Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTV Wealth
•
ติดตาม
24 เม.ย. เวลา 07:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เตือน ! คนไทยควรลดรายจ่าย เก็บเงินสำรองฉุกเฉิน 6-12 เดือน
TFPA เตือน ! คนไทยควรลดรายจ่าย หารายได้เพิ่ม กระจายความเสี่ยงสินทรัพย์ หาโอกาสลงทุน พร้อม แนะ ! ควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน 6-12 เดือน
นายวิโรจน์ ตั้งเจริญ นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ยุคข้าวยากหมากแพง บวกกับมาเจอความผันผวนของเศรษฐกิจโลก จากสงครามการค้า ที่โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากทุกประเทศทั่วโลกในอัตราสูงรวมทั้งไทยด้วย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย จากที่การเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัวอยู่แล้ว และจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 รวมไปถึงแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของไทยที่ผ่านมา จึงทำให้คนไทยควรตระหนักถึงความสำคัญ ของการวางแผนทางการเงิน
นายวิโรจน์ ตั้งเจริญ นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย
โดย นายวิโรจน์ ได้ให้คำแนะนำการวางแผนทางการเงินสำหรับประชาชนคนไทย ว่า ตอนนี้ คนไทยควรกระชับพื้นที่การใช้จ่าย ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง ควรเพิ่มทักษะ เพื่อหารายได้เพิ่มเติม และกระจายความเสี่ยงในหลายสินทรัพย์ เพิ่มเงินสดหาโอกาสลงทุน
และหากพิจารณาตามหลักการ สำกลุ่มคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือนควรมีการสำรองเงินเผื่อกรณีฉุกเฉินเป็นจำนวนเงิน 6 เดือนของเงินเดือน และในส่วนที่เป็นกลุ่ม Freelance ควรมีเงินสำรองอย่างน้อย 12 เดือนของค่าใช้จ่ายส่วนตัว และเมื่อกลับสู่ภาวะปกติการสำรองเงินฉุกเฉินก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น
จากปีก่อน ที่สมาคมฯ แนะนำว่าคนไทยควรมีเงินสำรอง ที่ 3-6 เดือน แต่เพราะสถานการณ์ปัจจุบันสมาคมญมองว่าไม่เพียงพอ ดังนั้นเงินสำรองฉุกเฉิน 6-12 จึงเหมาะสมกับสถานการณ์ขณะนี้ และการวางแผนการเงินส่วนบุคคล เป็นเรื่องที่ไม่ได้ไกลตัว หากพิจารณาในช่วงเกือบ 5-6 ปี ที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การแพร่ระบาดโควิด19 ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของการสำรองเงินเผื่อฉุกเฉิน
นอกจากนี้ ปัจจัยด้านมหภาค นโยบายภาษีนำเข้าสินค้าของ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่สร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่ส่งผลให้เกิดความผันผวนต่อภาวะการณ์ลงทุน ทั้งตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้ ซึ่งหากเรามีการจัดพอร์ตการลงทุนในแบบกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ (Asset Allocation) จะช่วยให้ลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ โดยการจัดพอร์ตการลงทุนในภาวะแบบนี้ นายวิโรจน์ ระบุว่า สมาคมฯ ขอแนะนำให้ปรับของพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงลดลง 10-20%
ด้วยการเพิ่มน้ำหนักในสินทรัพย์ที่เสี่ยงต่ำ รวมถึงถือเงินสดให้มากขึ้น เพราะหากราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวลงแรง หลังนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ เริ่มเห็นผลกระทบที่ชัดเจน ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงกลางปีนี้ ย่อมเป็นโอกาสของการกลับไปเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ ภายใต้แนวทางการจัดพอร์ตโดยกระจายลงทุนในหลายสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมของตัวเรา
สำหรับ ความน่าสนใจในตลาดหุ้นไทยขณะนี้ นายวิโรจน์มองว่า ดัชนีหุ้นไทย อยู่ที่ระดับ 1,100 - 1,200 จุด ถือเป็น valuation ที่น่าสนใจ สามารถเข้ามาลงทุนได้ แม้ตลาดหุ้นจะมีความผันผวนแต่ไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งยังคงต้องจับตาการเจรจาระหว่างไทยกับสหรัฐ รวมถึงต้องจับผลกระทบทางอ้อม จากมาตรการ ตอบโต้ระหว่างจีนกับสหรัฐรวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐด้วย
ซึ่งในอีก 2 เดือนข้างหน้า จะมีความชัดเจนในการประกาศขาย กองทุน Thai ESGX ที่จะ เป็นมาตรการช่วยตลาดทุน อย่างไรก็ตาม นายวิโรจน์ ก็มองว่า หุ้นไทยยังมีเสน่ห์ แต่ก็แนะนำว่าควรกระจายการลงทุนในหุ้นต่างประเทศด้วย
สำหรับการลงทุนในทองคำ มองว่าขณะนี้ไม่ใช่สินทรัพย์ที่ปลอดภัยแต่เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เนื่องจากราคาทองมีความผันผวนสูง โดยนายวิโรจน์ มีคำแนะนำสำหรับนักลงทุน ว่า สำหรับ ผู้ที่มีทองอยู่แล้วควรปรับพอร์ต การลงทุนให้มีทองอยู่ที่ไม่เกิน 15% ขณะที่ คนที่ไม่เคยลงทุนในทองคำมาก่อน แนะนำว่าไม่ควรเกิน 5% ของพอร์ตการลงทุน โดย เน้นการลงทุนแบบ DCA หรือ เน้นการลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่ากันในแต่ล่ะงวด แต่สำหรับนักลงทุนกองทุน นั้น ทองคำยังเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย
ปัจจุบันคนไทยคนเข้าใจผิดว่า นักวางแผนการเงินมีไว้สำหรับคนรวยเท่านั้น ทำให้ ในประเทศไทยมีการใช้บริการนักวางแผนการเงินน้อยมาก แม้ปัจจุบันจะมีการใช้บริการเพิ่มขึ้น แต่จากสถิติพบว่า คนไทยยังมีการวางแผนการเงินไม่ถึง 3% สมาคมฯ มีความเห็นว่า ในยุคแห่งความไม่แน่นอนในขณะนี้ การวางแผนการเงินเป็นสิ่งที่ช่วยมองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิต และพยายามป้องกันหรือลดความเสี่ยงเหล่านั้นในน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้กระทบกับทรัพย์สินหรือรายได้ ที่เราพยายามหามา คืออุดรูรั่วให้หมดก่อนเติมน้ำให้เติมนั้นเอง
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/wealth/economic/246834
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTV Wealth :
https://www.facebook.com/PPTVWealth/
YouTube Wealth :
www.youtube.com/@PPTVWealth
บริหารเงิน
เงินสด
วางแผนการเงิน
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย