Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Supawan’s Colorful World
•
ติดตาม
8 เม.ย. เวลา 08:09 • ท่องเที่ยว
Beijing 2025 (10) หอสักการะฟ้าเทียนถาน สถานที่ที่โอรสแห่งสวรรค์วอนขอกับฟ้า
“หอสักการะฟ้าเทียนถาน” (Tian Tan Temple of Heaven) หรือ เทียนตี้ถัน(จีนตัวย่อ: 天坛; จีนตัวเต็ม: 天壇) .. เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่โด่งดังอีกแห่งหนึ่งภายในเมืองปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน …
.. เป็นสถานที่ประกอบพิธีบวงสรวงที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ ได้รับการยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นมรดกโลกในปี 1998 ในฐานะของสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมการวางผัง และด้านวัฒนธรรม
“หอสักการะฟ้าเทียนถาน” สร้างโดย “จักรพรรดิหย่งเล่อ” (ครองราชย์ 1402-1424) ในสมัยราชวงศ์หมิง (1368-1644) บนพื้นที่กว้างขวางโอ่อ่า 2.7 ล้านตารางเมตร หรือ 1,668.75 ไร่ (ใหญ่กว่าพระราชวังต้องห้ามถึง 4 เท่า) ใช้เวลาก่อสร้างระหว่างปี 1406-1420 หรือนาน 14 ปีจึงแล้วเสร็จ เพื่อใช้ประกอบพิธีบวงสรวงต่อสวรรค์ตามคติความเชื่อของจีนโบราณ
.. โดยสร้างตามคติความเชื่อที่ว่า “จักรพรรดิเป็นโอรสแห่งสวรรค์” ผู้เป็นโอรสก็ย่อมต้องบูชาฟ้าหรือสวรรค์อันเป็นแหล่งกำเนิดของตน กล่าวอีกอย่าง ฟ้าหรือสวรรค์ได้ส่งตนให้จุติมายังโลกเพื่อปกครองมนุษย์ ตนก็ย่อมมีหน้าที่บูชา สื่อสารกับท้องฟ้าไปด้วย
ความเชื่อดังกล่าวมีมาตั้งแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์แล้ว แต่ละยุคต่างทำพิธีผ่านหอฟ้า .. สมัยราชวงศ์โจวตะวันออก (770-221 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีบันทึกถึงแท่นบูชาฟ้า ซึ่งในเวลานั้นเป็นเพียงเนินดินลักษณะวงกลม, ราชวงศ์ฉิน (221-207 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มีประเพณีเดินทางไปบูชาฟ้าที่เขาไท่ซาน แต่ภายหลังมีการสร้างสถานที่เพื่อการสักการะโดยเฉพาะขึ้นแทน, ราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช-ค.ศ. 220) เริ่มมีก่อสร้างอาคารฐานสี่เหลี่ยม ที่ตั้งอยู่กลางสระน้ำรูปวงกลม
สำหรับบูชาฟ้า, ราชวศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) พระนางบูเช็กเทียน มีบันทึกว่า การสร้างวิหารไม้ขนาดใหญ่ (สูงประมาณ 88 เมตร บนฐานกว้าง 90 เมตร) เป็นหอบูชาฟ้า
