9 มี.ค. เวลา 03:38 • ประวัติศาสตร์

เจ้าหญิงที่ไม่โอกาสได้เป็นพระราชินี

“ผู้อ่านที่รักทั้งหลาย ช่วงเวลาหนาวเหน็บที่สุดของปีนี้ต้องหนาวเหน็บขึ้นอีกเท่าตัว เนื่องด้วยข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระราชกุมารี พระราชนัดดาในพระเจ้าจอร์จที่ 3 และสมเด็จพระราชินีชาร์ล็อต สิ้นพระชนม์ระหว่างมีพระประสูติกาลพร้อมพระทายาท... ในขณะที่ใจเราเศร้าโศกจากการสูญเสียพระราชกุมารี สมองเราเศร้ากว่ากับอนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์”
ข้อความนี้ได้ถูกพูดขึ้นใน EP.1 ของซีรีส์ Queen Charlotte: A Bridgerton Story โดยเลดี้วิสเซิลดาวน์ กล่าวถึงวิกฤตเมื่อเจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งเวลส์ – หลานย่าเพียงคนเดียวของพระราชินีชาร์ล็อตสิ้นพระชนม์ ซึ่งทำให้สถานะของสถาบันกษัตริย์ไม่มั่นคง
เนื่องจากบรรดาลูกๆของราชินีชาร์ล็อตที่มีทั้งหมด 15 องค์ ไม่มีใครที่มีลูกในสมรสตามกฎหมายเลยแม้แต่คนเดียว ด้วยเหตุว่าพระโอรสก็มีสนมจนนับไม่ไหวและพระธิดาก็แก่เกินจะตั้งครรถ์ พูดได้ว่าเจ้าหญิงชาร์ล็อตเป็นโอกาสรอดทางเดียวที่จะทำให้ราชวงศ์ยังคงดำรงอยู่ต่อไปได้ ผู้เขียนจึงจะขอเชิญทุกท่านย้อนกลับไปดูว่า เจ้าหญิงแห่งยุครีเจนซีองค์นี้มีความน่าสนใจอย่างไร
เจ้าหญิงชาร์ล็อต ออกัสตาแห่งเวลส์ เป็นพระธิดาเพียงองค์เดียวในเจ้าชายจอร์จ เจ้าชายแห่งเวลส์ (พระเจ้าจอร์จที่ 4) กับเจ้าหญิงคาโรไลน์แห่งบรันสวิค (ราชินีคาโรไลน์) ประสูติเมื่อปี 1796 สร้างความปลื้มปิติให้แก่ราชวงศ์เป็นอย่างมาก เพราะทรงเป็นรัชทายาทชั้นหลานคนแรกและคนเดียวในเวลานั้น
เมื่อเจ้าหญิงลืมตาดูโลก ชีวิตของเธอก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบดอกไม้ ความสัมพันธ์ของบิดาและมารดาที่ไม่ได้ชอบพอกันตั้งแต่ก่อนวันอภิเษกสมรส และแยกกันใช้ชีวิตเป็นของตัวเอง โดยทั้ง 2 พระองค์เคยร่วมพระที่กันเพียงแค่ 3ครั้งเท่านั้น จึงทำให้เจ้าหญิงชาร์ล็อต เมื่อเกิดมาแล้วก็โดนแยกออกจากเจ้าหญิงคาโรไลน์ตามคำสั่งของเจ้าชายจอร์จ แล้วให้เจ้าหญิงชาร์ล็อตไปอยู่ในการดูแลของพระพี่เลี้ยง และมีการอนุญาตให้คาโรไลน์พบลูกเพียงเวลาสั้นๆเท่านั้นในแต่ละวัน
อย่างไรก็ตามแต่พระพี่เลี้ยงของชาร์ล็อตก็ไม่ได้ใจร้ายใจดำ เธอปล่อยให้คาโรไลน์และชาร์ล็อตได้อยู่ด้วยกันตามลำพัง บ่อยครั้ง 2แม่ลูกก็พากันนั่งรถม้าเข้าไปในเมือง ประชาชนที่ได้เห็นก็ต่างโห่ร้องแสดงความยินดีให้กับเจ้าหญิงตัวน้อย ถามว่าเจ้าชายจอร์จรู้เรื่องนี้ไหม? ขอบอกเลยว่าพระองค์ไม่สนใจด้วยซ้ำ พระองค์ชอบอยู่แต่กับสนมจนไม่ได้สนใจเลยว่าลูกกับภรรยาจะใช้ชีวิตอย่างไรในแต่ละวัน
