16 เม.ย. เวลา 09:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

กล้องเจมส์ เวบบ์ ถ่ายภาพ เนบิวลาดาวเคราะห์ NGC 1514

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ได้ถ่ายภาพเนบิวลาดาวเคราะห์ (planetary nebula) NGC 1514 ได้อย่างละเอียดที่สุดเท่าที่เคยมีมา NGC 1514 อยู่ในกลุ่มดาววัว ห่างจากโลกไปประมาณ 1,500 ปีแสง โดยสังเกตในช่วงอินฟราเรดกลาง (mid-infrared) อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ภาพของเวบบ์ทำให้เห็นความแตกต่างของเนบิวลาได้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะวงแหวนฝุ่นที่มีลักษณะ "พร่ามัว" นอกจากนี้ ให้มองหาช่องว่างในบริเวณสีชมพูตรงกลางซึ่งวัตถุได้ทะลุผ่านเข้าไป
เนบิวลาดาวเคราะห์นี้ได้รับการศึกษาโดยนักดาราศาสตร์มาตั้งแต่ช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 18 นักดาราศาสตร์วิลเลียม เฮอร์เชล บันทึกไว้ในปี 1700 ว่า NGC 1514 เป็นวัตถุท้องฟ้าลึกชิ้นแรกที่ปรากฎว่า มีเมฆปกคลุมจริงๆ เพราะเขาไม่สามารถแยกสิ่งที่เห็นออกเป็นดวงดาวแต่ละดวงภายในกระจุกได้ เช่นเดียวกับวัตถุอื่นๆ ที่เขาจัดหมวดหมู่ไว้
เมื่อดูจากกล้องโทรทรรศน์ เว็บบ์ ได้ส่องเข้าไป มุมมองของเราก็จะชัดเจนขึ้นมากภาพนี้ เกิดขึ้นมาอย่างน้อย 4,000 ปีแล้ว และจะเปลี่ยนแปลงต่อไปอีกหลายพันปี ตรงกลางมีดาว 2 ดวงที่ปรากฎเป็นดวงเดียวตามการสังเกตของเว็บบ์ และมีแสงสะท้อนที่เจิดจ้าเป็นประกาย ดาวเหล่านี้โคจรรอบดาวฤกษ์ในวงโคจรที่แคบและยาวเป็นเวลา 9 ปี และปกคลุมไปด้วยฝุ่นที่โค้งเป็นสีส้ม
NGC 1514 ยังโดดเด่นด้วยสิ่งที่หายไป คาร์บอนและสารที่มีลักษณะซับซ้อนกว่า ซึ่งเป็นสารคล้ายควันที่เรียกว่า โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbons) พบได้ทั่วไปในเนบิวลาดาวเคราะห์ (เปลือกก๊าซเรืองแสงที่ขยายตัวซึ่งถูกขับออกโดยดาวฤกษ์ในช่วงท้ายอายุ)
สารทั้งสองชนิดไม่ถูกตรวจพบใน NGC 1514 โมเลกุลที่ซับซ้อนกว่านี้อาจไม่มีเวลาก่อตัว เนื่องจากวงโคจรของดาวฤกษ์สองดวงที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งทำให้สารที่ขับออกมาปะปนกัน องค์ประกอบที่เรียบง่ายกว่ายังหมายความว่า แสงจากดาวฤกษ์ทั้งสองดวงสามารถส่องไปได้ไกลกว่ามาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่เราเห็นวงแหวนคล้ายเมฆที่จางๆ
แปลและเรียบเรียงโดย
One To Many - A Brief Science
.
แหล่งอ้างอิง
[1] With NASA's Webb, Dying Star's Energetic Display Comes Into Full Focus
โฆษณา