27 ก.พ. เวลา 12:37 • ปรัชญา

“พระไตรปิฏกคืออะไร..“

คำสอนของพระพุทธเจ้า.. ท่านจะเรียกว่า.. พระธรรมวินัย.. เพราะมีทั้งที่เป็นกฎของพระภิกษุและคำสอนที่เป็นหลักธรรม..
ในยุคพุทธกาล.. เหล่าพระภิกษุจะช่วยกันสวด ท่องจำ เพื่อนำมาสอนตนเองโดยการพิจารณาปฏิบัติและสอนคนอื่น..
หลังปรินิพพานใหม่ๆ.. พระอรหันต์เถระ เช่น พระมหากัสสปะ พระอานนท์ พระอุปาลี.. ช่วยกันทบทวนสวดท่องพระธรรมวินัยว่าถูกต้องตรงกัน.. เรียกว่า สังคายนาครั้งแรก..
แล้วช่วยกันท่องจำต่อไป.. โดยแบ่งกันจำตามความชำนาญ เช่น พระอานนท์และลูกศิษย์ ช่วยกันท่องจำพระธรรมคำสอน.. พระอุปาลีและลูกศิษย์ช่วยกันท่องจำพระวินัย..
จนหลังจากนั้นราว 100 ปี (พ.ศ. 100).. พระภิกษุจำนวนมาก ไม่เคร่งครัดในพระวินัย.. ต้องการปรับแก้ให้ผ่อนปรนลง เช่น ให้พระรับเงินทองได้..
พระภิกษุส่วนใหญ่นั้น จึงรวมตัวกันทำสังคายนาสวดท่องพระวินัยกันใหม่ ให้ลดทอนความเข้มข้นของพระวินัยลง..
นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการแยกออกมาเป็นนิกายมหายาน.. และเฟื่องฟูราว 1,000 -2,000 ปีต่อมา.. จนขยายเข้ามาสุวรรณภูมิ.. ทิเบต.. จีน..
การทำสังคายนาในหมู่พระภิกษุจำนวนมากนั้น.. ทำให้กลุ่มพระอรหันต์ ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า.. รวมตัวกันทบทวน สวดท่องพระวินัยที่ถูกต้อง เพื่อรักษาพระธรรมวินัยดั้งเดิมที่ถูกต้องไว้.. เรียกว่า ทำสังคายนาครั้งที่ 2..
หลังจากนั้นราว พ.ศ. 200.. ในยุคพระเจ้าอโศกมหาราชที่หันมานับถือศาสนาพุทธ.. มีพระภิกษุที่เข้าใจพระธรรมคลาดเคลื่อน และสวดท่องจำแบบผิดๆ.. ปฏิบัติผิด.. สอนผิด รวมทั้ง พระปลอมบวชมากมาย..
ทำให้มีการรวมตัวกันสวดท่องพระธรรมวินัยที่ถูกต้อง ดั้งเดิม.. และถกเถียงแก้ความคิดเห็นที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง..
เช่น เข้าใจว่าพระอรหันต์ยังต้องมาเกิดใหม่ได้..
การสังคายนาครั้งนี้.. เมื่อสวดท่องทบทวนพระธรรมวินัยให้ถูกต้องตรงกันแล้ว.. เป็นครั้งที่มีการจัดหมวดหมู่พระธรรมวินัยเป็นครั้งแรก..
โดยสวดท่องจำ ส่วนของพระวินัยแยกออกมาจากพระธรรมวินัย.. เรียกว่า พระวินัย..
สวดท่องจำ ส่วนที่เป็นพระธรรมคำสอนแยกออกมาจากพระธรรมวินัย.. เรียกว่า พระสูตร..
แล้วสวดท่อง คำอธิบายพระธรรมวินัย ออกมาเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก.. เรียกว่า พระอภิธรรม..
พระอภิธรรมนี้ นักศึกษาปริยัติเชื่อว่า มีมาแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว..
แต่นักวิชาการต่างประเทศ ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นส่วนที่แต่งขึ้นมาใหม่ในการทำสังคายนาครั้งที่ 3 นี้ เพราะเป็นภาษาเขียนแบบตำรา ไม่อ้างอิงบุคคล เหตุการณ์ สถานที่เหมือนในพระวินัยกับพระสูตร..
อันนี้ก็แล้วแต่วิจารณญาณของผู้อ่าน..
รวม 3 ส่วน คือพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมนี้.. เรียกว่า.. พระไตรปิฏก..
และเพิ่มเติมเรื่องราว หลังปรินิพพาน และบางเหตุการณ์ ลงในพระไตรปิฏกไว้เป็นหลักฐานด้วย..
เช่น สาเหตุที่มีการทำสังคายนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชนี้ และคำถกเถียงถามตอบแก้ความคิดเห็นผิดของพระภิกษุ..
เรียกว่า ทำสังคายนาครั้งที่ 3.. และเป็นครั้งสุดท้ายในประเทศอินเดีย..
คำสอนเดิมในสมัยพุทธกาล จะเรียกว่า.. “พระธรรมวินัย”.. รวมคำสอนของพระพุทธเจ้า.. ของพระสารีบุตร.. พระอรหันต์บางรูป.. ฯลฯ บางส่วนพระพุทธเจ้าก็ชื่นชม และรับรองว่าถูกต้อง..
ส่วนคำว่า.. “พระไตรปิฏก” นี้ จึงเพิ่งเกิดขึ้นหลังพุทธกาลราว 200 ปีในการทำสังคายนาครั้งที่ 3 นี้เอง.. แต่ยังใช้วิธีการสวดท่องจำ สืบทอดคำสอนต่อๆกันมา ไม่มีทำบันทึก..
หลังจากนั้นราว พ.ศ. 400.. ศาสนาพุทธเข้ามายังประเทศศรีลังกา.. มีการทำสังคายนาโดยการสวดท่องจำพระไตรปิฏก.. และต่อมา มีการจารบันทึกพระไตรปิฏกลงในใบลานครั้งแรกในโลก..
ในประเทศพม่า ก็มีการสังคายนาหลายครั้ง.. ปัจจุบัน มีพระพม่าจำนวนหนึ่งที่สามารถท่องจำ สวดพระไตรปิฏกทั้งหมดได้ด้วยปากเปล่า.. (ประเทศไทยยังไม่พบว่ามี)..
ในประเทศจีน ก็มีการสังคายนานิกายมหายาน รวมทั้งเขียนแต่งคัมภีร์คำสอนพุทธเพิ่มเติมขึ้นใหม่ตลอดเวลา..
แต่จีนจะยึดเอาภาษาสันสกฤต ที่เกิดหลังภาษาบาลี เป็นต้นแบบ..
ในประเทศไทย พบหลักฐานการทำสังคายนาครั้งแรกราว พ.ศ. 2,000 ที่จังหวัดเชียงใหม่..
สังคายนาครั้งที่ 2..ราว พ.ศ. 2,300.. เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1.. โดยรวบรวมพระไตรปิฏกลาว และพระไตรปิฏกมอญ.. จารลงใบลานด้วยตัวหนังสือขอม..
สังคายนาคร้้งที่ 3 เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5.. มีการรวบรวมพระไตรปิฏกจากหลายประเทศ..
และมีการจัดพิมพ์พระไตรปิฏกฉบับภาษาไทย เป็นครั้งแรกของโลก..
ย้อนหลังไปในอินเดียและศรีลังกา.. ราว พ.ศ. 1,000.. มีพระเถระที่มีชื่อเสียงที่เชี่ยวชาญบาลีพระไตรปิฏก.. ชื่อพระพุทธโฆษาจารย์..
ท่านแต่งคัมภีร์พุทธมากมาย เป็นคำอธิบายคำศัพท์บาลี และอธิบายเนื้อหาในพระสูตร และพระวินัยในพระไตรปิฏก ในรายละเอียดให้เข้าใจมากขึ้น.. เรียกว่า อรรถคาถา..
เช่น รัตนสูตร.. ในพระสูตรจะกล่าวแต่ถ้อยคำเนื้อหา โดยไม่มีที่มาที่ไป..
ในคัมภีร์อรรถคาถา ก็จะอธิบายที่มาที่ไปว่า.. เพราะเกิดโรคและภัยขึ้นในเมืองเวสาลี.. จนพระพุทธเจ้าสอนบทสวดรัตนสูตร มอบหมายพระอานนท์ไปแก้ปัญหา..
เช่น บทสวดอ้างอำนาจสัจจะ และพระรัตนตรัยเพื่อป้องกันภัย ที่เรียกว่า พระปริตรนั้น..
ในรัตนสูตร จึงถือว่าเป็นบทพระปริตรซึ่งจะมีแต่เนื้อหาให้ท่องเท่านั้น..
แต่คัมภีร์อรรถคาถา จะอธิบายเพิ่มเติมว่า.. พระภิกษุท่องพระปริตร เพื่อทำน้ำมนต์.. ทำด้ายเสก.. ทำทรายเสกได้ด้วย..
แต่นักปริยัติหลายท่าน ก็ยืนยันว่า.. อรรถคาถา มีมาแต่คร้้งพุทธกาล ท่องจำกันปากต่อปากแล้ว..
อันนี้ก็แล้วแต่วิจารณญาณของผู้อ่าน..
คัมภีร์ที่สร้างชื่อให้พระพุทธโฆษาเป็นอย่างมากเล่มหนึ่ง.. คือ คัมภีร์วิสุทธิมรรค.. จะมีเนื้อหาแจกแจงถ้อยคำในพระสูตร.. มีรายละเอียดในการฝึกกรรมฐาน กสิน 10 .. การแสดงฤทธิ์เป็นต้น..
นอกจากอรรถคาถาแล้ว.. พระเถระหรือผู้เชี่ยวชาญบาลีในยุคต่อๆมา ก็อาจแต่งคำอธิบายอรรถคาถาอีกต่อหนึ่ง.. เรียกว่า.. ฎีกา..
ถัดจากฎีกา.. ก็อาจจะมีคัมภีร์แต่งใหม่ เช่น ไตรภูมิพระร่วง โลกทีปนี จักรวาฬทีปนี เป็นต้น..
แม้บทสวด ก็มีการแต่งใหม่มากมาย.. เช่น บทชินบัญชร.. บทพาหุง.. คาถามหาจักพรรดิ์.. และคาถาต่างๆอีกมาก..
ความน่าเชื่อถือ จะเป็นอย่างไร.. ก็แล้วแต่วิจารณญาณของผู้อ่าน..
ผู้เขียนเห็นและเชื่อว่า.. ถ้าเป็นพยานหลักฐานในแง่กฎหมายแล้วละก็.. เฉพาะส่วนของพระธรรมวินัย (คือ พระวินัย กับพระสูตร) ในพระไตรปิฏกนี้เท่านั้น..
ที่ถือว่า เป็นหลักฐานชั้นต้น.. ที่น่าเชื่อถือว่าถูกต้อง ตรงกับพระธรรมวินัย และการสังคายนาครั้งแรกมากที่สุด.. (Best Evidence)..
ส่วนอรรถคาถา ฎีกา และคัมภีร์อื่นๆ.. เป็นพยานชั้นรอง.. มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า ตามลำดับ เทียบได้กับพยานบอกเล่า หรือพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณี..
ผู้เขียน จึงยึดบทสวด และแนวพระปริตร และคาถาตามแบบที่ยืนยันไว้ในพระไตรปิฏก (พระสูตร พระวินัย) เท่านั้น..
ส่วนอรรถคาถา ฎีกา คัมภีร์.. อ่านเสริมความรู้ได้.. แต่ต้องไม่ขัดต่อพระวินัยและพระสูตรในพระไตรปิฏก..
ถ้าขัดแย้งกัน ต้องยึดเอาพระธรรมวินัยเป็นหลัก.. ตามที่พระพุทธเจ้าเคยสอนไว้แล้ว..
เช่น อรรถคาถาว่า ให้เสกพระปริตรใส่น้ำ ทำน้ำมนต์.. ใส่ด้าย.. ใส่ทรายนั้น.. ถ้าขัดต่อหลักไม่เชื่องมงาย ทำให้คนยึดเป็นของขลัง ดลบันดาลได้ เป็นเรื่องนอกหลักธรรมคำสอนแล้ว ก็ไม่ควรทำ..
บทสวดคาถาต่างๆ ก็ยึดแบบดั้งเดิม.. ไม่เน้นที่แต่งใหม่..
หวังว่า โพสต์นี้ จะเป็นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระไตรปิฏกให้ผู้สนใจได้บ้าง..
ในส่วนความเห็นของผู้เขียนนั้น.. ก็ขอท่านผู้อ่านทั้งหลาย โปรดใช้ปัญญา ให้พิจารณาก่อนเชื่อ..
พิจารณาแล้ว เห็นว่าเชื่อได้ เป็นประโยชน์.. ก็สาธุ.. เชื่อไปเถิด..
พิจารณาแล้ว เห็นว่าเชื่อไม่ได้ ไม่เป็นประโยชน์.. ก็ปล่อยวางเสีย..
อันนี้ ก็แล้วแต่วิจารณญาณของผู้อ่านอีกเช่นกัน..
โฆษณา