แม้ได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่ค่อยอบอุ่นจากครอบครัวซักเท่าไหร่ แต่เจ้าหญิงน้อยของเราก็เติบโตขึ้นมาด้วยสุขภาพที่ดี แข็งแรง ร่าเริง สดใส และมีหัวใจที่เมตตา เทีย โฮล์ม – ผู้เขียนประวัติของพระนางได้เขียนไว้ในหนังสือ Prinny's daughter : a life of Princess Charlotte of Wales ว่า "ความประทับใจอย่างหนึ่งที่ต้องบันทึกไว้เป็นเรื่องแรก ๆ ของเจ้าหญิงชาร์ลอตต์ คือ การที่ทรงมีความสุขอย่างไร้การเสแสร้ง และทรงมีพระทัยที่อ่อนโยน"
เมื่อเจ้าหญิงอายุครบ 9ปี พระเจ้าจอร์จที่ 3 - พระอัยกาได้ทรงจัดการการศึกษาของหลาน โดยพระองค์ได้ส่งบิชอปแห่งซอลส์เบอรีไปสอนพิเศษให้กับเธอ ทรงหวังว่าการศึกษาศาสนาคริสต์นิกายแองกลิคันจะทำให้พระองค์ทรงเป็นราชินีที่ครองแผ่นดินโดยธรรมและน่าเคารพนับถือ แต่เจ้าหญิงก็ไม่ค่อยสนใจและเรียนรุ้เพราะสิ่งที่อยากเรียนเท่านั้น นั้นก็คือดนตรี ทรงเป็นนักเปียโนที่เล่นได้ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว
ต่อมาในปี 1811 พระราชบิดาของเธอได้ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เนื่องจากเมื่อปี 1788 พระเจ้าจอร์จที่ 3 ทรงมีอาการเสียพระสติ ส่งผลให้ทรงไม่อยู่ในสภาวะที่จะสามารถปกครองบ้านเมืองได้ เราเรียกสมัยนั้นว่า “สมัยรีเจนซี - Regency era”
ในวันที่เจ้าชายจอร์จสาบานตนเป็นผู้สำเร็จราชการฯต่อหน้าสภาองคมนตรี เจ้าหญิงชาร์ล็อตก็ต้องเข้าร่วมงานนั้น แต่เธอไม่ได้อยู่ที่นั้น พระองค์ขี่ม้าไปมาอยู่ในสวนข้างห้องที่จัดพิธี เจ้าชายจอร์จจึงไม่พอใจเป็นอย่างมาก พระองค์ไม่ได้มองชาร์ล็อตในฐานะรัชทายาท แต่มองเป็นคู่แข่งเพื่อชิงความนิยมและความรักจากประชาชน
ประชานิยมและความคิดเห็นของสาธารณขนชัดเจนว่าเป็นไปในทางโปรดปรานเจ้าหญิงมากกว่าทางผู้สำเร็จราชการ ประชาชนถึงกับบอกเลยว่าอยากให้เจ้าหญิงขึ้นครองราชย์แทนพระบิดาของพระองค์
ด้วยเหตุนี้ทำให้เจ้าชายจอร์จยิ่งเกลียดลูกสาวมากขึ้น พระองค์ได้ไล่คนรับใช้ของพระนางออก และจัดการดูแลที่เข้มงวดเกินกว่าที่ผู้หญิงวัย 17 ปีจะรับไหว เจ้าหญิงจึงไม่นิ่งเฉย เธอได้ต่อต้านพระบิดาทุกวิถีทาง เธอได้บอกพระบิดาไปว่าเธอถึงวัยที่สมควรจะได้รับอิสรภาพและดูแลตัวเองได้แล้ว แต่จอร์จก็ตอบกลับมาว่าเธอจะไม่มีวันได้รับมันอย่างแน่นอนถ้าหากเธอไม่แต่งงาน
ด้วยเหตุผลที่ว่ามานั้น จึงทำให้เจ้าชายจอร์จเห็นประโยชน์ของลูกสาว ตอนนี้ได้สงครามนโปเลียนกำลังดำเนินอยู่ อังกฤษต้องการพันธมิตรจากเนเธอร์แลนด์ พระองค์จึงได้วางแผนให้ลูกสาวแต่งงานกับเจ้าชายวิลเลี่ยม เจ้าชายรัชทายาทแห่งออเรนจ์ (พระเจ้าวิลเลี่ยมที่ 2 แห่งเนเธอร์แลนด์)
