23 มี.ค. เวลา 05:40 • นิยาย เรื่องสั้น

พรที่สำคัญของชีวิต

ผู้เจริญด้วยจตุรพิธพรชัย พรที่สำคัญของชีวิต สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
อยากให้รับพรจากสมเด็จพระญาณสังวร ( องค์ที่ 19 )
ใกล้เข้าปีใหม่ไทยแล้ว ตั้งแต่โบราณกาลมาก็จะคอยรับพรจากผู้ใหญ่ที่ท่านเมตตาเรา และเราก็เคารพท่านเพราะพรที่ได้รับจะเป็นมงคล ทำให้เราได้รับแนวทางการเดินทางของชีวิต ไปได้ด้วยความสะดวก อุสรรคต่างๆก็จะถูกแก้ไขไม่ยากเย็นอะไรเราเองอ่านแล้วรู้สึกซาบซึ้ง เพราะเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย ที่จะทำให้ชีวิตได้รับความสุขมีแต่ความเจริญ ขออย่าได้เบื่อหน่ายรำคาญว่าด้วยสาระที่ท่านไม่ชอบ อดทนนิดหนึ่งฟังสิ่งเป็นประโยชน์แต่ชีวิตเรา เพื่อมีอะไรจะได้แก้ไขได้ ขอบคุณมากที่ตั้งใจฟัง
พรที่สำคัญของชีวิต ผู้เจริญด้วยจตุรพิธพรชัย พระธรรมะคติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก บัดนี้จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นขอให้ทุกๆท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตั้งใจถึงพระองค์ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟังเพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงยกกาลเวลาขึ้นมาตรัสสั่งสอนเป็นธรรมมิกถา หรือถ้อยคำที่เป็นข้อธรรมะเรียก สามัญว่าเป็นสุภาษิตเตือนใจดังเช่น ตรัสสอนภิกษุให้พิจารณาเนืองๆว่า วันคืนล่วงไปล่วงไป ตอนนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ และได้ตรัสสอนไว้อีกว่า ความเพียรควรเร่งรีบทำในวันนี้ทีเดียว ใครเล่าจะรู้ว่าความตายจะมาต่อวันพรุ่งนี้ และได้ตรัสสอนถึงสภาพของกาลเวลาไว้ว่า
กาลเวลาย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวเองทั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนได้มีสติพิจารณาถึงการเวลาเพื่อที่จะได้เกิดปัญญารู้จักว่า จะใช้กาลเวลาอย่างไรดังที่ตรัสสอนบอก วันคืนล่วงไปล่วงไปเราทำอะไรอยู่ ก็เพื่อพิจารณาเข้ามาดูว่า เราควรจะใช้กาลเวลาที่มาถึงเฉพาะหน้า ประกอบกับทำอะไร และคำว่าอะไรนี้ ทุกคนเมื่อพิจารณาดูแล้ว ก็ย่อมจะเห็นว่า ทุกคนต่างต้องมีกิจที่พึงทำอยู่ด้วยกันทั้งนั้น เช่นเมื่ออยู่ในวัยเรียนก็คือตั้งใจเล่าเรียนศึกษา เมื่อพ้นวัยเรียน ถึงวัยทำการงาน ก็ประกอบการงานเป็นอาชีพ
และการงานที่พึงทำอย่างอื่น และโดยเฉพาะภิกษุนั้น ก็ตรัสสอนให้ปฏิบัติในไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ตราบเท่าบรรลุถึงนิพพาน หรือวิมุตติความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวง เมื่อยังไม่บรรลุถึงวิมุตตินิพพาน ก็ต้องปฏิบัติในไตรสิกขาเรื่อยไป จะหยุดว่าเพียงพอแล้วไม่ได้ แม้ผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไปก็เช่นเดียวกันที่เป็นฝ่ายฆราวาสก็มีหน้าที่ปฎิบัติธรรม อันอาจรวมเข้าได้ในไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญา เช่นเดียวกันจนกว่าจะสิ้นกิเลส จึงจะเสร็จกิจแห่งการปฏิบัติในไตรสิกขา
เมื่อยังไม่สิ้นกิเลสก็ต้องปฏิบัติธรรม คือไตรสิกขานี้เรื่อยไปเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นกิจที่พึงทำเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ คือในปัจจุบันและในโลกหน้าคือในภายหน้า ก็เป็นกิจที่พึงทำอยู่ทุกวัน การปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ก็พึงปฏิบัติพึงกระทำอยู่ทุกวันเช่นเดียวกัน เป็นกิจที่พึงทำ เพราะฉะนั้นจึงพึงประกอบกระทำกิจเหล่านี้ให้งอกงามขึ้นทุกๆวัน โดยไม่ให้กาลเวลาล่วงไปปราศจากประโยชน์และได้ทรงกำชับอย่างหนักแน่นไว้อีกว่า ควรกระทำความเพียรปฏิบัติกิจที่พึงทำดังกล่าวนั้นตั้งแต่ในวันนี้ ไม่ควร
จะผลัดเพี้ยนว่าพรุ่งนี้พรุ่งนี้ เพราะใครเล่าจะรู้ว่าความตายจะมาต่อวันพรุ่งนี้ และยังได้ตรัสเตือนไว้ถึงชีวิตอีกว่า การที่ปล่อยให้กาลเวลาล่วงไปเปล่าปราศจากประโยชน์อะไร ย่อมทำให้ชีวิตนี้ แม้ที่ดำรงอยู่เป็นชีวิตเปล่า และถ้าซ้ำร้ายใช้ชีวิตนี้ประกอบกับทำการที่ชั่วผิดต่างๆ เป็นบาปอกุศลทุจริตทางกายทางวาจาทางใจ ก็ทำให้ชีวิตนี้เป็นทุชีวิตะ คือชีวิตชั่ว แต่ถ้าใช้ชีวิตนี้ประกอบคุณงามความดีต่างๆ ประกอบกิจที่พึงทำต่างๆ ตามหน้าที่หน้าที่ พึงกระทำของตนให้บรรลุถึงความสำเร็จตามที่สามารถจะพึงบรรลุได้
ก็ชื่อว่า ทำชีวิตนี้ให้เป็นสุชีวิตะ คือชีวิตที่ดี การที่ใครจะมีชีวิตเปล่า หรือว่ามีชีวิตชั่ว หรือว่ามีชีวิตดี ก็ย่อมเกี่ยวเนื่องกับกาลเวลา และการงานที่ไม่กระทำ หรือกระทำในกาลเวลานั้นๆ และก็เป็นธรรมดาที่กาลเวลานั้นๆ ไม่ใช่ล่วงไปเปล่า ย่อมทำให้ชีวิตนี้ของทุกๆคนล่วงไปด้วย แต่เมื่อยังมีสันตติคือความสืบต่อของชีวิต ชีวิตก็ดำเนินต่อไปตามกาลเวลา แต่ในที่สุด เมื่อถึงกาลเวลา กายนี้ก็ต้องแตกสลาย ชีวิตนี้ก็ต้องดับเพราะฉะนั้นจึงเรียกความดับของชีวิตดังกล่าวว่ากาลกริยา
ที่แปลว่าทำกาละ คือกาลเวลา อันหมายความว่า เป็นกาลเวลาที่สิ้นสุดของชีวิตในโลกนี้ เพราะฉะนั้น ทุกคนเมื่อระลึกถึงพระพุทธภาษิตที่ตรัสเกี่ยวแก่การเวลาดังกล่าวมานี้ มาถูกกาลเวลากินชีวิตอยู่ทุกวันให้ล่วงไป และกาลเวลานั้นก็ล่วงไปเองด้วย จึงเรียกว่ากินตัวเองด้วย พร้อมกับกินสัตว์ทั้งหลาย คือทำชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ผู้เกิดมาในโลกนี้ให้ล่วงไป เพราะฉะนั้นทุกคนจึงสมควรที่จะน้อมระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าดังที่กล่าวมา และปฏิบัติใช้การที่ร่วงไปนี่ไม่ให้เปล่า
ประโยชน์ไม่เป็นชีวิตเปล่า และไม่ใช่ชีวิตประกอบบาปอกุศลทุจริต ต่างๆอำพรางให้เป็นชีวิตชั่วและใช้กาลเวลาประกอบกิจที่พึงทำตามหน้าที่ของตนและกิจที่พึงทำคืออกุศลจิต ต่างๆ บนต่างๆตลอดถึงการปฏิบัติธรรมและให้เป็นความสำคัญของการใช้ชีวิตให้เป็นชีวิตดี ดังนี้ จึงได้ตัดเอาไว้อีกว่าบุคคลที่ทุกศีลมีจิตไม่ตั้งมั่นในกุศลธรรมทั้งหลายถึงจะดำรงชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี แต่ความดำรงชีวิตอยู่ของผู้มีสิมีจิตเพ่งพินิจตั้งมั่นในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นอยู่เพียงวันเดียวก็ประเสริฐกว่าดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงเป็น
อันว่าเมื่อทุกคนได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอันเกี่ยวแก่กาลเวลาดังที่กล่าวมาและตั้งใจที่จะใช้กาลเวลาวันนึงวันนึงประกอบกิจที่เป็นประโยชน์ ปฏิบัติตามตั้งอยู่ในศีล และมีจิตเพ่งพินิจตั้งมั่นอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายหรือกล่าว โดยสรุปว่า เจริญศีลสมาธิ ปัญญาอยู่ทุกๆวันถึงจะต้องสิ้นไปในวันนั้นก็ไม่ต้องเสียใจและภูมิใจว่าเราได้ใช้กาลเวลาให้เป็นประโยชน์ประกอบกระทำกิจที่พึงทำต่างๆปฏิบัติธรรมเจริญศีลสมาธิ ปัญญาต่างๆ ถ้าหากว่าถึงจะมีอายุยืนนานตั้งร้อยปี แต่ชีวิตแต่ใช้ชีวิตให้เป็น
โมฆะ ชีวิตคือชีวิตเปล่าให้เป็นทุกชีวิต ต่างคือชีวิตชั่วก็ไม่ประเสริฐอะไร เพราะเมื่อเป็นชีวิตเปล่าอายุยืนไปเท่าไหร่ก็ไม่เป็นประโยชน์อะไรและยิ่งซ้ำร้ายใช้ชีวิตชั่วร้ายยิ่งมีชีวิตยืนนานก็เป็นประโยชน์ก็เป็นโอกาสให้หญิงประกอบความชั่วร้ายมา กขึ้นสร้างบาปอกุศลธรรมมากขึ้นสร้างความเดือดร้อนให้บังเกิดขึ้นแก่ตนเองและผู้อื่นยิ่งขึ้นเพราะฉะนั้นเมื่อเราทำความดีในวันหนึ่งวันหนึ่งปฏิบัติเจริญ สินเจริญ สมาธิเจริญปัญญาในวันหนึ่งวันนึงอยู่ทุกวันจะตายวันไหนก็ดีทั้งนั้น ประเสริฐทั้งนั้นประเสริฐกว่า
