6 เม.ย. เวลา 12:45 • การเมือง

[ มหากาพย์ขบวนการค่าไฟแพง ที่ยังไม่สิ้นสุด ริเริ่มโดยรัฐบาลประยุทธ์ สานต่อโดยรัฐบาลเศรษฐา และ ...

[ มหากาพย์ขบวนการค่าไฟแพง ที่ยังไม่สิ้นสุด ริเริ่มโดยรัฐบาลประยุทธ์ สานต่อโดยรัฐบาลเศรษฐา และ กำลังจะลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้าโดยรัฐบาลแพทองธาร ]
แม้ว่าค่าไฟงวดหน้า (พ.ค. - ส.ค. 68) รัฐบาลจะยังคงราคาเดิม ที่ราคา 4.15 บาท/หน่วย เพื่อให้ประชาชนตายใจ ว่าค่าไฟแม้ไม่ลด แต่ก็ไม่เพิ่ม แต่มหากาพย์ขบวนการค่าไฟแพง ยังเดินหน้าไม่หยุด จากโครงการรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียน เฟสแรก รอบ 5,200 MW ที่สานต่อกันเป็นขบวนการ จาก รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ สานต่อโดยรัฐบาลเศรษฐา และ รัฐบาลแพรทองธารที่กำลังจะเดินหน้าสู่การลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ที่จะทำค่าไฟแพงขึ้นไปตลอดอายุสัญญา 25 ปี
โครงการรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียน เฟสแรก รอบ 5,200 MW คือ โครงการที่ ริเริ่มใน ปี 2565 ที่ประชาชนเริ่มรู้ทัน และจับตา นโยบายของรัฐ ที่อนุมัติให้เอกชนสร้างโรงไฟฟ้าจำนวนมากๆ จนเกิดโรงไฟฟ้าเกือบครึ่งนึงในประเทศไทยที่ไม่ต้องเดินเครื่องแต่ได้เงินจากบิลค่าไฟของเราทุกเดือน มันก็เลยมีวิวัฒนาการของขบวนการค่าไฟแพง ที่หันมาเริ่มอ้างถึง “พลังงานหมุนเวียน”
แต่ประเด็น พิรุธทุจริตนโยบาย อยู่ตรงที่ 1. โครงการนี้เป็นการรับซื้อไฟฟ้าที่กำหนดในนโยบาย โดย กพช. (คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) เลยว่า จะไม่มีเปิดประมูลแข่งขัน และ กำหนดราคารับซื้อค่าไฟฟ้าที่ราคาแพง (พลังงานแสงอาทิตย์ 2.2 บาท/หน่วย, พลังงานลม 3.1 บาท/หน่วย) จนเอกชนต่างแย่งกันยื่นโครงการมามากกว่าที่จะรับซื้อ 3 เท่า (ประกาศรับซื้อ 5,200 MW แต่เอกชนแย่งกันยื่นโครงการเข้ามาเสนอถึง 17,400 MW) และก็กำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าที่แพงแสนแพงนี้ไว้ตลอดอายุสัญญา 25 ปี!
2. โครงการนี้เป็นโครงการที่ ไม่เปิดประมูล และ ไม่มีการประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ปัจจัยการให้คะแนนเทคนิค เพราะ หน่วยงานกำกับธุรกิจไฟฟ้า หรือ กกพ. ประกาศระเบียบรับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียน เฟสแรก รอบ 5,200 MW กำหนดว่า เอกชนที่ได้รับคะแนนเทคนิค สูงที่สุด จะได้รับคัดเลือกให้ขายไฟฟ้าให้รัฐ แต่กลับไม่มีการประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ปัจจัยการให้คะแนนเทคนิคออกมา ทำให้เกิดการใช้ ดุลพินิจ จิ้มเลือกเอกชนผู้โชคดี ที่ได้รับคัดเลือกได้ง่ายๆ
และการจิ้มเลือกเอกชนผู้โชคดี ก็เกิดขึ้นจริงๆ เมื่อกลุ่มทุนพลังงานลำดับแรกและลำดับที่สอง ที่ได้รับคัดเลือก ได้รับคัดเลือกไปสูงถึง 41%, 18% ของจำนวนที่ประกาศรับซื้อ โดยกลุ่มทุนพลังงานลำดับแรก ยื่นโครงการมา 35 โครงการ ได้รับคัดเลือกทั้ง 35 โครงการ หรือ 100% เต็ม ในขณะที่ลำดับที่สอง ยื่นมา 25 โครงการ ได้รับคัดเลือก 17 โครงการ หรือ 68% ทั้งๆ ที่ ค่าเฉลี่ยของเอกชนที่ได้รับคัดเลือกเพียง 45% เท่านั้น (เพราะเอกชนยื่นเสนอโครงการมาเยอะมาก)
นี้เป็นผลลัพธ์ของการยืนยันว่ามีขบวนการที่ต้องการจะล็อคผลลัพธ์ไว้ให้บางกลุ่มทุนพลังงานได้รับคัดเลือกที่จะมาขายไฟฟ้าราคาแพงที่ไม่ต้องเปิดประมูล ให้ได้โครงการเยอะๆ และประกาศเอกชนผู้โชคดีในเดือน เม.ย. 66 หรือ 1เดือนก่อนเลือกตั้งใหญ่ด้วย
จนศาลปกครอง เคยมีคำสั่งทุเลาชั่วคราว ให้ชลอ โครงการพลังงานลม (1,500 MW) ออกมาแล้วว่า “กระบวนการคัดเลือกนั่น ไม่โปร่งใส ไม่ยุติธรรม และ เป็นเหตุให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ได้” แต่สุดท้ายหลังเลือกตั้ง ในสมัยรัฐบาล เศรษฐา กลับปล่อยให้ขบวนการค่าไฟแพง เดินหน้า จนไปสู่การลงนามสัญญาแสงอาทิตย์ (3,000 MW) กับเอกชนไปเลย ทั้งๆที่ โครงการแสงอาทิตย์ ก็มีกระบวนการคัดเลือกที่ ไม่เปิดประมูล และ ไม่มีหลักเกณฑ์ปัจจัยคำนวนคะแนนเทคนิคเหมือนกัน ตั้งแต่ ต.ค. 66
แต่สัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่รัฐบาลยังไม่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าอีกประมาณ 1,500 MW กำลังจะกลับมาถึงกำหนดการลงนามสัญญาอีกครั้ง แล้วรัฐบาลทำอะไรได้บ้าง เพื่อหยุดยั้ง ขบวนการค่าไฟแพงนี้ ขอไปเล่าต่อต่อ มหากาพย์ขบวนการค่าไฟแพง (3) ตอนถัดไป
โฆษณา