15 เม.ย. เวลา 22:12 • ท่องเที่ยว

Egypt (13) Luxor : Karnak Temple (02)

ปัจจุบัน การเข้าถึงวิหาร Kamak ทำได้โดยผ่านการเพิ่มส่วนต่อขยายในภายหลังของวิหาร ..
วิหารคาร์นักแบ่งได้ 4 ส่วน นับจากทางทิศใต้
วิหารเทพอะมอนรา .. ซึ่งเรียกว่า Central Enclosure อยู่ตรงกลาง ประกอบด้วยหมู่สถาปัตยกรรมของเหล่าฟาโรห์หลายยุค
ส่วนที่สอง .. อยู่ทางทิศเหนือ คือ “วิหารเทพมอนตู” (Montu) เทพองค์นี้เคยเป็นเทพประจำถิ่นนี้มาก่อนเป็นสัญลักษณ์แห่งการรบของฟาโรห์และเทวีมะอัต(Maat)
ส่วนที่สามคือ “วิหารเทวีมัต” (Maat) ทางด้านใต้ของวิหารอะมอนรา มีทางเชื่อมต่อถึงกันสองข้างทางประกอบด้วย “สฟิงซ์หัวแกะ” นั่งเฝ้าตลอดทาง ด้วย
ส่วนสุดท้าย เป็นวิหารที่อุทิศให้กับเทพเจ้า Tutu
ประตูแรก (First Pylon #2) .. เป็นประตูที่ยังสร้างไม่เสร็จ จากดำริโดยฟาร์โรห์ Sheshonk จากราชวงศ์ที่ 22 ตามาเริ่มก่อสร้างจริงๆในสมัยของ Nectaneho I แห่งราชวงศ์ที่ 30
ประตูนี้กว้าง 113 เมตร สูง 43 เมตร หนา 15 เมตร บนกำแพงแต่ละด้านมีช่องหน้าต่างขนาดใหญ่ 8 ช่องเปิดอยู่บนป้อมปราการ
The First Court (#3)
ลานแรก ซึ่งสร้างขึ้นด้านหน้าแกนตะวันออก-ตะวันตกที่นำไปสู่วิหารอามุน ระหว่างปลายศตวรรษที่ 14 และ 4 ก่อนยุคของเรา .. เป็นลานกว้างขนาดกว้าง 100 เมตร ลึก 82 เมตร เป็นบริเวณที่ตั้งของวิหารเล็กๆหลายอัน ..
ทางด้านซ้ายเป็นที่ตั้งของวิหารเล็กๆ Shrine of Sety II (#4) อุทิศให้กับ Theban Triad ใช้เป็นที่พักของริ้วขบวนระหว่างงานพิธีแห่เรือศักดิ์สิทธิ์ .. เราไม่มีเวลาพอที่จะเข้าไปดูด้านในค่ะ
ตรงกลางลานมีรูปสลักสิงโตที่มีใบหน้าคล้ายคน ซึ่งอาจจะเป็นรูปสลักของเทพตูตู ซึ่งเป็น "Son of Neith”
Horemheb (1333-1306) ได้สร้างเสาหลักที่สอง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นทางเข้าวิหาร และมีการสร้างอนุสรณ์สถานหลายแห่งไว้ด้านหน้า ราว 1200 ปีก่อนคริสตกาล
Seti II ได้สร้างโบสถ์สำหรับเก็บสิ่งของศักดิ์สิทธิ์ของเรือสามลำแห่ง Thebes ได้แก่ อามุน มูต และคอนซู เพื่อใช้ในงานแห่ประจำปีครั้งยิ่งใหญ่ เช่น งานฉลองอันงดงามแห่งหุบเขาหรือเทศกาลโอเปต
วิหารของฟาร์โรห์รามเสสที่ 2 (#5)
รามเสสที่ 2 ได้สร้างวิหารของเขาด้านหน้าเสาหลักด้านใต้ของเสาหลักที่สอง ซึ่งมีการวางแปลนคล้ายๆกับวิหารของพระองค์ที่ Madinat Habu ทางฝั่งตะวันตกของเมืองธีป
เป็นวิหารที่ยังคงสมบูรณ์อยู่มาก เนื่องจากวิหารนี้เคยจมอยู่ใต้ซากหักพัง จึงไม่ค่อยสึกกร่อนมาก
