Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ศึกษาพระเครื่อง
•
ติดตาม
4 เม.ย. เวลา 08:59 • การศึกษา
พระเนื้อชิน
รายละเอียด คำว่า”ชิน” หมายถึงโลหะซึ่งอาจผสมได้มากกว่าหนึ่งอย่าง พระเครื่องในเมืองไทยที่สร้างจากเนื้อชิน มักจะมีส่วนผสมหลัก ๆ สามอย่างด้วยกัน ได้แก่ ปรอท ดีบุกและตะกั่ว (นอกจากนี้ยังอาจมีทองเหลือง ทองแดงปนอยู่บ้าง) ทั้งนี้เมื่อผสมแล้วจะออกมาเป็นเนื้ออะไรนั้น ขึ้นอยู่กับการมีอยู่ของส่วนผสมอย่างใดอย่าง
หนึ่งมาก (เทก่อนโลหะเบาลงเบ้าก่อน พระชุดแรกออกมาเนื้อหนึ่ง เทภายหลังโลหะหนักเช่นตะกั่วนอนก้นถังออกมาเป็นเนื้ออีกแบบหนึ่ง) เนื้อหาต่างกันก็จะมีลักษณะเฉพาะตัวและมีชื่อเรียกขานต่างกันไป แยกตามลักษณะทางกายภาพ ซึ่งเมื่อผ่านกาลเวลาความเก่าจะมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดทั้งทางด้านสีสันและลักษณะพื้นผิว ทั้งไข ทั้งสนิม รอยเหี่ยว รอยปริรานฯลฯ
สำหรับหลักการในการพิจารณาพระเนื้อชินเก่า มีดังนี้ครับ ขั้นตอนแรกเราต้องรู้ก่อนว่าพระนั้นใช้วัสดุอะไรในการสร้าง สมมติตัวอย่างเช่นพระกรุวัด เลียบ-วัดเกาะ กทม.,พระกรุวัดเพชร สระบุรีเป็นพระเนื้อชินเงิน (ประกอบด้วยตะกั่วผสมดีบุกกับปรอท ซึ่งเป็นส่วนผสมทั่วไปที่มีเป็นปกติในพระกรุเนื้อชินเงิน), พระเชียงแสนสนิมแดง เป็นเนื้อตะกั่วแทบจะล้วน ๆ อย่างนี้เป็นต้น
ทีนี้เราก็ต้องมาดูว่าพระเนื้อชินเมื่อผ่านกาลเวลาไปแล้วจะมีสภาพอย่างไร ก็ต้องมาพิจารณาแบบแยกธาตุต่อไปอีกว่า โดยธรรมชาติของวัสดุแต่ละชนิดเมื่อมีความเก่าจะมีสภาพหรือมีปฏิกิริยาอย่างไรต่ออากาศและความชื้นความเค็ม ซึ่งพอจะดูได้โดยแยกออกดังนี้
1.ปรอท ช่างจะใส่ปรอทลงไปเป็นส่วนผสมเพื่อให้เนื้อโลหะหลอมเหลวนั้นวิ่งเข้าติดซอกมุมของพิมพ์ เพราะปรอทจะหนีความร้อน ทำให้โลหะส่วนอื่น ๆ วิ่งตามไปติดเต็มพิมพ์สวยงาม ปรอทซึ่งอยู่ส่วนผิวนอกสุดจะทำให้พระมีสีเงินแวววาว ผิวปรอทนี้เมื่อผ่านการเวลาไปแล้วจะมีลักษณะซีดหมองลง หรือเรียกว่า ปรอทตาย ยิ่งเมื่อโดนความชื้น ความเค็มแล้วจะหมองลง ๆ จนกระทั่งดำ
2. เนื้อดีบุก ดีบุกเป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ในไทยมากพอสมควร ใช้ทำเหรียญและเครื่องใช้หลายชนิด ลักษณะเด่นของดีบุกเมื่อผ่านกาลเวลาไปคือจะมีสีเทาดำ ถ้าถูกความชื้นเพราะเก็บรักษาไม่ดี จะมีลักษณะพองตัวและปริแยกออกในภาษานักเล่นพระจะเรียกว่า “ระเบิด” ตัวอย่างที่พอจะพบเห็นได้บ่อยคือเหรียญดีบุกที่มีรูตรงกลาง หาดูได้ทั่วไป
3.เนื้อตะกั่ว ตะกั่วเป็นส่วนผสมหลักของพระเครื่องประเภทเนื้อชินที่มีการสร้างในไทยมากที่สุด คงเพราะเมืองไทยมีตะกั่วอยู่มากและการสร้างการผลิตทำได้ง่ายเพราะมีจุดหลอมเหลวต่ำ ลักษณะของตะกั่วเมื่อผ่านกาลเวลาจะมีสีคล้ำ มีความฉ่ำที่สัมผัสได้ทางสายตา มีความยับ ความย่น ความโปร่งพรุน (ภายใน) ตามธรรมชาติ
บางทีมีการกินตัวของเนื้อตะกั่วเองจนอาจมีไขขาวและสนิมเกิดบ้าง และบางทีสนิมกับไขนั้นก็กินลึกเข้าไปถึงเนื้อในทำให้เกิดหลุมบ่อหรือกินจนแทบไม่เหลือเนื้อแท้อยู่เลยกลายเป็นไขและสนิมมาแทนที่เนื้อโลหะเดิม ก็มีพบเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการเก็บรักษา(ดังที่ผู้ชำนาญทั้งหลายให้ทรรศนะว่าสนิมและไขนั้นเกิดจากภายในเนื้อ)
ทีนี้เมื่อเราเรียนรู้ถึงลักษณะส่วนผสมและการเปลี่ยนแปลงสภาพไปตามอายุ ก็เท่ากับเรารู้ถึงความเก่า ว่าพระเมื่อมีความเก่าจะมีลักษณะเป็นอย่างนี้ ในทางกลับกัน ถ้าลักษณะของพระหรือวัตถุที่เรานำมาพิจารณาไม่มีสภาพเป็นไปตามที่ว่าแล้วอาจถือได้ว่ามีความเก่า อาจเป็นของสร้างใหม่ล้อเลียนขึ้นในยุคหลังก็เป็นได้ ตรงนี้คงต้องอาศัยการศึกษาสักพักถึงจะพิจารณาได้ถูกต้อง
** พระแต่ละชนิดแต่ละกรุ จะมีเนื้อหาต่างกันไปเล็กน้อยแยกย่อยกันไปอีก ตรงนี้คงต้องไปศึกษาเพิ่มเติมกันเอง
มารู้จักพระเนื้อชินกันดีกว่า
คำ ว่า “ชิน” ตามพจนานุกรมหมายถึง โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่ว และดีบุก นิยมใช้ทำพระเครื่อง จึงเป็นที่ยอมรับกันว่า พระเนื้อชินเป็นโลหะผสม มีแร่ตะกั่วผสมอยู่ด้วย เนื้อชินแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
1.ประเภทเนื้อชินตะกั่ว หมายถึง พระเนื้อชินทีมีส่วนผสมของแร่ตะกั่วมากกว่าแร่อย่างอื่น หรือตะกั่วล้วน ๆ พระประเภทนี้ถ้ามีอายุมากๆ จะเกิดสนิมในรูปของอ๊อกไซด์ปกคลุมส่วนบนของพระ มีลักษณะเป็นคราบสนิมแดง ๆ พระบางองค์มีการประทุระเบิดของเนื้อจากภายในออกมาภายนอกในลักษณะธรรมชาติเรียกว่า “แตกรานแบบใยแมงมุม” ส่วนพระที่มีอายุน้อย จะมีจุดแดงเรื่อๆ จับอยู่บนผิวพระเป็นหย่อม ๆ หรือเป็นสนิมเกาะเพียงบาง ๆ
2.ประเภทพระเนื้อชินเงิน หมายถึงพระเนื้อชินที่มีเนื้อในมีสีขาวคล้ายสีเงินยวง ซึ่งมีส่วนผสมของตะกั่วและดีบุกเป็นหลัก โดยจะมีดีบุกมากกว่าตะกั่วและผสมปรอทลงไปจุดประสงค์เพื่อให้เนื้อชินที่กำลังร้อนวิ่งเร็วติดรายละเอียดของแม่พิมพ์พระดีขึ้น พระเนื้อชินประเภทนี้มีส่วนผสมหลายสูตร พระแต่ละกรุแต่ละเมืองจึงไม่เหมือนกัน แตกต่างกันในรายละเอียดของส่วนผสม สามารถแยกได้คร่าว ๆ ตามลักษณะของสนิมที่ผิวพระและสีที่พบเห็นทั่วไปมี 3 ลักษณะ
- เนื้อชินเงินขาวหรือผิวปรอท ผิวพระแลดูสีขาวเหมือนของใหม่ แต่ถ้าดูให้ดีแล้วจะพบว่าเป็นของเก่า ลักษณะผิวจะดูแห้งผาก มีพรายปรอทเป็นเม็ดเล็ก ๆ เกาะที่ผิวหน้าผสมกับคราบกรุ เมื่อใช้กล้องขยายส่องดูก็จะมองเห็นสีของปรอทเป็นประกายแวววาว
- เนื้อชินผิวดำหรือสนิมตีนกา พระเนื้อชินประเภทนี้ผิวมีสีดำหรือสีน้ำตาล คือบนผิวพระจะมีคราบกรุจับเกาะอยู่และสนิมเริ่มทำลายเกาะกินเนื้อโลหะบางส่วนแล้ว
ถ้าเป็นของเก่าประการแรก เนื้อหาจะต้องมีความแห้ง ประการที่สองจะต้องมีรอยลั่น หรือปริแยก หรือผุกร่อนในลักษณะของธรรมชาติ คือการปริแยกจะต้องเกิดจากภายในออกมาภายนอก ไม่ใช่จากภายนอกลงภายในแบบเขาเอาน้ำกรดมาหยอดไว้ให้แลดูเป็นจุด ๆ ประการที่สามผิวพระจะไม่เรียบตึงประการที่สี่ขอบข้างองค์พระจะไม่คม แต่ถ้าเป็นของปลอมหรือทำใหม่จะมีลักษณะตรงกันข้ามกับของจริงทุกประการ