คนที่มีอายุยืนยื่นตังค์ร้อย แต่ว่าไม่ทำอะไรให้เป็นประโยชน์เพราะฉะนั้นจึงสมควรที่ทุกคนทุกคนจ๊ะมีความตั้งใจจะรับฟังและปฏิบัติตามพุทธภาษิตคือ ตัดสอนนี้เมื่อเป็นดังนี้ แล้วก็จะทำให้ทุกคนเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ไม่ประมาทในชีวิตเป็นต้นจะใช้ชีวิตทุกๆวันประกอบกิจที่เป็นประโยชน์กิจที่เป็นหน้าที่หน้าที่พึ่งธรรมปฏิบัติตามและเจริญศีลสมาธิปัญญาแล้วก็ตามความสำนึกว่า เมื่อเราปฏิบัติสู่ดังนี้ เราก็จะมีความอุ่นใจ มีความสบายใจ มีความสว่างใจอยู่ทุกๆวันจะไต้หวันไหนก็ไม่
ต้องกลัว เพราะว่าในปัจจุบันเรามีคติคือการไปที่ดีเป็นสุคติดังนี้ ต่อไปก็ย่อมมีสุคติ คือคติที่ดี การไปที่ดี การถึงที่ดีไม่ต้องสงสัยจะทำให้เป็นผู้ไม่กลัวตายจะทำให้เป็นผู้กล้าเป็นผู้สามารถที่จะกระทำกิจที่พึงทำที่จะทำความดีที่ปฏิบัติธรรมอยู่ทุกวันทุกเวลาเมื่อเป็นดั่งนี้ก็ชื่อว่า เป็น ผู้มีเจริญด้วยอายุวรรณะสุขะปรา วันนี้ก็เจริญด้วยอายุวรรณะสุขะพละพวกนี้ก็เจริญด้วยอายุวรรณะสุขะภาระเป็นผู้มีความสว่างไปอยู่ทุกๆวัน อันนี้เป็นพรสำคัญของชีวิตจึงขออำนวยพรนี้แด่ท่าน สาธุชนทุกท่านท่านผู้ปฏิบัติ
ธรรมทุกท่านเพิ่งทำชีวิตให้งดงามยิ่งขึ้น อะไรไม่ดีงามที่เคยมียนต์กิจในชีวิต ปล่อยให้พ้นไปเสียความดีงามใหม่ๆ มีเต็มไปหมดทั้งโลกโอบอุ้มเอาไว้ให้เต็มสติปัญญาความ3ารถเถิดฝึกตนให้เต็ม กำลังที่จะได้มีที่จะพึงสำคัญยิ่งอันความสุขทางใจนี้ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาเป็นหญิงและเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ก็ด้วย การมีสติควบคุมใจของตนเองให้รู้เท่าทันความเจริญดังกล่าวและ ไม่ ยึดว่า อะไร ทั้งนั้น จะไม่ เปลี่ยนแป ลง จะ ไม่ สิ้นสุด เหตุการ ณ ์ เช่นกัน ชีวิต ก็ เช่นกัน ต้อง เปลี่ยนแป ลง ต้อง สิ้นสุด
ทำใจให้สงบสุข สภาพของใจผ่องใสบริสุทธิ์สิ้นเชิง พระธรรมะคติ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทุกคนน่าจะเคยได้ยิน หรือน่าจะเคยได้ออกปากพูดด้วยตัวเองว่า คนนั้นใจสกปรก คนนี้จะสะอาด หรือบางทีว่า คนนั้นใจสูงคนนี้ใจต่ำ ใจสูงก็มีความหมายเดียวกับใจสะอาด ใจต่ำก็มีความหมายเดียวกับ
ใจสกปรกนั่นเอง ตามภาษาหรือตามตัวหนังสือ ก็แยกออกได้ เป็นคำ 2 คำ หรือ 2 ส่วน คือใจตำ่คำหนึ่งหรือส่วนหนึ่ง ใจสูงหรือสะอาดคำหนึ่งหรือส่วนหนึ่ง ภาษาหรือตัวหนังสือ แบ่งออกเป็น 2 ความจริงก็แบ่งออกเป็น 2 เหมือนกัน ใจอาจแยกออกจากความสะอาดหรือความสกปรกได้ เมื่อนำความสะอาดหรือความสกปรกออกจากใจ