รูปสลักของรามเสสที่ 2 สวมมงกุฎของสองแผ่นดิน ในท่ายืนอยู่ทั้ง 2 ด้านของประตูทางเข้า ด้านหลังเป็นโถงใหญ่ ภายในมหาวิหารเต็มไปด้วยรูปแกะสลัก ส่วนใหญ่เป็นรูปของฟาโรห์รามเสส II ทั้งเสมือนจริง และในอุดมคติ ตั้งอยู่บนพื้นดินศักดิ์สิทธิ์ .. รูปปั้นมีทั้งตั้งอยู่เดี่ยว ๆ พิงกำแพง
ต่อมา กษัตริย์ทาฮาร์กา (ค.ศ. 690-664) ได้ติดตั้งทางเข้าแบบเสาหินขนาดใหญ่ที่แกนของลานและวางสฟิงซ์ บางส่วนไว้ด้านหน้าเสาหินของราชวงศ์บูบาสติด เพื่อรำลึกถึงฟาโรห์ไว้ตรงกำแพงด้านเหนือและด้านใต้ที่ล้อมรอบ เสาหินทอดยาวจากท่าเทียบเรือไปจนถึงเสาหินที่สอง โดยผ่านระหว่างที่เก็บของบนเรือของเซติลและรามเสสที่ 3
ภายใต้ราชวงศ์ที่ 300 เนคทาเนโบ (ราวๆ ค.ศ. 350 ก่อนยุคของเรา) ได้เริ่มสร้างเสาหินซึ่งปิดด้านตะวันตกของลานใหญ่ เสาหินนี้ยังคงสร้างไม่เสร็จ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้มีเศษอิฐดินเหนียวหลงเหลืออยู่จากทางลาดสำหรับก่อสร้าง
… เราไม่ได้เข้าไปชมด้านในวิหารค่ะ
ในลานวิหารชั้นที่ 1 (#3)
สิ่งน่าสนใจมาก คือเสาขนาดใหญ่สูงราว 19 เมตร 2 แถวๆละ 5 ต้น เคยเชื่อมกันด้วยกำแพงบางๆ ที่สร้างโดย Tahaqa กษัตริย์ชาวนูเบียน แห่งราชวงศ์ที่ 25 ครองราชย์ระหว่าง 690 - 664 ก่อนคริสตกาล
… ซึ่งต่อมาได้รับการบูรณะในสมัยปโตเลมี ในปัจจุบันมีเสาดั้งเดิมแค่ 1 เสาที่สามารถฟ่าแดดลมและฝนมาได้ถึงปัจจุบัน เสาที่เหลือที่เราเห็นเป็นส่วนที่ทำขึ้นมาใหม่
The Second Pylon (#7)
เริ่มก่อสร้างโดยกษัตริย์ Horenheb และสานต่องานก่อสร้างโดยรามเสสที่ 1-2 มาจนถึงสมัยปโตเลมี
รูปสลักด้วยหินแกรนิตสีแดงของรามเสสที่ 2 ในท่วงท่ายืนโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ด้านหน้าของกำแพงที่สองนี้จำนวน 2 อัน ระหว่างเท้าของรูปสลักที่ใหญ่โตอันหนึ่งของพระอง์ มีรูปสลักขนาดเล็กของพระธิดา Bint-anta ปรากฏอยู่
.. นอกจากนี้ยังเคยมีรูปสลักรามเสสที่ 2 อีก 2 อัน แต่ยังคงเหลือให้เห็นเพียงอันเดียว
The Hypostyle Hall (#9)
ห้องโถงไฮโปสไตล์ระหว่างเสาหลักที่ 2 และ 3 มีขนาดกว้าง 103 เมตร ยาว 53 เมตร เสา 134 ต้น
โถงนี้อาจจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่เด่นเท่าที่มีการสร้างศาสนสถานขึ้นมาในอียิปต์ ด้วยเหตุที่ไม่ได้มีความโดดเด่นในเรื่องๆเดียวเหมือนสิ่งก่อสร้างใหญ่โตของสถานที่อื่นๆ
ห้องโถงใหญ่นี้มีพื้นที่ราว 5000 ตารางเมตร
.. แต่ที่นี่มีทั้งความน่าอัศจรรย์ทางแนวความคิด ความสวยงามในรายละเอียด ที่รวมอยู่ในสถานที่เดียว
