Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Supawan’s Colorful World
•
ติดตาม
18 เม.ย. เวลา 01:16 • ท่องเที่ยว
Egypt (16)
Egypt (16) Luxor : Hatshepsut ฮัทเซ็บซุส จอมกษัตรีแห่งอียิปต์ (ศึกสายเลือด)
***ประติมากรรมรูปพระนางแฮตเชปซุต แสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะมหานคร (Metropolitan Museum of Art) นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
“ฮัตเชปซุต” (Hatshepsut) คือ “ฟาโรห์สตรี” ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของอียิปต์โบราณ ทรงปกครองบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองเป็นระยะเวลายาวนานกว่าฟาโรห์หญิงองค์อื่นใดในประวัติศาสตร์
ทว่านักประวัติศาสตร์ มักจะให้แฮตเชปซุตรับบทพระราชมารดาเลี้ยงใจร้ายของฟาโรห์ทุตโมสที่สาม
… เนื่องจากเชื่อว่า .. เมื่อทุตโมสที่สามได้ครองราชบัลลังก์ก็ทรงล้างแค้นพระราชมารดาเลี้ยง โดยมีพระบัญชาให้ทุบทำลายอนุสาวรีย์ของพระนาง และสกัดพระนามของแฮตเชปซุตในฐานะฟาโรห์ออกจากอนุสรณ์สถานต่างๆแทบจะหมดสิ้น
พระนางฮัตเซปสุต (1508 - 1458 ปีก่อนคริสตกาล) .. เป็นหลานของฟาโรห์อาห์โมสผู้เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่สิบแปด และเป็นพระราชธิดาองค์เดียวของฟาโรห์ Tuthmosis I กับพระราชินีอาโมซิส
..ฟาโรห์ทุตโมส ยังมีพระโอรสกับราชินีอีกองค์หนึ่ง นั่นคือทุตโมสที่สอง ซึ่งต่อมาได้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระบิดา
พระนางเป็นอิสตรีผู้ที่ครองบัลลังค์เป็นฟาโรห์องค์ที่ 3 แต่กลับเป็นที่รู้จักอย่างมากในฐานะ"ราชินีมีเครา" จากการที่พระนางได้สวมเคราปลอมเหมือนฟาโรห์บุรุษทำกัน …
พระนางได้แต่งตำนานเกี่ยวกับประสูติกาลของพระนางว่า .. "เมื่อเทพอามุนผู้ยิ่งใหญ่แห่งนครธีบส์ หลงรักหญิงงามนามว่า “อาโมส” .. อามุนได้เข้าหานางและมีสัมพันธ์กับนาง โดยที่พระองค์อามุนแต่งตั้งบุตรีในครรภ์ของอาโมสเป็นผู้นั่งบัลลังค์ฮอรัสตลอดไป"
ดังนั้นถือได้ว่าเป็นการฉลาดที่พระนางแต่งตำนานไว้เพื่อให้ไม่มีประชาชนหน้าไหนกล่าวหาพระนางได้อีก (Ref : Wikipedia)
Photo : Internet
Tuthmosis II ทรงอภิเษกสมรสกับแฮตเชปซุต ผู้เป็นพระเชษฐภคินีต่างพระมารดา และมีพระธิดาด้วยกันเพียงองค์เดียว คือ “เนเฟอรูเร” (Neferure)
ขณะที่พระชายาองค์รองพระนามว่าไอซิส มีพระโอรสคือ Tuthmosis III ซึ่งต่อมาได้สืบราชสมบัติต่อจาก Tuthmosis II
ฟาโรห์ Tuthmosis II เป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ อำนาจบริหารจึงตกอยู่ในมือของ “พระนางฮัตเซปสุต” ที่ได้ฝึกฝนการบริหารราชการแผ่นดินกับพระบิดามาก่อนแล้ว
เมื่อฟาโรห์ Tuthmosis II ครองบัลลังก์ได้เพียงแค่ 3 ถึง 4 ปีเท่านั้นก็ผลัดแผ่นดิน ผู้ที่ขึ้นครองบัลลังก์ต่อคือ เจ้าชายทุธโมซิส ซึ่งเป็นโอรสของมเหสีองค์รอง ..