ก็เหลือแต่ใจแท้ๆ เหมือนแก้วน้ำใส่นำ้เปล่ากับแก้วใส่น้ำแดง ถ้าเอานำ้เปล่ากับน้ำแดงออกเสีย ก็จะเหลือแต่แก้วเปล่า อันแก้วเปล่านั้น เมื่อเติมน้ำ เช่น น้ำเขียว น้ำแดง หรือน้ำเปล่าตามลงไป ก็ย่อมปรากฏเป็นสีของน้ำ เช่นสีเขียวหรือสีแดง ถ้าใส่ไปทีละเล็กละน้อย ก็จะค่อยๆปรากฏสีขึ้น เมื่อใส่อยู่ตลอดเวลา สีก็จะเพิ่มมากขึ้นทุกที ถ้าเทออกเป็นเสียบ้าง สีก็จะลดลงไปทุกทีตามจำนวนที่เทน้ำสีออก เทออกหมดเมื่อไร ก็จะเหลือแต่แก้วจริงๆเมื่อนั้น ใจก็เช่นเดียวกัน ใจนั้นบริสุทธิ์ผ่องใส กิเลสเข้าจับทำให้
สกปรกไปตามกิเลส ปล่อยให้กิเลสจับมากเพียงไร ใจก็สกปรกขึ้นเพียงนั้น นำกิเลสออกเสียบ้าง ใจก็จะลดความสกปรกลงบ้าง ทำกิเลสออกจากใจมาก ใจก็จะลดความสกปรกลงมาก นำกิเลสออกหมดสิ้นเชิงก็ใจบริสุทธิ์สิ้นเชิง เป็นสภาพใจที่แท้จริง มีความผ่องใส พอจะเปรียบได้กับความใสของแก้วที่ปราศจากน้ำ เมื่อใจกับความสกปรก หรือกิเลสเป็นคนละอย่าง ไม่ใช่อย่างเดียวชิ้นเดียวกัน ทุกคนจึงสามารถจะแยกใจของตนให้พ้นจากกิเลสได้ คือสามารถนำกิเลสออกจากใจได้ กิเลสเป็นเครื่อง
เศร้าหมองของใจ คือโลภโกรธหลงนั้นนำออกจากใจได้จริง นำออกมากน้อยเพียงใดก็ได้ทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยปัญญาเป็นสำคัญ ผู้มีปัญญา มีความเห็นชอบเห็นถูกย่อมเห็นว่ากิเลสเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมองจริง จึงไม่ควรปล่อยไว้ ในเมื่อไม่ต้องการมีใจเศร้าหมอง แต่ต้องการมีใจผ่องใส เป็นสุข โลภก็ตาม โกรธก็ตาม หลงก็ตาม ทำให้ใจเศร้าหมองทั้งสิ้น มีมากก็เศร้าหมองมากมีน้อยก็เศร้าหมองน้อย ไม่มีเลยก็ไม่เศร้าหมองเลย ลองถามตนเองดูว่า ต้องการเป็นทุกข์เศร้าหมองหรือ ก็จะได้คำตอบแน่นอนว่าไม่ต้องการเช่นนั้น
แต่ต้องการเป็นสุขผ่องใส ยิ่งเป็นสุขผ่องใสเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เป็นสุขผ่องใสตลอดเวลาก็ยิ่งเป็นที่ต้องการ เมื่อได้คำตอบ รู้ความต้องการของตนเช่นนี้ ก็ให้ยอมเชื่อว่า การจะทำใจให้เป็นสุขผ่องใสนั้น ไม่มีใครทำให้ใครได้ เจ้าตัวต้องทำเอง วิธีทำคือเมื่อเกิดโลภโกรธหลงขึ้นเมื่อใด ให้พยายามมีสติรู้ให้เร็วที่สุด และใช้ปัญญายับยั้งเสียให้ทันท่วงที อย่าปล่อยให้ช้า เพราะจะเหมือนไฟไหม้บ้าน ยิ่งดับช้า ก็ยิ่งดับยากและเสียหายมากโดยไม่จำเป็น
โฆษณา