แต่เจ้าชายแห่งออเรนจ์ก็สร้างความไม่ประทับใจให้เจ้าหญิงได้เห็นตั้งแต่แรกเจอ เมื่อเจ้าชายได้ถูกรับเชิญให้มาลอนดอน ในงานเลี้ยงต้อนรับ พระองค์และเพื่อนๆดื่มเครื่องเดื่มจนเมาและไถลไปใต้โต๊ะ แต่เจ้าหญิงก็ให้โอกาสเขาอีกครั้งเพื่อแลกกับอิสรภาพของตน ซึ่งเมื่อเธอรู้จักวิลเลี่ยมมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้เธอไม่ชอบเขามากยิ่งขึ้น เขาไม่ได้น่าดึงดูดและไม่ได้น่าตาดีนัก
ในงานเลี้ยงเต้นรำคืนหนึ่ง เธอได้พบกับเจ้าชายชาวเยอรมันองค์หนึ่ง เจ้าชายเลโอโปลด์แห่งซัคเซิน-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ ผู้ต่อสู้กับนโปเลียนในสังกัดกองทัพรัสเซีย เจ้าหญิงได้แสดงความสนใจในตัวเจ้าชายอยู่ไม่น้อยในคืนนั้น แล้วเมื่อเจ้าชายจอร์จทราบข่าว ทรงพระกริ้วอีกครั้งที่หักหน้าพระคู่หมั้นที่ทรงจัดไว้ให้นาง และทำการย้ายลูกสาวไปกักขังไว้ที่ตำหนักส่วนพระองค์
ในเวลาถัดมาเจ้าชายจอร์จได้รับข่าวว่าเจ้าชายวิลเลี่ยมได้สมรสกับแกรนด์ดัสเชสแห่งรัสเซียไปแล้ว ชาร์ล็อตจึงได้มีโอกาสเสนอชื่อเจ้าชายเลโอโปลด์ให้พระบิดาพิจารณาอีกครั้ง ครั้งนี้พระบิดาตกลงให้เธอสมรสกับเลโอโปลด์
2 พฤษภาคม 1816 ฝูงชนได้มายืนรอข้างถนนที่รถม้าของคู่สมรสใหม่เคลื่อนตัวผ่าน เมื่อทั้ง 2 สมรสกันแล้ว ชาร์ล็อตได้เขียนไว้ในไดอารี่ว่า “เลโอโปลด์เป็นผู้ชายที่สมบูรณ์แบบ” ความสัมพันธ์ของพวกเขามีความสุขมากกว่าที่ชาร์ล็อตได้จินตนาการไว้ การที่สวามีมั่นคงในความรักและไม่เคยเบื่อเลยที่จะใช้ชีวิตกับภรรยาในทุกๆวัน แม้กระทั่งเวลาที่ทั้งคู่ออกงานก็ได้แสดงความรักต่อกัน จึงทำให้คะแนนประชานิยมของประชาชนที่มากอยู่แล้ว ยิ่งมีมากขึ้นไปอีก
สิ่งหนึ่งที่ราชวงศ์และประชาชนต้องการก็คือการที่ชาร์ล็อตและเลโอโปลด์มีพระบุตรร่วมกัน ซึ่งจะทำให้บูกของทั้ง 2 อยู่ในสายการสืบราชสมบัติต่อไป แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ปีแรกของการสมรส ชาร์ล็อตแท้งลูกไปแล้ว 2 ครั้ง
จนเดือนเมษายนปีถัดมาเธอตั้งครรถ์ได้ ทว่าเธอยังมีความกังวลกลัวจะแท้งอีกรอบ เธอจึงได้ทำตามคำแนะนำของหมอหลวงอย่างเคร่งครัด หมอให้เธอไดเอทและให้เลือดเธอเป็นประจำ(เนื่องด้วยท้องของพระองค์บวมจึงต้องทำอย่างนี้) เพื่อนของเจ้าชายเลโอโปลด์ซึ่งเป็นหมอบอกว่าการดูแลครรถ์แบบนี้ไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่ได้ก้าวก่ายอะไรเพราะเขาเป็นคนนอก ถ้าเกิดเหตุอะไรขึ้นกับพระบุตรจะทำให้โดนข้อครหาได้