ส่วน เทียนถาน ที่สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ในระยะแรกเป็นเพียงหมู่อาคารธรรมดา ไม่ต่างจากวัดจีนทั่วไป .. จนถึงรัชกาล “จักรพรรดิเจียจิ้ง” (ค.ศ. 1521-1566) จึงรับสั่งให้สร้าง “แท่นบูชาฟ้า” หรือ “เทียนถาน” และด้วยความเลื่อมใสลัทธิเต๋า หอบูชาฟ้าในรัชกาลนี้จึงสร้างโดยใช้สัญลักษณ์จำลองแทนฟ้า เพื่อสะท้อนจักรวาลของจีนโบราณ
ทั้งบริเวณลานประตูตะวันออกของเทียนถานยังนำหิน 7 ก้อน มาวางตามคำแนะนำของนักบวชเต๋า เพื่อแสดงสัญลักษณ์ บ้างว่าเป็นสัญลักษณ์แทนหมู่ดาวไถ 7 ดวง (ตามลัทธิเต๋าเชื่อว่าเป็นดาวกษัตริย์) …
บ้างว่าแทนยอดเขาสำคัญทั้ง 7 จีน แต่ปัจจุบันมีหินวางอยู่ 8 ก้อน ที่หมายถึงยอดเขาฉางป๋ายซาน อันเป็นถิ่นกำเนิดของชาวแมนจู หินก้อนที่ 8 นี้ ถูกนำมาวางตามรับสั่งของ “จักรพรรดิเฉียนหลง”
“การบูชาฟ้า” หรือการทำพิธีบวงสรวงฟ้าดิน ขอพรจากสวรรค์ .. ถือเป็นประเพณีที่สำคัญยิ่งของจักรพรรดิจีน มีความสำคัญมากในแง่ของการสร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชน โดยเป็นการขอให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ รวมถึงปีที่เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ ไม่ว่าจะภัยแล้งหรืออุทกภัย ก็จะจัดทำพิธีเพื่อขอความกรุณาจากเบื้องบนเพื่อบรรเทาภัยให้ลดลง โดยจักรพรรดิจะเสด็จมาประกอบพิธีบูชาฟ้าที่นี่ปีละ 2 ครั้งในฤดูใบไม้ผลิ และฤดูหนาว
ราชพิธีนี้จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ และจักรพรรดิจักต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จะหลีกหนีไม่ปฏิบัติไม่ได้ หาไม่แล้วจะไม่เป็นมงคลต่อตัวจักรพรรดิเองและต่อบ้านเมือง
ทุกครั้งที่มีราชพิธีนี้จักรพรรดิจักทรงงดเสวยเนื้อสัตว์ และทรงเสื้อคลุมที่ใช้สำหรับราชพิธีนี้เป็นการเฉพาะ ส่วนการประกอบราชพิธีนี้จะมีองค์จักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์เข้าร่วม ห้ามมิให้ราษฎรเข้าร่วมโดยเด็ดขาด
.. ซึ่งความเชื่อที่ยึดถือกันมาแต่โบราณนี้จะจริงหรือไม่จริงก็ตามที แต่คนโบราณก็ถือปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง
“หอฟ้าเทียนถาน” ที่สร้างโดยหย่งเล่อนี้ถือเป็นหอฟ้าที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี .. ด้วยความสำคัญของพิธีบวงสรวงนี้ทำให้ราชวงศ์ถัดมาได้สืบทอดธรรมเนียมประเพณี และดูแลรักษารวมถึงซ่อมแซมหอสักการะฟ้าเทียนถานแห่งนี้เรื่อยมาจนสามารถตั้งอยู่อย่างสง่างามมาจนทุกวันนี้
Photo : นิตยสารศิปวัฒนธรรม