อีกทั้งจำนวนและความใหญ่โตของเสาที่สูงมาก รวมถึงใกล้ชิดมากๆ มีระยะห่างระหว่าเสาน้อย จนอาจจะทำให้เรารู้สึกอึดอัดไร้พลัง
เสาทั้งหมดต้องการให้สื่อและเป็นสัญลักษณ์ของ “บึงดอกไม้” ชนิดหนึ่ง ชื่อดอก Papyrus ที่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นในแม่น้ำไนล์ในยุคดึกดำบรรพ์
.. ซึ่งในสมัยโบราณเมื่อแม่น้ำไนล์เอ่อล้นตลิ่งและท่วมเข้ามาถึงวิหาร ก็จะมีดอกปาปิรุสนี้ลอยอยู่เต็มโถงนี้เช่นกัน
ว่ากันว่า .. ที่นี่เป็นตัวแทนของหนองน้ำ ปาปิรัส ในยุคดึดดำบรรพ์ ที่เทพอาทุม สร้างขึ้นให้โผล่ขึ้นมาจากน้ำในช่วงเริ่มต้นของการสร้างโลก
โถงกลางหลักมีเสากระดาษปาปิรัสหัวเสา 6 ต้นเรียงกันสองแถว และมีหน้าต่างคลีเรสตอรีที่ส่องสว่างทั้งสองด้าน ..ซึ่งสร้างในสมัยราชวงศ์ที่ 18
แต่พอมาถึงสมัยราชวงศืที่ 19 ได้มีการเพิ่มจำนวนเสาที่เล็กกว่าอีก 122 ต้น ค้ำยันโถงกลางด้านข้างซึ่งมีแสงส่องผ่านช่องเปิดบนเพดาน .. หลังคาได้พังทลายลงมาแล้ว
The Hypostyle Hall .. จากจารึกบนปีกด้านเหนือของห้องโถงบอกว่า .. สร้างจากการริเริ่มของรามเสสที่ 1 ให้เป็นวิหารแยกจากอิเพต-ซุตที่อามุนพบกับเอ็นเนียด แต่มาสร้างจริงในสมัยของฟาร์โรห์ Seti I และการตกแต่งปีกด้านใต้เสร็จสมบูรณ์ โดยฟาโรห์ รามเสสที่ 2 แห่งราชวงศ์ที่ 19
.. โถงแห่งนี้มีขนาด 103 x 52 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ถึง 5,500 ตร.เมตร มีเสาหินทรายทั้งสิ้น 134 ต้น ต้นที่ใหญ่ที่สุดสูงถึง 21 เมตร และเป็นเสาศูนย์กลางหลักที่ค้ำโครงสร้าง
ส่วนเสาอื่น ๆ อีก 122 ต้น สูงประมาณ 12 เมตร หัวเสาเป็นรูปดอกปาปิรุส ตามคานเชื่อมยังปรากฏร่องรอยของงานเขียนสีให้เห็นอยู่บ้าง
รอบๆเสาประกอบด้วยภาพแกะสลัก เป็นรูปภารกิจของฟาโรห์ทั้งเรื่องศาสนาและสงคราม
The Hypostyle Hall ในช่วงเทศกาลประจำปี บรรยายไว้ในข้อความที่จารึกบนขอบประตูว่าเป็น “วิหารแห่งยุคล้านปี” หรือสถานที่ที่มีการเฉลิมฉลอง
พิธีกรรมของราชวงศ์ร่วมกับพิธีกรรมของอามุน การตกแต่งด้วยสีสันภายในแสดงถึงพิธีกรรมที่จัดขึ้นที่นี่ เช่น เทศกาลเรือสำเภาศักดิ์สิทธิ์หรือพิธีกรรมทางศาสนาประจำวัน
ในขณะที่การประดับตกแต่งบนผนังภายนอกแสดงถึงชัยชนะทางการทหารของกษัตริย์เซติที่ 1 ทางด้านเหนือและฟาโรห์รามเสสที่ 2 ทางด้านใต้
ในวันที่ 3 ตุลาคม ~ 1899 เสาสิบต้นล้มลงในส่วนเหนือของห้องโถง
งานก่อสร้างขนาดใหญ่เริ่มขึ้นเกือบจะในทันทีภายใต้การดูแลของจอร์จ เลอเกรนและโมฮัมเหม็ด อาฟานดี ซึ่งได้บูรณะเสาเหล่านี้ดังที่เราเห็นในปัจจุบัน
โฆษณา