บูสเตอร์ Shepard รุ่นใหม่ของ Blue Origin
ในอดีต เมื่อจรวดส่งยานหรือดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ ส่วนที่เป็นบูสเตอร์ (หรือจรวดขั้นแรก) มักถูกทิ้งให้ตกลงมาในมหาสมุทรหรือเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ กลายเป็นเศษซากอวกาศที่ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ได้ก้าวข้ามขีดจำกัดนั้นไปอย่างน่าอัศจรรย์
(วิวัฒนาการของจรวด🚀🚀)
หนึ่งในตัวอย่างที่โดดเด่นล่าสุดคือ ▪️▪️◾
New Shepard ของ Blue Origin NS-31
ได้เองอย่างแม่นยำราวกับเวทมนตร์ บูสเตอร์ใช้ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ ผสานกับแรงขับย้อนกลับ (retro-thrust) และระบบขาตั้งช่วยทรงตัวแบบพับได้ ที่กางออกในช่วงสุดท้ายของการ
ลงจอด เพื่อให้สามารถแตะพื้น ฐานที่กำหนดไว้
อย่างนุ่มนวลและปลอดภัย
เทคโนโลยีนี้ไม่เพียงแค่สวยงามและล้ำยุคเท่านั้น แต่ยังปฏิวัติแนวคิดเรื่อง “การใช้ซ้ำ” มีผลอย่างมากต่อค่าใช้จ่ายและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
💢 ปัจจุบันมีเพียง 2 บริษัท และจรวดเพียง 3 รุ่น
ในโลก ที่ใช้งานแล้วสามารถนำบูสเตอร์กลับมา
ใช้ใหม่ได้จริง▪️▪️◾
🚀 SpaceX – Falcon 9
Falcon 9 เป็นผู้บุกเบิกการนำบูสเตอร์กลับมาใช้งานอีกครั้งด้วยความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่หลายร้อยเที่ยวบิน บูสเตอร์ของ Falcon 9 สามารถลงจอดบนพื้นดินหรือเรือโดรนกลางมหาสมุทรอย่างแม่นยำ จนกลายเป็นภาพจำของการสำรวจอวกาศยุคใหม่
🚀 Blue Origin – New Shepard
ใช้ในภารกิจท่องเที่ยวอวกาศและการทดลองในสภาวะไร้น้ำหนัก ความพิเศษคือการขึ้น-ลงแนวดิ่ง โดยใช้การควบคุมอัตโนมัติทั้งหมดเหมือนที่เห็น
ในคลิบวีดีโอ
🚀 SpaceX – Falcon Heavy (บูสเตอร์ด้านข้าง)
แม้จะใช้โครงสร้างเดียวกับ Falcon 9 แต่ Falcon Heavy มีบูสเตอร์ด้านข้าง 2 ตัวซึ่งสามารถบินกลับและลงจอดพร้อมกันแบบประสาน เหมือนฉากจากภาพยนตร์ไซไฟ นี่คือการแสดงพลังของการควบคุมที่แม่นยำในระดับสูง
🚀Blue Origin – New Glenn (อนาคตอันใกล้)
New Glenn คือความหวังครั้งใหญ่ของ Blue Origin สำหรับการขนส่งภารกิจขนาดใหญ่สู่วงโคจร ด้วยบูสเตอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าทั้ง Falcon 9 และ Falcon Heavy และออกแบบมาเพื่อใช้งานซ้ำได้หลาย
สิบครั้ง การเปิดตัวครั้งแรก ยังไม่สำเร็จในการนำ
บูสเตอร์กลับมาลงจอด แต่คาดว่าอีกไม่นาน
จะเป็นคู่แข่งที่แข็งแกร่งของ SpaceXใน
ตลาดอวกาศเชิงพาณิชย์
จรวดนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 🚀🌫️🌫️