7 เม.ย. เวลา 08:55 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

สมองที่ฝ่อมาแล้วจะกลับมามั้ย? แล้วถ้ามันสร้างเซลล์ใหม่ไม่ได้แล้วจะทำยังไง? โพสต์นี้มีคำตอบค่ะ

.
ถ้าใครตามเพจนี้ประจำ จะทราบว่าเครียดเรื้อรังและโรคจิตเวชต่างๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า มีการเปลี่ยนแปลงทางสมองจริง ไม่ได้มโนไปเอง
กล่าวคือมีบางจุดมีขนาดเล็กลงจริง ฝ่อจริง ทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา ดังนั้นมันไม่ใช่แค่สารสื่อประสาทเปลี่ยน
.
ก่อนที่จะตอบคำถาม เราต้องมาคุยกันก่อนค่ะว่า ฝ่อที่ว่าคืออะไร?
.
ฝ่อ (Atrophy) เป็นศัพท์เชิงเนื้อเยื่อที่หมายถึงบริเวณนั้นมีขนาดเล็กลง ในงานวิจัยโรคทางจิตเวชส่วนใหญ่ ข้อมูลได้มาจากการตรวจพิเศษหลายแบบ เช่น fMRI
.
แล้วถ้าเราพบว่า “ตรงนั้นฝ่อ” ในเชิงระดับเซลล์มันเกิดอะไรขึ้นล่ะ?
มันมีได้สองแบบเลยค่ะ
1. แค่แตกแขนงน้อยลง (Decreased plasticity)
2. เซลล์มีจำนวนลดลงจากการตา-ย (Neuronal death)
.
ซึ่งถ้าไม่ได้เป็นโรครุนแรงมากๆ แบบกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), โรคสมองเสื่อม (Neurodegenerative disease) มักจะเป็นกลไกที่ 1 มากกว่า
.
.
ดังนั้นมาถึงคำถามแล้วค่ะว่า
สมองมันฟื้นตัวยังไง?
.
.
1️⃣ แตกแขนงน้อยลง
👉 เมื่อขจัดต้นเหตุออกไป เดี๋ยวเซลล์ประสาทมันจะกระตุ้นกันแรงขึ้น แล้วเปิดกลไกงอกค่ะ
👉 งอกที่ว่าคือ ปลายประสาท (axon) จะไปเชื่อมต่อกันหนาแน่นมากขึ้น เรียกกลไกนี้ว่า neuroplasticity
👉 หนาแน่นที่ว่า อาจจะหมายถึง เซลล์ประสาท คู่เดิม เชื่อมต่อกันแน่นขึ้น หรือเซลล์ประสาทคู่ใหม่มาเชื่อมกันก็ได้
👉 ดังนั้นถ้าเป็นการฝ่อแบบนี้ไม่มีปัญหาค่ะ
.
.
2️⃣ มีการตา-ยของเซลล์ประสาท
👉 ถ้าเซลล์ประสาทที่ว่าเป็นสมองส่วน hippocampus (DG) จะไม่มีปัญหาค่ะ เพราะตำแหน่งนี้ยังแบ่งตัวสร้างเซลล์ใหม่ได้ คำถามคือ แล้วถ้าส่วนอื่นล่ะ
👉 ส่วนอื่นจะใช้กลไกข้อ 1 เป็นหลักเลยค่ะคือ ให้เซลล์ที่เหลืออยู่เพิ่ม neuroplasticity เชื่อมกันรุนแรงขึ้น
👉 บางครั้งจุดที่เสียหายไป จะมีการเชื่อมต่อ “ใหม่” กับเซลล์ประสาทส่วนอื่นที่ทำคนละหน้าที่ ดังนั้นมันสามารถปรับวงจรใหม่ให้เซลล์ประสาทส่วนอื่นมาช่วยได้
👉 ถ้าความเสียหายรุนแรงมาก (มักเจอในโรคอื่นมากกว่า) บรรดาเซลล์ช่วยเหลือ (glial cells) จะเข้ามาทำงานเยอะขึ้น บางครั้งจะสร้างพังผืดมาทดแทน เพราะเซลล์ใหม่มาไม่ได้แล้ว เสริมอย่างอื่นแทน
👉 ความหวังคือ บริเวณที่เรียกว่า Subventricular zone (SVZ) ที่ยังมีเซลล์ต้นกำเนิดอยู่ อาจจะอพยพมาแบ่งเซลล์ช่วยได้ แต่หลักฐานในมนุษย์ผู้ใหญ่ยังไม่เคลียร์
.
.
.
ดังนั้นโดยสรุปคือ สมองที่เสียหายไป ฝ่อไป มันสามารถกลับมาได้ด้วยวิธีต่างกัน อาจจะสร้างเซลล์ใหม่เลย (ได้แค่บางที่) หรือใช้วิธีเอาเซลล์ที่มีอยู่เดิม เชื่อมต่อกันแข็งแรงมากขึ้น ปรับวงจรใหม่ เรียกว่ามี neuroplasticity
ภาพข้างล่างจะชัดเจนมากค่ะว่า มีเซลล์ประสาทแค่ 3 เซลล์เท่าเดิม แต่ต่างกันที่ความหนาแน่นของใยประสาทรับ (dendrite) และใยประสาทที่มาเชื่อมจากเซลล์อื่น (Axon) มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดค่ะ
.
แต่ไม่ว่าสมองจะปรับตัวแบบไหน ในเชิงการทำงาน มักจะกลับมาได้ค่ะ ถ้ารักษาและปรับตัวได้ในระยะยาว เป็นกำลังใจให้ค่ะ
โฆษณา