หอสักการะฟ้าเทียนถาน คำว่าเทียน (天) ในชื่อเทียนถาน หมายถึง ฟ้า ส่วนคำว่าถาน (壇) หมายถึง .. แท่นบูชา เคยสร้างและถูกทำลาย และเสียหายหลายครั้ง แต่ก็บูรณะขึ้นใหม่ทุกครั้ง .. เช่น ช่วงที่กองทัพของพันธมิตร 8 ชาติบุกโจมตีจีนในสมัยปลายราชวงศ์ชิงในปี 1900 นั้น ที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งกองบัญชาการชั่วคราวของกองทัพ 8 ชาติ เป็นต้น
จนถึงช่วงปี 1918 จีนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองส่งผลให้หอสักการะแห่งนี้ไม่ได้ใช้ประกอบพิธีกรรมอีกต่อไป แต่เปิดเป็นสวนสาธารณะให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวทั้งหลายได้เข้ามาชมความงดงาม และทำกิจกรรมต่าง ๆรอบหอสักการะฟ้าเทียนถามแห่งนี้
หลังจากที่ราชวงศ์ชิงล่มสลายแล้ว หอฟ้าก็ขาดการดูแลจนทรุดโทรมลง .. จนพรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดอำนาจการปกครองจีนได้ในปี 1949 แล้ว หอฟ้าจึงได้รับการบูรณะจนมีสภาพสมบูรณ์สง่างามมาจนทุกวันนี้
ตั้งแต่เริ่มนั้นเทียนถานใช้เป็นสถานที่บูชาทั้งฟ้าและดิน .. จนมาถึงสมัยของจักรพรรดิเจียจิ้ง (ครองราชย์ 1521-1567) แห่งราชวงศ์หมิง ได้มีการสร้างหอสุริยัน (ญื่อถัน) หอจันทรา (เยี่ว์ยถัน) และหอโลกา (ตี้ถัน)แยกออกไปต่างหาก เทียนถานจึงเหลือชื่อเรียกเพียงหอบูชาฟ้าซึ่ง ... หอทั้งสามนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศเหนือตามลำดับ
ด้านหน้าาำทางเข้าหลัก มีช่องทาบเดินเข้าด้านใน ผ่านซุ้มขอบกำแพงสีแดงขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะเหมือน Pavillian
เมื่อผ่านซุ้มกำแพงรอบนอก จะพบกับลานกว้าง พื้นปูด้วยหิน เป็นทางเดินที่มีซุ้มประตูอีกชั้นหนึ่ง
ซุ้มประตูทางเข้า 3 ช่องทาง .. เข้าใจว่า ช่องทางตรงกลางเป็นทางเดินสำหรับจักรพรรดิในสมัยโบราณ เมื่อเข้ามายังพื้นที่ด้านใน
รอบๆพื้นที่หอสักการะ ล้อมรอบไปด้วยต้นไป๋ที่มีอายุมากกว่าร้อยปีจำนวน 4,000 ต้น
หอสักการะฟ้าเทียนถาน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานการออกแบบทางสถาปัตยกรรม และออกแบบภูมิทัศน์ที่มีอิทธิพลต่ออารยธรรมตะวันออกมาหลายศตวรรษ ซึ่งสถานที่สำคัญที่ถูกสร้างขึ้นมานั่นล้วนมีความงดงาม และน่าทึ่งอย่างมาก
ภายในอุทยานนี้ก็จะประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างสำคัญๆ 3 แห่งในหอสักการะด้วยกัน เป็นสถานที่สำคัญที่ห้ามพลาดของการมาเที่ยวชมหอสักการะฟ้าเทียนถาน ได้แก่ ..
“หยวนซิวถาน” หรือ “แท่นบวงสรวงฟ้า” (Circular Mound Altar) .. เป็นแท่นบวงสรวงที่อยู่ทางทิศใต้ เป็นที่ที่จักรพรรดิจีนใช้ในพระราชพิธีขอพรฟ้า มีลักษณะเป็นแท่นโล่งเนินทรงกลม ประกอบด้วยฐาน 3 ชั้น สูง 5 เมตร เพื่อแทนมนุษย์ โลก และสวรรค์ ..
