14 มี.ค. เวลา 12:06 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

The hidden ovary condition all women should know about, according to a doctor

โรคของรังไข่ที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้ อธิบายโดยแพทย์
โรครังไข่เสื่อมก่อนกำหนด เป็นหนึ่งในโรคของผู้หญิงที่ถูกมองข้าม
โดยปกติแล้ว ผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนในช่วงตอนต้นวัยรุ่น และประจำเดือนหยุดเมื่ออายุประมาณ 50 ปี ในช่วงเวลามีประจำเดือนนี้ รังไข่จะผลิตฮอร์โมน เช่น เอสโตรเจนและเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญอย่างมากในการรักษาสุขภาพ
อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 4 รังไข่หยุดทำงานก่อนที่จะอายุครบ 40 ปี และบางคนรังไข่หยุดทำงานเร็วในช่วงที่เป็นวัยรุ่น โดยหยุดทำงานเพียงไม่กี่ปีหลังจากที่เริ่มมีประจำเดือน โรคนี้เรียกว่า โรครังไข่เสื่อมก่อนกำหนด หรือโรค พีโอไอ POI
โรครังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มักได้รับการวินิจฉัยในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 40 ปี ที่ไม่มีประจำเดือนมาอย่างน้อยสี่เดือน นอกจากนี้ยังสามารถตรวจพบได้ด้วยฮอร์โมนที่มีระดับสูงที่หลั่งมาจากสมอง ซึ่งฮอร์โมนนี้จะช่วยให้รังไข่ปล่อยไข่ในระหว่างรอบประจำเดือน
การหยุดตกไข่อย่างกะทันหันนี้ อาจทำให้ผู้หญิงในช่วงวัยรุ่น วัย 20 หรือวัย 30 ตกใจกันเลยทีเดียว เว้นเสียแต่ว่า พวกเขาจะตั้งครรภ์
นอกจากนี้ โรครังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ยังเป็นโรคที่มักมาพร้อมกับอาการอื่นๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเมื่อรังไข่หยุดทำงาน เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาการร้อนวูบวาบ บริเวณหน้า คอ และอก เหงื่อออกตอนกลางคืน นอนไม่ค่อยหลับ เหนื่อยล้า อารมณ์เปลี่ยนแปลง วิตกกังวล และโรคซึมเศร้า
ถึงแม้โรคนี้จะพบกันได้มาก แต่สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีเบาะแสบางอย่าง
สาเหตุหนึ่งที่ทราบของ โรครังไข่เสื่อมก่อนกำหนด คือ เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งร่างกายจะโจมตีตัวเอง ซึ่งโรคแพ้ภูมิตัวเองนี้ ทำให้เกิดเป็นโรคอื่นๆ ได้อีกหลายโรค เช่น โรคต่อมไทรอยด์ และโรคเบาหวานประเภท 1 ถึงกระนั้น ก็ยังไม่เข้าใจอย่างแน่ชัดว่า เหตุใดจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้
เรารู้ว่าผู้หญิงบางคน มีพันธุกรรมต่อโรครังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มักตรวจพบสิ่งนี้เป็นครั้งแรก เนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่า ลักษณะและอาการเช่นนี้ ได้เกิดขึ้นกับคนในครอบครัว ผู้หญิงเหล่านี้ที่เป็นโรค อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในโครโมโซมเพศ หรือบางทีอาจเป็น โรคเทอร์เนอร์ ซึ่งเป็นความผิดปกติของโครโมโซมตั้งแต่แรกเกิด ที่ผู้หญิงมีโครโมโซมเอ็กซ์ X เพียงหนึ่งโครโมโซม แทนที่จะมีโครโมโซมเอ็กซ์สองโครโมโซม
ผลกระทบที่ซ่อนอยู่
การสูญเสียการทำงานของรังไข่ และการหยุดการผลิตฮอร์โมนร่วมด้วย จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การสูญเสียการทำงานของรังไข่ และการหยุดการผลิตฮอร์โมนพร้อมกันนี้ ส่งผลให้ผู้หญิงที่เป็นโรครังไข่เสื่อมก่อนกำหนด มีความเสี่ยงเป็นสองเท่า ที่จะเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และแม้กระทั่งหัวใจล้มเหลว
หากไม่มีการรักษา ผู้หญิงที่เป็นโรครังไข่เสื่อมก่อนกำหนด อาจมีอายุขัยสั้นลง สาเหตุหลักมาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ซึ่งจะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โดยจะทำให้เกิดการสะสมไขมันในหลอดเลือดแดง อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยพบว่า การแทนที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ "หายไป" ด้วยยาฮอร์โมน สามารถแก้ไขผลกระทบนี้ได้
ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ต่ำ จะทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง ท้ายที่สุด จะเพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกหัก แม้แต่ในผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปีก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดโรคสมองเสื่อม และระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ต่ำ มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับการเสื่อมของสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน ตลอดจนเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า
โรครังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ยังส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ด้วย การตั้งครรภ์ใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความเสี่ยงสูงต่อการแท้งบุตรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกิจกรรมของรังไข่อาจเกิดขึ้นได้เป็นระยะๆ จึงยังมีโอกาสเล็กน้อย ที่สตรีที่เป็นโรครังไข่เสื่อมก่อนกำหนด จะตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงแนะนำให้สตรีที่เป็นโรครังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ใช้การคุมกำเนิด เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ผู้หญิงที่เป็นโรครังไข่เสื่อมก่อนกำหนด จะต้องได้รับการจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาทางการแพทย์ เพื่อให้สามารถรักษาโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันผลกระทบในวงกว้าง ที่อาจนำไปสู่การสูญเสียการทำงานของรังไข่ การจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ ทำให้ผลกระทบหลายประการของโรคนี้ สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้ และอายุขัยของผู้หญิงที่ทุกข์ทรมานจากโรคนี้ ก็จะมีอายุขัยที่ยาวนานขึ้น
ผู้เขียน : Michelle Griffin (obstetrician and gynaecologist)
แปลไทยโดย : Wichai Purisa (senior scientist)
โฆษณา