลาบ้างนะ
12
- - -
  • คนเกียวโต : จะรับโอะชาสึเกะ (ข้าวราดน้ำชาแบบญี่ปุ่น) ซักถ้วยไหมคะ ?
  • คนทั่วไปคิด : เจ้าของบ้านมีน้ำใจจัง
  • ความหมาย : แขกคนนี้อยู่นานไปแล้ว ควรจะถึงเวลากลับได้สักที
9
นอกจากจะเป็นไวรัลในกลุ่มชาวเน็ตญี่ปุ่นแล้ว
ป้ายนี้ยังเป็นไวรัลในกลุ่มชาวเน็ตจีนเช่นกัน
ชาวเน็ตจีนส่วนใหญ่ที่เห็นว่าร้านติดป้ายแบบนี้เป็นภาษาจีนเกิดความไม่พอใจชัดเจน
2
มีชาวจีนที่อาศัยหรือมาท่องเที่ยวในเกียวโตจำนวนไม่น้อย พากันมาถ่ายคลิป ถ่ายรูปกับป้ายนี้ของร้าน พร้อมกับให้คะแนนรีวิว 1 ดาว
2
ก่อนจะนำไปโพสต์ลงโซเชียลของตนเอง และกล่าวถึงทำนองว่า ดูสิ่งที่ร้านยากิโทริในญี่ปุ่นร้านนี้ทำสิ พวกเราควรสนับสนุนอยู่หรือไม่ ในเมื่อเขาดูไม่พอใจชาวจีนเอามาก ๆ
ถึงแม้ตอนนี้เจ้าของร้านจะไม่ออกมาตอบโต้กระแสดราม่านี้ แต่ชาวเน็ตญี่ปุ่นหลายคนต่างพากันให้การสนับสนุนร้าน โดยการประชาสัมพันธ์ให้คนไปใช้บริการเยอะ ๆ
4
พร้อมกับระบุชัดเจนว่า หากไม่คิดจะทำผิดกฎของร้าน ก็ไม่เห็นต้องกลัวอะไร
2
ส่วนใครคิดเห็นอย่างไรก็มาแชร์กันในคอมเมนท์นะ
อ้างอิง
โฆษณา