15 เม.ย. เวลา 04:45 • การศึกษา

ทรัมป์ ระงับเงินทุน 73,000 ล้าน แก่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพราะไม่ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของรัฐบาล

ล่าสุดรัฐบาลของโดนัลด์ ทรัมป์ ได้สั่งระงับเงินทุนสนับสนุนระยะยาวมูลค่า 2,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 73,700 ล้านบาท ที่จะมอบให้มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ และร่ำรวยที่สุดของสหรัฐฯ
1
เนื่องจากทางมหาวิทยาลัย ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลหลายอย่าง ตั้งแต่
- ขอความร่วมมือให้ดำเนินการต่อสู้กับการเหยียดชาวยิว และห้ามมีประท้วงต้านชาวยิว ในมหาวิทยาลัย
- การปฏิรูปโครงสร้างการบริหาร
- การยุติโครงการส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียม (DEI)
- การเปลี่ยนนโยบายรับนักศึกษาเข้าเรียน และการจ้างงาน
- การควบคุมอิทธิพลของกลุ่มนักศึกษา คณาจารย์ หรือผู้บริหาร ที่มีแนวคิดบางประเภท
5
เหตุผลที่ทางมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปฏิเสธคำเรียกร้องของรัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งหมด เพราะว่าทางมหาวิทยาลัยมองว่า แม้บางข้อเรียกร้อง จะเกี่ยวข้องกับการต่อต้านการเหยียดชาวยิว
1
แต่ข้อเรียกร้องส่วนใหญ่ เป็นความพยายามแทรกแซงสภาพแวดล้อมทางความคิดของมหาวิทยาลัย กลุ่มคณาจารย์ และนักศึกษา รวมถึงล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ
“จะไม่ยอมจำนนต่อการแทรกแซงจากรัฐบาลกลาง หรือการละเมิดสิทธิภายใต้รัฐธรรมนูญ” อลัน การ์เบอร์ ประธานมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าว
4
ซึ่งนอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแล้ว ยังมีมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งในสหรัฐฯ เช่น มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) ที่รัฐบาลสหรัฐฯ เรียกร้องให้ดำเนินการต่อสู้กับการเหยียดชาวยิว และทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อแลกกับเงินทุนสนับสนุน
1
อย่างมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ก็ยอมทำตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลสหรัฐฯ หลังจากรัฐบาลประกาศระงับเงินทุน 400 ล้านดอลลาร์ หรือ 13,400 ล้านบาท เช่น
- ห้ามสวมหน้ากากในมหาวิทยาลัย
- ขยายอำนาจตำรวจในมหาวิทยาลัย
- ตั้งผู้บริหารอาวุโส ดูแลภาควิชาที่เกี่ยวข้องกับตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และแอฟริกา
3
ขณะที่ทางทนายความของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จากสำนักงาน Quinn Emanuel และ King & Spalding ได้ส่งจดหมายถึงหน่วยงานรัฐบาลกลาง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ ว่า “มหาวิทยาลัยเอกชน ไม่ควรปล่อยให้ตัวเองถูกควบคุมโดยรัฐบาลกลาง”
2
สรุปแล้ว รัฐบาลทรัมป์ กำลังพยายามแทรกแซงมหาวิทยาลัย ด้วยอำนาจทางการเงิน
และใช้ประเด็นต่อต้านการเหยียดชาวยิว ซึ่งเป็นประเด็นละเอียดอ่อน มาเป็นเหตุผลในการเข้าไปควบคุมอุดมการณ์ทางวิชาการ
โดยในระยะยาว เคสนี้ก็อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักวิชาการ และอาจกระทบต่อความร่วมมือด้านทุนวิจัย ระหว่างมหาวิทยาลัย กับรัฐบาล ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของนวัตกรรม รวมถึงวิชาการของประเทศ
4
และอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการถกเถียงเรื่อง ขอบเขตอำนาจของรัฐ ในมหาวิทยาลัยเอกชน ที่ร้อนแรงยิ่งขึ้นในสังคมอเมริกัน
2
ซึ่งก็จะมีทั้งมหาวิทยาลัย ที่เลือกไม่ปฏิบัติตามข้อเรียงร้องของรัฐบาล เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่มีประวัติ หลักการและจุดยืน ในการสนับสนุนสิทธิพลเมือง ความหลากหลาย และแนวคิดเสรีประชาธิปไตย มาโดยตลอด
1
และมีมหาวิทยาลัย ที่เลือกแนวทางประนีประนอม ยอมปฏิบัติตามข้อเรียงร้องของรัฐบาล เพื่อแลกกับเงินทุนมาขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย และการไม่ถูกรัฐบาลสหรัฐฯ เพ่งเล็ง เป็นพิเศษ..
1
โฆษณา