ทว่าเจ้าชายยังเด็กนักจึงไม่สามารถขึ้นว่าราชการได้ด้วยตัวเอง “ฮัตเชปซุต” ซึ่งเป็นอดีตมเหสีของฟาโรห์ทุธโมซิส ที่ 2 จึงเป็นราชินีผู้สำเร็จราชการแทนยุวกษัตริย์ ผู้เป็นพระราชบุตรเลี้ยง
Photo : Internet
หลังจากนั้นในปีที่ 7 ของการครองราชย์ร่วม “ฮัตเชปซุต” ก็ตัดสินใจแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็น “ฟาโรห์” ผู้ครองพระราชอำนาจสูงสุดปกครองอียิปต์
ขณะที่พระราชบุตรเลี้ยงซึ่งเจริญพระชันษาแล้ว กลับถูกริดรอนพระราชอำนาจให้เป็นที่สองรองจากพระองค์ .. พระนางฟาโรห์หญิงที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดกว่า 20 ปี (1489 - 1469 ปีก่อนคริสตกาล)
นักประวัติศาสตร์ไม่รู้ว่าแรงจูงใจในการสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์คืออะไร … อาจเป็นเพราะแฮตเชปซุตทรงมีสายเลือดขัตติยะอย่างแท้จริง เพราะทรงเป็นพระนัดดาของฟาโรห์อาห์โมส
ขณะที่พระสวามีคือพระโอรสของฟาโรห์ผู้เคยเป็นสามัญชน ชาวอียิปต์เชื่อว่า ฟาโรห์ คือ สมมุติเทพ ดังนั้นจึงมีเพียง “แฮตเชปซุต” เท่านั้นที่ทรงมีความสัมพันธ์ทางสายพระโลหิตกับเหล่าเทวะราชา
พระนางพยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์ของตนเอง โดยสวมมงกุฎและกระโปรงสั้นแบบกษัตริย์ พร้อมด้วยเคราปลอม .. มิใช่การหลอกลวงประชาชนให้คิดว่าพระนางเป็นบุรุษ แต่เพราะไม่เคยมีสถานะของฟาโรห์หญิงมาก่อน จึงเป็นวิธีการที่ยืนยันอำนาจของพระนาง
นอกจากนั้นพระนางยังประกาศพระองค์เป็นธิดา ผู้เป็นที่รักของสุริยะเทพอามอน (รา) เพื่อสร้างความชอบธรรมในการครองบัลลังก์
Photo : Internet
แฮตเชปซุตทรงเครื่องทรงเยี่ยงกษัตริย์ … มักจะเห็นพระองค์ทรงผ้าโพกพระเศียรของฟาโรห์ ทว่าเพศสภาพที่แท้จริงของพระองค์ยังเผยให้เห็นในพระถันอันกลมกลึงและพระหนุ (คาง) อันบอบบาง
สวนรูปสลักของพระองค์ในร่างสฟิงซ์ มีสัญลักษณ์ของบุรุษเพศอย่างเด่นชัด เช่น แผงคอของสิงโตและเคราปลอมของฟาโรห์
Photo : Internet
พระนางทรงสร้าง Djeser-djeseru (Holiest of holy places, หรือ holy of holiest) ซึ่งอุทิศแก่เทพอามอน และเพื่อทำพิธีกรรมเมื่อพระนางสิ้นพระชนม์
พร้อมทั้งตั้งเสาหินโอปิลิกซ์ที่ทำจากหินแกรนิตสีแดง 2 ต้น ที่ “วิหารเทพอามอนที่คาร์นัค” (ปัจจุบันเหลือเพียง 1 ต้น) ที่แกะสลักเรื่องราวของพระนาง พระนางมีพระราชกรณียกิจในการบำรุงเศรษฐกิจของอียิปต์ ..
ในปีที่ 9 ของการครองราชย์ พระนางยังเดินทางเพื่อการค้ายังดินแดนของ Punt (มีแนวโน้มว่าจะเป็นเอธิโอเปีย เอริเทรีย์ หรือทางเหนือของโซมาเลียในปัจจุบัน) เรือกลับมาพร้อมกับของมีค่ามากมาย เช่นทองคำ งาช้าง และต้นไม้หอม
พระนางประสบความสำเร็จจากการเป็นราชินี ไปเป็นฟาโรห์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความสามารถในการหาผู้สนับสนุนที่มีอิทธิพล ซึ่งรวมถึงพระบิดา Tuthmosis I และเสนาบดีคู่หทัย Senenmut ผู้เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบวิหารพระนางนั่นเอง
พระนางให้ความสนใจกับความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ มากกว่าที่จะเอาชนะดินแดนใหม่ ๆ ทรงสร้างวิหาร ฟื้นฟูอนุสรณ์สถานต่าง ๆ ทั่วทั้งอียิปต์และนูเบีย ส่งผลให้อียิปต์เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยมหาศาล และนำพาประเทศไปสู่ความสงบ
จนได้รับการยกย่องให้อยู่ในฐานันดรศักดิ์ "ฟาโรห์หญิง" (The Female Faraoh) องค์แรกและองค์เดียวของปฐพีอียิปต์โบราณ
พระนางสิ้นพระชนม์ ใน 1458 ปีก่อนคริสตกาล … หลังการสิ้นพระชนม์ของพระนาง Tuthmosis III ลบคำจารึก และพยายามขจัดความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับพระนางออกไป
หลักฐานและบันทึกเกี่ยวกับพระนางถูกทำลายจนแทบไม่มีอะไรเหลือ
ส่วนการที่ ทุตโมสที่สาม ทำลายหลักฐานเกี่ยวกับรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งเริ่มขึ้นหลังจากแฮตเชปซุตสิ้นพระชนม์ไปแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปีนั้น คาดว่าอาจเพราะมีพระประสงค์จะสร้างความชอบธรรมในการสืบราชบัลลังก์ของพระโอรส อเมนโฮเทปที่สอง
… จึงทรงป้องกันพระญาติร่วมสายพระโลหิตของ แฮตเชปซุต ใช้ภาพเหล่านั้นเป็นเครื่องมือแย่งชิงราชบัลลังก์
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย