8 มี.ค. เวลา 10:48 • การเมือง

ถึงเวลาที่ยุโรปต้องสร้าง “กำแพงเบอร์ลิน 2” โดยใช้ “แม่น้ำดนีโปร” ในยูเครน

แรงบันดาลใจของยุโรปจากอดีตสู่ปัจจุบัน
3
จากมุมมองทางภูมิรัฐศาสตร์ ในตอนแรกเบอร์ลินตะวันตกไม่มีความสำคัญมากนัก แต่หลังจากที่ฝ่ายตะวันตกเปิดการขนส่งทางอากาศที่นั่นในปี 1948–49 เมืองนี้จึงกลายเป็น “สัญลักษณ์ของเสรีภาพและประชาธิปไตย ตลอดจนเป็นเสี้ยนหนามด้านหนึ่งของโซเวียตในยุโรปตะวันออก” ราฟาเอล ลอส จากสภายุโรปว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ECFR) ได้เขียนไว้ในบทความเผยแพร่เมื่อ 6 มีนาคม 2025
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เบอร์ลินซึ่งเป็นเมืองใจกลางของเยอรมนีฝั่งตะวันออกโดยมีโซเวียตเข้ามามีอิทธิพลเหนือในส่วนนี้ คานอำนาจกับกลุ่มโลกตะวันตก (อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส) ที่เข้ามามีอิทธิพลในฝั่งเยอรมนีตะวันตก โดยในเฉพาะเบอร์ลินเองก็ได้มีการสร้าง “กำแพงเบอร์ลิน” มากั้นผ่ากลางเมืองเพื่อแยกเป็นสองฝั่ง ตะวันออก-ตะวันตก โดยฝั่งตะวันตกได้รับอิทธิพลปกครองจากสามชาติที่กล่าวไปข้างต้น และฝั่งตะวันออกเป็นของโซเวียต ดูจากแผนที่ด้านล่างจะเข้าใจมากขึ้น
กำแพงนี้จึงเป็นเหมือนสัญลักษณ์การคานอำนาจระหว่างโลกตะวันตกกับโซเวียต เมื่อกำแพงนี้ถูกพังทลายลงก็เหมือนเป็นการสิ้นสุดของยุคสงครามเย็นด้วยเช่นกัน
เครดิตภาพ: r/geography
“ลอส” ผู้เขียนบทความต้นเรื่องมองว่าประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเบอร์ลินนี้ เป็นทั้งอนาคตอันสดใสของยูเครนและเป็นเครื่องรับประกันความสำเร็จของยุโรปที่ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันในการเผชิญหน้ากับรัสเซีย (โซเวียตในยุคนั้น)
ปฏิบัติการไลฟ์โอ๊ค (Live Oak Operation) ซึ่งเป็นชื่อเรียกการลำเลียงทางอากาศของฝ่ายโลกตะวันตกในเอกสารทางการทหารนั้น ได้ดำเนินการภายใต้รัฐมหาอำนาจสามฝ่ายซึ่งอยู่นอกโครงสร้างของนาโตที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นได้ไม่นาน ในทำนองเดียวกันการมีกองทหารของยุโรปในยูเครนควรได้รับการจัดระเบียบเป็นรอบๆ โดยมีกองบัญชาการเดียวภายนอกโครงสร้างของนาโต ซึ่งต้องมีฉันทามติจากสมาชิก 32 ประเทศเสมอถึงจะขยับอะไรได้ (พยายามบายพาสเรื่องฉันทามติ) ลอสเชื่อเช่นนั้น
ผู้เขียนเห็นความเป็นไปได้มากสุดที่ผู้นำปฏิบัติการนี้ในยูเครนจะเป็น “อังกฤษ” ในการจัดตั้งศูนย์บัญชาการหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลเรือเอก Keith Blount รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งยุโรป (DSACEUR) อาจได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำปฏิบัติการนี้ ในขณะที่กองกำลังตอบโต้เร็วของนาโตที่นำโดยอังกฤษอาจ “จัดหาโครงสร้างพื้นฐานและการสื่อสาร” จากนั้นลอสก็เชื่ออย่างมองโลกในแง่ดีว่า “อาจพบทางออกที่ถาวรกว่าได้ นั่นคือ กองทัพยุโรปประจำการบนฝั่งขวาของแม่น้ำดนีโปรในยูเครน”
3
เครดิตภาพ: FactSpark
ภารกิจหลักของศูนย์บัญชาการในปฏิบัติการที่ดนีโปรในยูเครนควรเป็นการวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องว่า รัสเซียสามารถแทรกแซงภารกิจได้อย่างไร และพัฒนาวิธีตอบโต้ที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น ปฏิบัติการ Live Oak ได้กำหนดให้สหภาพโซเวียตต้องเจอข้อจำกัดในการขนส่งทางทะเล
2
“หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ เราอาจประสบกับวิกฤตที่ทวีความรุนแรงขึ้นและเราจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ของยุโรปและยูเครน การตอบโต้ต่อปฏิบัติการของรัสเซียในยูเครนจะช่วยเพิ่มแรงกดดันต่อมอสโกได้ ในขณะที่หลีกเลี่ยงการเพิ่มความเสี่ยงให้กับกองกำลังยุโรปในยูเครนต่อไป” ลอสเชื่อเช่นนั้น
1
  • เอาเป็นว่าสรุปง่ายๆ แผนคือ ยุโรปตั้งศูนย์บัญชาการใหญ่ประกอบด้วยกองกำลังของตนเองนอกโครงสร้างบริหารของนาโต ภายใต้การบังคับบัญชาของอังกฤษ แล้วส่งกองกำลังเหล่านี้ไปยังยูเครน และไม่ต้องไปกลัวที่จะก่อวิกฤตกับรัสเซียนอกยูเครน เพื่อที่รัสเซียจะได้หันเหความสนใจจากพวกเขา เป็นผลให้กองกำลังยุโรปเข้าตรึงกำลังริมแม่น้ำดนีโปรนานเท่าที่ต้องการ กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านรัสเซียจากฝ่ายยุโรปตะวันตกเหมือนครั้งกำแพงเบอร์ลิน
1
แผนนี้ดูน่าสนใจ แต่ความเป็นจริงมันมีประเด็นถกเถียงเช่น
  • ในปฏิบัติการ Live Oak ภาระหลักตกเป็นของสหรัฐในตอนนั้น และยุโรปรองลงมา แต่มาในยุคปัจจุบันดูเหมือนว่าสหรัฐภายใต้ทรัมป์จะไม่อยากเข้ามาเล่นด้วย และหาทางเบนเข็มไปฝั่งรัสเซีย
  • เพื่อที่จะถูกมองว่ายูเครนคือ “เบอร์ลินตะวันตก” นั่นหมายความว่าเคียฟต้องยอมจำนนเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำดนีโปรให้กับรัสเซียทั้งหมด? และในสถานการณ์เช่นนี้ จะไม่ใช่ยุโรปอีกต่อไป แต่เป็นรัสเซียที่จะเป็นผู้กำหนดเส้นแบ่งเขตแดนฝั่งตะวันออกกับตะวันตก
1
  • คนวาดฝันแผนนี้สำหรับยุโรป คิดหรือว่ารัสเซียจะยอมทำตามแผนดังกล่าวของพวกเขา และอังกฤษจะไหวหรือไม่ที่จะเป็นผู้นำปฏิบัติการดังกล่าวแบบยาวๆ เมื่อเทียบกับในอดีต ตอนนี้อังกฤษเองทางฝั่งการเมืองก็ไม่สู้ดี เศรษฐกิจในประเทศก็ไม่สู้ดี
1
บทความต้นเรื่องอ้างอิงได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
8th Mar 2025
<เครดิตภาพปก: The New York Times>
โฆษณา