3 เม.ย. เวลา 09:31 • ข่าวรอบโลก

อีสานเป็นพื้นที่ปลอดแผ่นดินไหวจริงหรือ

สถานการณ์โกลาหลจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ในช่วงเวลาเกือบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดข้อถกเถียงพูดคุยในหลายประเด็น เช่นเดียวกันกับการหาพื้นที่ปลอดภัย เมื่อสถานการณ์แผ่นดินไหวสร้างความกังวลใจให้กับมนุษย์โลก
.
“บางพื้นที่ในอีสานไม่ได้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวทั้งหมด อีสานมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวแน่นอน อดีตบอกเราอย่างนั้น”
.
วาจาอันหนักแน่นถูกถ่ายทอดผ่าน ‘ผศ. ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ’ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน ร่วมให้ข้อมูลกับเราในประเด็น ‘อีสานเป็นพื้นที่ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวจริงหรือ’
.
หลังแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายพื้นที่ในประเทศไทย ประเด็นเรื่อง ‘พื้นที่ปลอดแผ่นดินไหว’ ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง โดยมีการกล่าวอ้างว่า ‘ภาคอีสานไม่มีแผ่นดินไหว’ อีกทั้งอีสานเป็นพื้นที่ปลอดภัยและน่าอยู่เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติจริงหรือไม่
.
• การสั่นสะเทือนครั้งใหญ่จากรอยเลื่อนสะกาย
.
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ณ มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา มีสาเหตุมาจากการเคลื่อนตัวของ ‘รอยเลื่อนสะกาย’ ซึ่งเป็นหนึ่งในรอยเลื่อนสำคัญของอาเซียน มีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร พาดผ่านใจกลางประเทศพม่าจนถึงทะเลอันดามัน
.
รอยเลื่อนสะกายเป็นรอยเลื่อนที่มีความยาวถึง 1,200 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นหนึ่งในรอยเลื่อนสำคัญของภูมิภาค โดยทั่วไป รอยเลื่อนของเปลือกโลกกระจายอยู่หลายแห่ง รวมถึงในภาคอีสานของไทย แต่รอยเลื่อนที่สามารถก่อให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงได้ มักมีความยาว 100 กิโลเมตรขึ้นไป
.
เมื่อเทียบกันแล้ว รอยเลื่อนสะกายนับเป็นรอยเลื่อนที่ทรงพลังและน่ากังวลอย่างยิ่ง เพราะมีศักยภาพในการก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
.
แผ่นดินไหวครั้งนี้มีขนาด 7.7 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในพื้นที่มัณฑะเลย์และจังหวัดใกล้เคียง แรงสั่นสะเทือนยังรับรู้ได้ไกลถึงเชียงใหม่ หลายจังหวัดในภาคเหนือ และกรุงเทพฯ
.
ด้วยเหตุผลนี้เอง หลังจากเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมา ส่งผลให้หลายพื้นที่ในประเทศไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้อย่างชัดเจน เนื่องจากเกิดความรุนแรงในอันดับ 7 ตามมาตราเมอร์คัลลิ หลายคนตื่นตระหนกและรีบอพยพลงจากอาคารทันที
.
(อ่านบทความเต็มได้ที่ Website ในคอมเมนต์)
.
อ้างอิงข้อมูล :
Sarakadee Magazine
อ้างอิงรูปภาพ :
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
สันติ ภัยหลบลี้1 และ สัณฑวัฒน์ สุขรังษี
Chainarong Setthachua
กรมทรัพยากรธรณี
.
เรื่อง : เนตรนภา ก๋าซ้อน
กราฟิก : สุภัสสรา สมสา
.
#ลาวเด้อ #Louder #แผ่นดินไหว #ภัยธรรมชาติ #ภาคอีสาน #รอยเลื่อนสะกาย
โฆษณา