แต่ละชั้นปประกอบด้วยแผ่นหินอ่อนสีขาววางเรียงเป็นรัศมีกระจายออก 9 วง แต่ละวงใช้แผ่นหินจำนวนทบ 9 ไปเรื่อยๆ
ตัวฐานสร้างจากหินอ่อนสีขาว ล้อมด้วยรั้วแกะสลักลวดลายเมฆ และมังกร .. บนฐานชั้นบนสุดของแท่นบวงสรวงฟ้าจะมี “เทียนซินสือ” หรือ “หินในกลางสวรรค์” ซึ่งแผ่นหินรูปทรงกลมตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลาง เป็นตัวแทนของหัวใจแห่งฟ้า
จุดนี้ เป็นจุดไฮไลท์ยอดนิยมที่เหล่านักท่องเที่ยวทั้งหลายจะต้องมา เพราะความพิเศษของหินก้อนนี้ถ้าเราพูดจะได้ยินเสียงสะท้อนกลับมาทันที นอกจากนี้ยังมีเตาเผาสร้างด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว และเตาเผาเหล็กเรียงกัน 8 เตา เพื่อใช้เผาเครื่องบูชาในการทำพิธีบวงสรวง
“ตำหนักหวงฉุงหยีว์” หรือตำหนักเทพสถิต (ตรงกลาง) .. ตำหนักแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ.2073 สมัย “จักรพรรดิเจียจิ้ง” แห่งราชวงศ์หมิง เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานแผ่นป้ายของเทพเจ้าต่าง ๆใช้ในการสักการะบวงสรวงฟ้าหรือสวรรค์ ได้แก่ เทพเจ้าฟ้าดิน พระอาทิตย์ และพระจันทร์
หลังคามุงด้วยกระเบื้องสีน้ำเงิน ซึ่งมีความสูง 19 เมตร
ตัวอาคารของตำหนักแห่งนี้อยู่ตรงกลางของหอสักการะ เป็นอาคารมีสัณฐานกลมนี้มีชื่อเสียงโด่งดัง เพราะกำแพงทรงกลมที่ล้อมรอบอาคาร ที่แสดงความสามารถของช่างโบราณที่ทำให้กำแพงที่มีความพิเศษสามารถสะท้อนของเสียงกับกำแพงโค้งโดยรอบไปอีกฝั่งหนึ่งของกำแพงได้
ดังนี้หากมีใครไปยืนกระซิบเบาใกล้ๆ กำแพง คนที่อยู่ริมกำแพงเหมือนกันจะได้ยินเสียงกระซิบนั้น และหากเรายืนอยู่ในตำแหน่งแกนกลางโดยหันหน้าเข้าภายในอาคาร
… เมื่อปรบมือ 1 ครั้ง จะได้ยินเสียงสะท้อนกลับมา 3 ครั้ง หากในอดีตนี่คือความศักดิ์สิทธิ์ที่เพิ่มบารมีให้กับเทียนถาน
สะพานตันปี้ (Danbi Bridge ตันปี้เฉียว) .. เป็นชื่อของสะพานที่ตั้งอยู่ด้านเหนือของหวงฉงอี่ว์ ใช้เดินจากตำหนักสักการะไปยัง “ตำหนักฉีเหนียนเตี้ยน” โดยมีทางยาวเดิน 360 เมตร
ความพิเศษของสะพานแห่งนี้ ทางเดินจะค่อย ๆสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากทิศใต้สูง 1 เมตร และสูงขึ้นเรื่อย ๆจนถึงปลายทางทิศเหนือสูงสุดถึง 4 เมตร ทั้งนี้เปรียบเสมือนว่ากำลังเดินทางขึ้นไปบนสรวงสวรรค์
ทางเดินของสะพานนี้ยกพื้นขึ้นเป็นแท่นสูง 2.5 เมตร เวลาเดินจึงให้ความรู้สึกเสมือนกว่ากำลังเดินสู่เบื้องบน ที่ปลายของสะพานเป็นอาคารที่สำคัญที่สุดของเทียนถาน
“ตำหนักฉีเหนียนเตี้ยน” หรือตำหนักสักการะ (ทางเหนือ) เป็นตำหนักหลัก ที่โดดเด่น ยิ่งใหญ่ และมีความสำคัญมาก ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีบวงสรวงนั่นเอง
“ตำหนักฉีเหนียนเตี้ยน” มีขนาดใหญ่ที่สุดของหมู่อาคารเทียนถาน จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของหอบูชาฟ้าเทียนถาน … ตัวหอสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง มีความสูง 3 ชั้น ตั้งบนฐานหินหยกขาว มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 32.5 เมตร และสูง 38 เมตร โดยไม่มีการใช้ตะปูในการก่อสร้างแม้แต่ตัวเดียว ตำหนักสักการะแห่งนี้สร้างอยู่ทางทิศเหนือ
