17 เม.ย. เวลา 14:55 • หุ้น & เศรษฐกิจ
บริษัทระดับโลก ที่จะผ่านยุคทรัมป์ไปได้ คือ บริษัทที่มีโมเดลธุรกิจแบบ Localization
วันนี้อยู่ดีๆ ก็ตกผลึกความคิดระหว่างล้างจานได้ว่า ธุรกิจที่ได้ประโยชน์จาก Globalization ย้ายโรงงานไปประเทศค่าแรงต่ำ ตอนนี้กำลังโดนทรัมป์ไล่ต้อน
ฉะนั้นถ้ามองในมุมกลับกัน ก็แปลว่า ขั้วโมเดลธุรกิจตรงข้ามอย่าง Localization ก็อาจได้ผลประโยชน์แทน
แต่โมเดลแบบ Localization ไม่ได้แปลว่า ปรับไปตามท้องถิ่นในแต่ละประเทศแค่อย่างเดียว
เพราะจริงๆ แล้ว แปลว่า มีโมเดลธุรกิจที่คัดลอกและทำซ้ำในแต่ละประเทศได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาประโยชน์จาก Globalization
1
พอมองแบบนี้ลึกเข้าไปอีก เราก็จะสามารถตัดธุรกิจอื่นออกไป ให้เหลือแค่ธุรกิจที่มีโมเดลแบบ Localization แค่อย่างเดียวได้ แบบเช่น โคคา โคลา
โคคา โคลา มีโมเดลธุรกิจแบบขายหัวเชื้อให้บรรดาผู้บรรจุขวดในพื้นที่ต่าง ๆ
กำไรก็แบ่งกันไปให้กับบรรดาผู้รับสิทธิ์บรรจุขวดในพื้นที่ต่าง ๆ
ต่างจากธุรกิจที่พึ่งพา globalization ที่ใช้ประโยชน์จากค่าแรงต่ำในประเทศต่าง ๆ เพื่อทำให้บริษัทแม่รักษากำไรที่สูงเอาไว้ได้
นอกจากโคคา โคลาแล้ว โมเดลธุรกิจที่เป็นแบบนี้อีก ก็ต้องเป็นธุรกิจที่ทำซ้ำได้ในแต่ละประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานราคาถูกเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น พวกธุรกิจแพลตฟอร์มอะไรต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีสินค้าหลักเป็นสิ่งของจากโรงงาน แต่เป็นสินค้าที่ไม่มีตัวตน บนโลกออนไลน์แทน
แต่สิ่งหนึ่งที่อาจต้องระวัง คือ บริษัทที่ใช้โมเดล localization แบบแฝง เช่น Amazon ที่มีทั้งขา E-commerce และระบบคลาวน์ AWS
แม้ดูเหมือนว่า amazon เป็นธุรกิจขายคลาวน์ ที่เป็นสินค้าไม่มีตัวตน แต่อีกขาของ e-commerce ก็ต้องพึ่งพาโรงงานผลิตสินค้าจากทั่วโลกอยู่ดี
ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ก็ต้องเข้าใจโมเดลธุรกิจของบริษัทมากขึ้นว่าเป็นแบบนี้ และที่สำคัญคือ เข้าใจห่วงโซ่อุปทานของบริษัท ว่ามีความสัมพันธ์กับแต่ละพื้นที่บนโลกอย่างไรบ้าง
โฆษณา