-เนื้อชินเกล็ดกระดี่ พระเนื้อชินประเภทนี้บางคนก็เรียก “ ชินกรอบ” เพราะแลดูผิวภายนอกกรอบไปหมด ผิวพื้นพระผุกร่อนมากแลดูคล้ายเกล็ดปลากระดี่หรือเกล็ดพิมเสน เนื่องจากโลหะหมดยางแล้วนักสะสมเนื้อชินรุ่นเก่าจึงตั้งชื่อชินชนิดนี้ว่า “ชินเกล็ดกระดี่” หรือ “ชินกรอบ”
3.ประเภทเนื้อชินเขียว หมายถึงพระเนื้อชินที่มีส่วนผสมระหว่างแร่ตะกั่วกับแร่สังกะสี ผิวพรรณองค์พระออกไปทางสีเขียวปนดำ หรือปนสีเทา คนรุ่นก่อนเรียกว่า “ชินสังฆวานร” เพราะเคยมีผู้พบตะปูชินสังฆวานรบรรจุอยู่ในกรุพระเครื่อง ถ้าเป็นของเก่าโบราณมีอายุมากแล้ว เนื้อพระจะดูแห้ง ผิวพระจะเป็นสีดำปนเทาเหนือผิวพระขึ้นมาเป็นสนิมไขสีขาวขุ่นส่วนบนใส ฝังตัวจับกันแน่นหนาซับซ้อนทับถมกันขึ้นมาใน
ลักษณะธรรมชาติคล้าย ๆ กับการงอกของเนื้อจากภายในออกมาภายนอก นอกจากนี้ถ้าเป็นพระลงกรุจะมีคราบขี้กรุด้วย พระบางองค์มีฝ้าขาวและคราบสีเหลืองปรากฏตามซอกส่วนที่ตื้น พระเนื้อชินเขียวของเก่าจะต้องมีสนิมที่เรียกว่า “สนิมไข่แมงดา” บ้าง “สนิมไขวัว” บ้าง และพื้นผิวองค์พระเป็น
ตะปุ่มตะป่ำลักษณะของไขของพระเนื้อชินเขียวเก่า ๆ ผิวพระจะเป็นสีดำปนเทาเหนือผิวพระขึ้นมาเป็นสนิมไขสีขาวขุ่นส่วนบนใส ฝังตัวจับกันแน่นหนาซับซ้อนทับถมกันขึ้นมาในลักษณะธรรมชาติคล้าย ๆ กับการงอกของเนื้อจากภายในออกมาภายนอก
เบญจภาคีเนื้อชินในดวงตราไปรษณียากร
กฤษฎา พิณศรี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราภัฎสุรินทร์
ปัจจุบันความนิยมในการสะสมพระพิมพ์ดูเหมือนจะกลายเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของคนและสังคมไทย อาจกล่าวได้ว่าผู้ให้ความสนใจสะสมพระพิมพ์นั้นมีแทรกอยู่ในแทบทุกวงการสาขาอาชีพ ล่าสุดกระแสความนิยมดังกล่าวยังได้แพร่เข้าไปในแวดวงนักสะสมดวงตราไปรษณียากร ที่บริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด ได้จัดพิมพ์ดวงตราไปรษณียากรชุดพระพิมพ์เนื้อชินนำออกจำหน่ายเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 ที่ผ่านมา นับเป็นดวงตราไปรษณียากรพระพิมพ์ชุดที่ 2 ที่จัดทำขึ้นหลังจากชุดพระเบญจภาคีที่จัดทำครั้งแรกได้รับความนิยมอย่างสูง
พระพิมพ์ที่ได้รับการคัดเลือกมาจัดพิมพ์ลงบนดวงตราไปรษณียากรครั้งนี้ประกอบด้วยพระร่วงรางปืน พระลพบุรีหูยาน พระพุทธชินราชใบเสมา พระท่ากระดาน และพระมเหศวร หรือที่รู้จักในชื่อ “ยอดขุนพลพระเนื้อชิน” ในสมัยก่อนเมื่อพูดถึงพระเนื้อ
ชินที่มีชื่อเสียงโด่งดังในทางแล้วคลาด คงกระพัน มักจะนึกถึงพระพิมพ์สามชนิดด้วยกัน คือพระร่วงรางปืน พระลพบุรีหูยาน และพระท่ากระดาน ซึ่งถูกจัดให้เป็นชุด “ไตรภาคีแห่งอิทธิฤทธิ์” ต่อมาเมื่อกระแสของพระเบญจภาคี (ประกอบด้วยพระสมเด็จ ที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม
วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก พระลีลาเม็ดขนุน (หรือพระซุ้มกอ) กรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชรพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน และพระผงเกสรสุพรรณหรือพระผงสุพรรณ กรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2497 โดยพลตรีประจญ กิตติประวัติ นักสะสมและนักเขียนเรื่องพระพิมพ์ที่รู้จักกันในนามปากกา”ตรียัมปวาย” ได้กลายเป็นที่
ยอมรับและรู้จักแพร่หลาย จึงได้มีความพยายามในการจัดชุดพระพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ชุดละ 5 องค์ เรียกว่า พระชุดเบญจภาคี เช่น เบญจภาคีพระปิดตาเนื้อโลหะ เบญจภาคีพระเนื้อผง เบญจภาคีเหรียญเกจิอาจารย์ รวมทั้งเนื้อเบญจภาคีพระเนื้อชินที่นำมาพิมพ์ลงบนดวงตราไปรษณียากรชุดดังกล่าว โดยได้เพิ่มพระชินราชใบเสมาและพระมเหศวรเข้ารวมเป็นชุดห้าองค์
พระร่วงรางปืน เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องในอิริยาบถยืนบนแท่นภายในซุ้มเรือนแก้ว พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุระ พระกรซ้ายทอดลงขนานกับลำพระองค์แบหงายฝ่าพระหัตถ์ออกด้านหน้า เป็นกิริยาประทานพรครองจีวรห่มคลุมบางแนบพระวรกาย ปรากฏเส้นขอบจีวรบริเวณรอบพระศอ และมีชายจีวรเป็นเส้นพลิ้วบางขนานกับพระองค์ตกลงมาเบื้องล่าง รายละเอียดของพระพักตร์ชัดเจน สีพระพักตร์ค่อนข้าง
เคร่งขรึม สวมศิราภรณ์ได้แก่ พระบังหน้า และมงกุฎรูปกรวย หรือที่เรียกกันว่า “ หมวกชีโบ” คาดด้วยรัดประคดที่มีการตกแต่งลวดลายคล้ายที่ปรากฏในศิลปะเขมรแบบบายน ที่มีชื่อเรียนว่า “พระร่วงรางปืน”หรือพระร่วงหลังรางปืน เนื่องจากด้านหลังขององค์พระมีลักษณะเป็นร่องลึกยาว นับเป็นพระพิมพ์ที่นิยมเล่นหากันมาเป็นเวลานาน ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นจักรพรรดิแห่งพระเนื้อชิน
ประวัติการแตกกรุจากคำบอกเล่าและบันทึกต่อกันมาพอสรุปได้ว่า ราว พ.ศ.2490 เศษ (ปี พ.ศ.2493 บ้างก็ว่า พ.ศ.2499 ข้อมูลไม่ตรงกัน) ได้มีการลักลอบขุดเจาะพระปรางค์ประจำวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย และพบพระร่วงรางปืนบรรจุอยู่
ภายในไหโบราณจำนวนประมาณ 200-240 องค์ เก่าครึ่งของพระพิมพ์ที่พบอยู่ในสภาพที่ชำรุด พระร่วงรางปืนจัดเป็นพระพิมพ์สกุลช่างสุโขทัยที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมรสมัยบายน หรือศิลปะแบบลพบุรี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นพระพิมพ์เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง เดิมจึงเรียก “พระสนิมแดง” สันนิษฐานกันว่าคำเรียกขานพระ
พิมพ์ทีมีพุทธลักษณะเช่นนี้ว่า “พระร่วง” มีทีมาจาก “พระร่วงโรจนฤทธิ์อินทราทิตย์ธรรมโมภาสมหาวชิราวุธปูชนีย์บพิตร” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นจากพระพุทธรูปที่ชำรุดเหลือเพียงพระเศียร พระหัตถ์ และพระบาท ที่ทรงได้มาจากเมืองศรีสัชนาลัย และนำมาประดิษฐานไว้ที่วิหารด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เนื่องจากนักสะสมเห็นว่ามีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกันกับพระสนิมแดง
พระลพบุรีหูยาน เป็นพิมพ์ที่พบในหลายพื้นที่ที่ปรากฏอิทธิพลอารยธรรมเขมรสมัยบายน แต่ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากที่สุด คงได้แก่ที่พบบริเวณจังหวัดลพบุรี โดยเฉพาะจากกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตามประวัติที่เล่าขานกันมา พระลพบุรีหูยานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุถูกลักลอบนำขึ้นจากกรุครั้ง
แรกเมื่อราว พ.ศ.2460 (บ้างก็ว่า พ.ศ.2450) และครั้งที่สอง เมื่อ ปี พ.ศ.2508 พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยบนฐานบัว ครองจีวรเรียบแนบพระวรกายจนดูคล้ายพระองค์เปลือยเปล่า มีสังฆาฏิพาดผ่านพระอังสาซ้ายชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายตัดตรง พระพักตร์สี่เหลี่ยมอวบอูม แสดงอาการแย้มพระ
โอษฐ์เล็กน้อย พระกรรณราวจรดพระอังสา อันเป็นที่มาของชื่อ “พระหูยาน” หรื “พระลพบุรีหูยาน” พระเกศาถักหรือเกล้าเป็นสันตั้งที่เรียกว่า “ผมหวี” พระอุทรนูนเล็กน้อยแบบ “ท้องหมู” จัดเป็นศิลปะเขมรสมัยหลังบายนหรือศิลปะแบบลพบุรี กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18
พระพุทธชินราชใบเสมา พบในกรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ขึ้นจากกรุครั้งแรกเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2443 (หรือ พ.ศ.2440) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัวค่ำ-บัวหงาย อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว พิมพ์ทรงโดยรวมคล้ายใบเสมา ครองจีวรห่มเฉียงมีสังฆาฏิพาดผ่านพระอังสาซ้าย ปลาย
สังฆาฏิยาวจรดพระอุทร พระพักตร์รูปไข่หรือผลมะตูม ลักษณะก้มต่ำเล็กน้อย ปรากฏรายละเอียดของพระขนง พระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน เม็ดพระเกศาเรียงชิดกันจนดูคล้ายพระเกศาเกล้าแบบที่เรียกว่า”ผมหวี” พระเกตุมาลามีขนาดค่อนข้างใหญ่พระรัศมีเป็นรูปคล้ายเปลวไฟ ที่มีชื่อเรียก “พระพุทธชินราชใบเสมา” เนื่องจากนักสะสมส่วนใหญ่เชื่อว่าจำลองแบบมาจากพระพุทธชินราชที่
ประดิษฐานเป็นประธานของวัด อย่างไรก็ดี พระพิมพ์นี้น่าจะได้รับอิทธิพลมากจากพระพิมพ์ตระกูล”ยอดขุนพล” ในศิลปะแบบลพบุรี เนื่องจากมีพุทธลักษณะที่คล้ายคลึงกันมากกว่าโดยเฉพาะลักษณะของซุ้ม ฐานบัวตลอดจนพิมพ์ทรง สันนิษฐานว่า พระพุทะชินราชใบเสมาคงสร้างขึ้นพร้อมหรือในเวลาไล่เลี่ยกันกับการสร้างพระปรางค์ประธานของวัด ในรัชการสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 20