ตำหนักแห่งนี้ใความงดงามวิจิตรด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรม และความยิ่งใหญ่อลังการของหอสักการะ มีลักษณะเป็นทรงกลม ซึ่งหมายถึงโลกมนุษย์ .. หลังคามุงด้วยกระเบื้องสีน้ำเงินเข้ม ซึ่งหมายถึง สวรรค์
ตัวอาคารทำด้วยไม้ทรงกระบอกสูง 40 เมตร สร้างซ้อนกัน 3 ชั้น หลังคาสร้างโดยไม่มีการใช้ขื่อคานขวางกลาง จึงสามารถมองเห็นฝ้าเพดานสูงสุดของหลังคาได้
ภายในวิหารฉีเหนียนเตี้ยนมีเสา 28 ต้น แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นในสุด 4 ต้น แทนฤดูกาลทั้ง 4 ชั้นถัดออกมามี 12 ต้น แทนเดือนทั้ง 12 เดือน และชั้นสุดท้ายอีก 12 ต้น แทนเวลาทั้ง 12 ชั่วยาม
ภายในอาคารมีเสากลางขนาดใหญ่ 4 ต้น ซึ่งหมายถึง 4 ฤดูกาล .. ภายนอกชั้นแรกมีเสา 12 ต้น หมายถึง 12 เดือน และอีก 12 ต้นที่อยู่ด้านนอกสุดหมายถึงเวลา 12 ชั่วยามในหนึ่งวัน
ในส่วนของฟ้าเพดานจะเป็นรูปมังกร 9 ตัว ภายในตำหนักจะมีบัลลังก์มังกร และป้ายจารึกเทพบิดรผานกู่ตั้งอยู่ .. เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวอันศักดิ์สิทธิ์ที่โด่งดังมากที่สุดในจีน
ภายในหอสักการะ มีกำแพง 2 ชั้น .. ซึ่งออกแบบตามความเชื่อที่ว่า “แผ่นฟ้าโค้ง ผืนดินเหลี่ยม และฟ้าสูง แผ่นดินต่ำ” จึงทำให้กำแพงด้านทิศเหนือถูกสร้างให้สูงกว่าทิศใต้ และมีลักษณะครึ่งวงกลม ส่วนด้านใต้จะต่ำกว่า และมีลักษณะเป็นทรงเหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเรียกว่า “กำแพงฟ้าดิน” นั่นเอง
หอสักการะฟ้าเทียนถาน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีอายุมากกว่า 600 ปี นอกจากจะมีงดงามด้วยสถาปัตยกรรมแล้ว ยังแฝงไปด้วยค่านิยม ความคิด และความเชื่อของชาวจีนที่สืบทอดกันมา และคงอยู่มาจนถึงช่วงค.ศ. 1918
หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการปกครองครั้งใหญ่ หอฟ้าเทียนถานได้กลายไปเป็นสวนสาธารณะที่ต้อนรับประชาชนและนักท่องเที่ยว ได้รับการยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นมรดกโลกในปี 1998
ไจกง ตำหนักสุดท้ายของเทียนถาน ที่มักเรียกกันว่า “วังต้องห้ามน้อย” เพราะก่อนที่จะมีพระราชพิธีบูชาฟ้า จักรพรรดิจะเสด็จมาประทับแรมถือศีลกินเจที่ตำหนักไจกงล่วงหน้า 3 วัน
ส่วนจักรพรรดิองค์สุดท้ายที่ประกอบพิธีบูชาฟ้ากลับไม่ใช่ปูยี-จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชสำนักจีน แต่เป็น “หยวนซื่อข่าย” ขุนพลผู้ทรยศรชวงศ์จีน ที่สถาปนาขึ้นเป็นฮ่องเต้ 83 วัน
สุดท้าย ... ขณะที่อาคารส่วนใหญ่ในโลกสร้างขึ้นเพื่อมนุษย์ เทียนถานสร้างขึ้นเพื่อ “ฟ้า”
Seven-Star Stone ณ พื้นที่ด้านข้างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของหอสักการะ .. โดยในสมัยของจีกรพรรดิเจียเจี้ยง มีการนำหินแกรนิตมาสลักเป็น 7 ยอดของภูเขาเทียนซาน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการเข้ามาของของจักรวรรดิ์แมนจู
Ref เนื้อความบางส่วนจาก:
https://www.silpa-mag.com/history/article_73755
บันทึก
3
1
4
3
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย