"คน-ช้าง-ป่า" #วันช้างไทย อนุรักษ์ด้วยหัวใจ เข้าใจเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

"ช้าง" เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินไทยมาช้านาน แต่เมื่อพื้นที่ป่าและชุมชนทับซ้อน ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง จึงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขด้วยความเข้าใจ
📍เข้าใจพฤติกรรมช้างป่า
- ช้างแต่ละตัวมีเส้นทางหากินของตัวเอง การปิดกั้นเส้นทางเหล่านี้อาจทำให้ช้างออกนอกพื้นที่มากขึ้น
- การสังเกตพฤติกรรมช่วยให้เราคาดการณ์เจตนาของช้างได้ และนำไปสู่การป้องกันปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
📍ผลักดันช้างกลับสู่ป่าอย่างเหมาะสม
- การนำช้างกลับสู่ป่าจะได้ผลดีกว่าเมื่อช้างอยู่เป็นโขลง เนื่องจากพฤติกรรมของช้างทำให้ติดตามกันง่าย
- สำหรับช้างที่ออกมาลำพัง ต้องใช้วิธีการเฝ้าระวังใกล้ชิด ควบคู่กับการใช้เสียง แสง หรือแนวรั้วป้องกัน เพื่อผลักดันให้ช้างกลับเข้าป่าโดยไม่เกิดความเครียดหรืออันตราย
- ศูนย์ปรับพฤติกรรมช้างป่าและสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ช่วยดูแลช้างที่มีพฤติกรรมออกจากป่าซ้ำ ๆ หรือปรับตัวกับถิ่นอาศัยเดิมไม่ได้ ให้สามารถกลับคืนสู่ธรรมชาติได้อย่างปลอดภัย
📍แนวทางแก้ไขระยะยาว
- การทำคอกบริบาลช้างป่าเพื่อดูแลช้างที่ต้องการความช่วยเหลือ
- การศูนย์ปรับพฤติกรรมช้างป่า ในพื้นที่กลุ่มป่าที่กำลังประสบปัญหาอย่างรุนแรง
- การใช้เทคโนโลยีติดตามช้างเพื่อลดการเผชิญหน้ากับชุมชน
ยิ่งเราเข้าใจช้างป่า การอนุรักษ์ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้คนและช้างอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล
หากพบเห็นช้างป่าออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์
📌 โทรสายด่วนพิทักษ์ป่า 1362
#จริงจังทุกหน้าที่ #เต็มที่ทุกบทบาท
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน
- หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โฆษณา