เจ้าหญิงอ่อนแอและซึมเศร้ามาก ถึงขนาดที่หีบใส่เสื้อผ้าเด็กมาส่ง พระองค์บอกให้คนรับใช้นำไปเก็บไว้เพราะพระองค์คิดว่าจะต้องแท้งลูกอีกแน่ๆ เธอมีกำหนดคลอดในช่วงกลางเดือนตุลาคม แต่มดลูกของพระองค์มีปัญหา ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พระองค์อ่อนแอเกินกว่าจะเบ่งลูกออกมาได้ ทรงเจ็บครรถ์ถึง 50ชม. แต่คณะแพทย์ก็ปฏิเสธที่จะให้เธอกินอาหาร
จนถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน พระบุตรก็ประสูติออกมาเป็นพระโอรส แต่โอรสองค์นี้ได้สิ้นพระชนม์แล้วตั้งแต่อยู่ในครรถ์ ชาร์ล็อตและเลโอโปลด์เสียพระทัยเป็นอย่างมาก แล้วในวันรุ่งขึ้นชาร์ล็อตก็ได้สิ้นพระชนม์จากการติดเชื้อระหว่างการคลอดและการอดอาหารเป็นระยะเวลานาน
ความเศร้าโศกนี้หลั่งไหลไปทั่วทั้งราชอาณาจักร ทุกคนเสียใจ ร้านค้า ตลาด ศาล ท่าเรือ และกิจการต่างๆได้ปิดเพื่อไว้ทุกข์ ประหนึ่งว่าทุกครัวเรือนในอังกฤษได้เสียลูกสุดที่รักของตนไป ขณะเดียวกันเจ้าชายจอร์จ ถึงแม้จะเป็นพ่อที่ไม่ดีในสายตาของเรา แต่เขาก็โศกเศร้าและอาลัยต่อการจากไปของลูกสาวเพียงคนเดียวอยู่ไม่น้อย
งานฝังพระศพมีขึ้นใน 2 อาทิตย์ถัดมาที่ โบสถ์น้อยเซนต์จอร์จ ณ ปราสาทวินด์เซอร์ นับว่าเป็นงานที่ประชาชนออกมาแสดงความเสียใจเป็นจำนวนมหาศาล เทียบเท่างานพระศพของเจ้าหญิงไดอาน่าเลยทีเดียว จนเคยมีคำกล่าวเมื่อปี 1997 ว่า นับแต่งานพระศพของเจ้าหญิงชาร์ล็อต ก็ไม่เคยมีงานใดที่ประชาชนจำนวนมากออกมาร่วมแสดงความเศร้าโศกจากการจากไปของสมาชิกราชวงศ์ จนกระทั่งงานพระศพของเจ้าหญิงไดอาน่า
ถึงเราจะเสียรัชทายาทถึง 2 รุ่นไปในปี 1817 แต่ในอีก 2 ปีถัดมาทุกคนก็มีความหวังอีกครั้ง เมื่อเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด - ลูกชายคนที่ 4 ของพระเจ้าจอร์จที่ 3 ได้มีพระทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งประสูติจากครรถ์ของเจ้าหญิงวิคตอเรียแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟ็ลท์ พระทายาทองค์นั้นมีนามว่า “เจ้าหญิงอเล็กซานดรินา วิกตอเรียแห่งเคนต์” ซึ่งในอนาคตเธอจะได้ครองราชย์เป็น สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย นั่นเอง
ถือว่าเป็นบทความที่ค่อนข้างยาวเลยทีเดียว ผู้เขียนหวังว่าทุกท่านจะ Enjoy และมีความสุขกับอ่านบทความของผม ติดตามผลงานต่อๆไปของผมด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
-หนังสือ
*Prinny's daughter : a life of Princess Charlotte of Wales by Holme, Thea, 1904-1980
*Charlotte & Leopold: The True Story of The Original People's Princess by James Chambers
โฆษณา