27 มี.ค. เวลา 01:54 • ข่าวรอบโลก

ระวังไทยติดหมายแดงประเทศที่สหรัฐรังเกียจ

.
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า "โดนัลด์ ทรัมป์" ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะยกเว้นการเก็บภาษีบางส่วนในระดับอุตสาหกรรม ขณะที่เตรียมประกาศ มาตรการเก็บภาษีตอบโต้ (reciprocal levies) ในวันที่ 2 เมษายน ตามรายงานของ The Wall Street Journal และ Bloomberg
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลทรัมป์ กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า สถานการณ์ยังเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และยังไม่มีการตัดสินใจขั้นสุดท้ายใด ๆ
ทรัมป์จะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเองเกี่ยวกับรายละเอียดของประกาศวันที่ 2 เมษายน
ซึ่งเขายกให้เป็น "วันปลดปล่อย" ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ
มาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อลด ขาดดุลการค้าสินค้าทั่วโลกที่มีมูลค่าสูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์
โดยการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ให้เทียบเท่ากับที่ประเทศอื่นเรียกเก็บ และเพื่อตอบโต้กับ อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ของประเทศเหล่านั้น
ทรัมป์กล่าวไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่า เขามีความตั้งใจจะเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ในอัตรา “ประมาณ 25%” รวมถึงการเก็บภาษีในอัตราใกล้เคียงกันสำหรับการนำเข้าเซมิคอนดักเตอร์และเวชภัณฑ์
แต่ภายหลังก็ได้ตกลงเลื่อนการเก็บภาษียานยนต์บางส่วนออกไป หลังจากผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ 3 รายของสหรัฐฯ เรียกร้องให้มีการยกเว้นภาษี
ก่อนหน้านี้ The Wall Street Journal และ Bloomberg รายงานว่า ภาษีที่เจาะจงเฉพาะภาคอุตสาหกรรม (sector-specific tariffs) มีแนวโน้มจะถูกเลื่อนออกไปเช่นกัน โดยอ้างอิงคำพูดของเจ้าหน้าที่ในรัฐบาล
การเดินเกมภาษีของทรัมป์นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมเป็นต้นมา เต็มไปด้วย การข่มขู่ การเปลี่ยนใจ และการเลื่อนประกาศ
ซึ่งบางครั้งก็เกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงก่อนถึงกำหนดบังคับใช้ สะท้อนให้เห็นว่าทีมการค้าของเขากำลังวางนโยบายแบบ “คิดไป ทำไป” อย่างแท้จริง
จนถึงตอนนี้ ทรัมป์ได้ดำเนินการเรียกเก็บภาษีนำเข้าใหม่จากจีนในอัตรา 20%
ฟื้นการเก็บภาษี 25% สำหรับการนำเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากทั่วโลก
และเก็บภาษี 25% กับสินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโก หากไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าอเมริกาเหนือ โดยอ้างเหตุผลเกี่ยวกับวิกฤตการใช้ยาเฟนทานิลเกินขนาดในสหรัฐฯ
เจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลทรัมป์ 2 คน ได้แก่ รัฐมนตรีคลัง สก็อตต์ เบสเซนต์ และหัวหน้าที่ปรึกษาเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว เควิน แฮสเซ็ตต์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า
"รัฐบาลมีแนวโน้มจะมุ่งเน้นการประกาศภาษีตอบโต้ในวันที่ 2 เมษายน กับกลุ่มประเทศที่แคบลง โดยเน้นที่ประเทศที่มี ดุลการค้าเกินดุลสูง และ มีการตั้งกำแพงภาษีรวมถึงอุปสรรคทางการค้าอื่น ๆ ในระดับสูง"
เบสเซนต์ เรียกกลุ่มประเทศเหล่านี้ว่า "Dirty 15" โดยหมายถึงประมาณ 15% ของประเทศทั้งหมด
ขณะที่ แฮสเซ็ตต์ ให้สัมภาษณ์กับ Fox Business ว่า รัฐบาลจะมุ่งเน้นไปที่ 10–15 ประเทศ
โฆษกของ สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดภาษีตอบโต้ ยังไม่ได้ให้ความเห็นในขณะนี้
เช่นเดียวกับ โฆษกทำเนียบขาว ที่ยังไม่มีการตอบกลับคำขอแสดงความคิดเห็นเช่นกัน
ในคำร้องขอความคิดเห็นจากสาธารณะเกี่ยวกับภาษีตอบโต้ (reciprocal tariffs) ซึ่งเปิดให้แสดงความคิดเห็นทางเว็บไซต์
สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ระบุว่า มีความสนใจเป็นพิเศษต่อข้อเสนอจากภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของสหรัฐฯและประเทศที่มี ดุลการค้าสินค้ากับสหรัฐฯ ในระดับสูง
USTR ได้ระบุรายชื่อประเทศที่อยู่ในความสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่
อาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, บราซิล, แคนาดา, จีน, สหภาพยุโรป, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, เม็กซิโก, รัสเซีย, ซาอุดีอาระเบีย, แอฟริกาใต้, สวิตเซอร์แลนด์, ไต้หวัน, ไทย, ตุรกี, สหราชอาณาจักร และเวียดนาม
พร้อมระบุเพิ่มเติมว่า กลุ่มประเทศเหล่านี้ครอบคลุมถึง 88% ของการค้าสินค้ารวมทั้งหมดกับสหรัฐฯ
ที่มา: สำนักข่าว Reuters
เครดิต : ประกิต สิริวัฒนเกตุ
โฆษณา