พระมเหศวร เป็นพระพิมพ์ที่ขึ้นจากรุพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2456 ร่วมกับพระผงสุพรรณและพระพิมพ์อื่นๆ ลักษณะของพระเหศวรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งสมาธิราบ ครองจีวรห่มเฉียง ปรากฏสังฆาฏิ ยาวพาดผ่านพระอังสาซ้าย ปลายจรดพระอุทร บริเวณด้านข้างพระเศียรมีเส้นขีดในแนวนอนที่อาจใช้ในความหมายถึงกิ่งก้านโพธิ์ ศิลปะแบบอู่ทองหรืออยุธยาตอนต้น ราว
พุทธศตวรรษที่ 20 พระมเหศวรมีทั้งที่เป็นพระพิมพ์เนื้อชินเงินและชินตะกั่วเดิมเรียกว่า"พระสวน” เนื่องจากองค์พระมีสองด้านลักษณะหันพระเศียรขึ้น-ลงสลับข้างกัน ซึ่งคงเกิดจากการแก้ปัญหาการหักของพระศอซึ่งเป็นส่วนที่เปราะบางโดยเมื่อนำมาประกบกัน พระศอจะอยู่ในตำแหน่งพระเพลาของพระอีกด้านหนึ่ง ทำให้ไม่แตกหักง่าย สันนิษฐานว่า แม่พิมพ์ของพระมเหศวรมีลักษณะแบบเบ้า
ประกบ มีเดือยอยู่ตรงกลาง ระหว่างองค์พระ บางองค์จึงยังมีรอยก้านชนวนให้เห็นอยู่ สำหรับชื่อเรียก “พระมเหศวร” กล่าวกันว่ามาจากชื่อขุนโจรชื่อดังของเมืองสุพรรณในอดีตทั้งแต่งเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ในด้านความคงกระพันประกอบคงเพื่อสร้างจุดสนใจให้แก่พระพิมพ์นี้
พระท่ากระดาน เป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดง เดิมเรียกว่า “พระเกศบิดตาแดง” ถูกนำขึ้นมาจากรุอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อราว พ.ศ.2464 ที่วัดท่ากระดาน (วัดกลาง) ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และต่อมายังได้พบขึ้นจากกรุอื่นๆ อีกโดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอศรีสวัสดิ์ เช่น กรุถ้ำลั่นทม กรุวัดล่าง (กรุใต้) กรุวัดบน (กรุเหนือ) พระที่ได้จากแหล่งดังกล่าวนิยมเรียกกันว่าพระกรุเก่า เนื่องจากเป็น
พระที่ขุดได้ในช่วงแรก ๆ ส่วนพระท่ากระดานที่ขุดพบระยะหลังในเขตอำเภอลาดหญ้า อำเภอทองผาภูมิ เช่น กรุวัดเทวสังฆาราม(วัดเหนือ) กรุวัดเขาชนไก่ กรุเขาฤษี เรียนว่าพระกรุใหม่ อย่างไรก็ดี ทั้งหมดล้วนเป็นพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน ลักษณะของพระท่ากระดานเป็นพระพิมพ์แบบนูนสูงหลังเรียบ ศิลปะแบบอู่ทองหรืออยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 พุทธลักษณะนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย
ครองจีวรห่มเฉียง มีสังฆาฏิเป็นแถบค่อนข้างหนา ยาวจรดพระรัศมียาวเรียว แต่เนื่องจากสภาพการถูกทับถมในกรุเป็นเวลานานทำให้ปลายรัศมีชำรุดงอ จึงทำให้มีลักษณะต่างๆ กันสีพระพักตร์ค่อนข้างเคร่งขรึม อันเป็นเอกลักษณะของพระในกรุ ส่วนฐานเป็นแบบที่เรียกว่าฐานสำเภา พระเนื้อชินทั้งห้าองค์นี้ ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดขุนพลหรือเบญจภาคีพระเนื้อชินเนื่องจากพุทธศิลป์งดงามเป็นเอกลักษณ์และพบเห็นได้ยากยิ่ง แต่ละองค์มีมูลค่าซื้อขายแลกเปลี่ยนสูงเป็นหลักแสนถึงหลายล้านบาท
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย