24 เม.ย. เวลา 08:03 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

กล้องโทรทัศน์​อวกาศ​

ฮับเบิลฉลอง 35 ปี
ด้วยภาพจักรวาลสุดอลังการ​ 🔭📡🌌🌠
สัปดาห์นี้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
อายุครบ 35 ปีแล้ว! แทนที่จะรับของขวัญ
ทีมงานฮับเบิลกลับใจป๋า แจกภาพจักรวาลสุดตระการตา 4 ภาพให้แฟน ๆ อวกาศได้ตื่นตาตื่นใจ ตั้งแต่ภาพดาวอังคารแบบใกล้ชิด ไปจนถึงกาแล็กซี่แสนไกลที่แวววาว​ ราวกับเพชรในอวกาศ!
🔘 นี่คือประเพณีที่ NASA สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศสานต่อมาเป็นสิบ ๆ ปี
เพื่อฉลองวันเกิดให้ฮับเบิล ที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจร
โลกด้วยกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีเมื่อวันที่
24 เมษายน 2533 ฮับเบิลเหมือนหน้าต่างบานใหญ่ที่เปิดให้เรามองเห็นจักรวาลในมุมใหม่เมื่อ 35 ปีก่อน​ ฮับเบิ้ลทำงานได้ถึงวันนี้ แสดงให้เห็นเลยว่าเจ้ากล้องตัวนี้ยอดเยี่ยม​ไหน และเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างหอสังเกตการณ์ใหม่ ๆ ตามรอยฮับเบิล!”
แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ ฮับเบิล​ ผ่านอุปสรรค​มากมาย​ ตอนเริ่มต้น กระจกขนาดเกือบ 8 ฟุต​ มีตำหนิจากโรงงาน ทำเอานักวิทยาศาสตร์ปวดหัว แต่ไม่
ยอมแพ้! ปี 2536 นักบินอวกาศบุกไปซ่อมในอวกาศ ติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ จนฮับเบิลกลับมาถ่ายภาพคมกริบ สวยจนโลกตะลึง!
ตั้งแต่นั้น ฮับเบิลก็เหมือนนักสำรวจจักรวาลสุดเทพ ช่วยค้นพบวัตตุมากมากมายในจักรวาลอันไกลโพ้น
ไม่ว่าจะเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ​ หลุมดำภาพเอกภพยุคแรกเริ่ม​ พลังงานมืด หรือการขยายตัวของจักรวาลที่เร็วราวจรวด!
🔘 NASA ให้ข้อมูลว่า ฮับเบิลทำการสังเกตไปแล้วเกือบ 1.7 ล้านครั้ง เก็บข้อมูลจากเป้าหมายดาราศาสตร์ 55,000 จุด และสร้างงานวิจัยกว่า 22,000 ชิ้น เป็นตำนานแห่งวงการดาราศาสตร์!
ด้วยผลงานมากมาน ฮับเบิลกลายเป็นขวัญใจผู้ที่ชื่มชอบท้องฟ้า​ แต่ทุกวงกาามีดราม่า​ ปี 2546 หลังเหตุการณ์กระสวยอวกาศโคลัมเบียสูญเสีย NASA เกือบยกเลิกภารกิจซ่อมบำรุง แต่แฟน ๆ ทั่วโลกประท้วงกันหนัก จน NASA ยอมส่งทีมไปซ่อมครั้งสุดท้ายในปี 2552 ตอนนั้นคิดว่าฮับเบิลจะอยู่
ได้อีกแค่ 5-10 ปี แต่เจ้ากล้องนี่แกร่งเกินคาด
ผ่านมา16 ปีแล้วโดยไม่ต้องซ่อมแซมในวงโคจร
ภาพชุดล่าสุดที่ปล่อยมาให้ชมวันนี้ โชว์ความ
สามารถของฮับเบิล ครอบคลุมตั้งแต่ดาวเคราะห์ใกล้ตัวไปจนถึงกาแล็กซี่แสนไกล
แต่วันเวลาก็เริ่มไล่ตามทันฮับเบิล ช่วงหลัง ๆ มีอาการงอแงบ้าง ขัดข้องบ้าง และคงไม่นานก่อนที่มันจะต้องโบกมือลา ในขณะเดียวกัน กล้องโทรทรรศน์เจมส์ เวบบ์ (JWST) ที่เปิดตัวในปี 2564 ก็เริ่มขโมยซีน ด้วยพลังเก็บแสงมากกว่าฮับเบิล 7 เท่า! JWST เน้นถ่ายภาพในแสงอินฟราเรดเป็นหลัก ต่างจากฮับเบิลที่ถ่ายได้ครบทุกสเปกตรัมตั้งแต่อินฟราเรดยันอัลตราไวโอเลต แถม JWST อยู่ไกลจากโลก
ถึง​ 1.6​ ล้าน​ กม. ทำให้ซ่อมไม่ได้เหมือนฮับเบิล
🔘 และในอนาคต เราจะได้พบกับ Habitable Worlds Observatory (HWO) ที่จะถ่ายภาพในแสงที่มองเห็นและอัลตราไวโอเลต คมชัดยิ่งกว่าฮับเบิล ภารกิจหลักของ HWO คือตามหาดาวเคราะห์
คล้ายโลกที่อาจมีสิ่งมีชีวิต แถมยังออกแบบให้
ซ่อมด้วยหุ่นยนต์ได้ด้วย NASA วางแผนส่ง HWO
ขึ้นท้องฟ้าในช่วงปี​ 2583
แผนนี้ รวมถึงกล้องโทรทรรศน์แนนซี เกรซ โรมัน
ที่จะถูกส่งในปีหน้า​
35 ปีแห่งการเดินทางของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องราวของเครื่องมือชิ้นหนึ่ง แต่คือมหากาพย์แห่งการสำรวจจักรวาลที่เปิดม่านให้มนุษยชาติได้สัมผัสความงดงามและความลึกลับของอวกาศในแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ในโอกาสครบรอบวันเกิดของฮับเบิล ขอร่วมเฉลิมฉลองความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ไปพร้อมกัน และตั้งตารอคอยว่าในอนาคต การสำรวจอวกาศจะพาเราไปค้นพบสิ่ง
น่าตื่นตะลึงและความลับใหม่ ๆ อะไรอีกบ้าง
โดยในวันนี้ NASA ได้เผยแพร่ภาพอันน่าทึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นถึงขอบเขตอันกว้างใหญ่ไพศาลของจักรวาลผ่านสายตาของฮับเบิล เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ถึงพลังของวิทยาศาสตร์และความใฝ่ฝันของมนุษย์ในการไขความลับแห่งห้วงอวกาศอันไกลโพ้น
ในเดือนมกราคม กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลได้ถ่ายภาพเนบิวลาดาวเคราะห์ NGC 2899ซึ่งดูเหมือนกำลังโบยบินเหมือนผีเสื้อกลางคืนในจักรวาลที่อยู่ห่างจากโลก 4,500 ปีแสง เมฆฝุ่นและก๊าซหลากสีสันถูกสร้างรูปร่างโดยรังสีและลมดาวฤกษ์ที่พัดออกมาจากดวงดาวที่ใจกลางภาพ
ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว มุ่งเน้นไปที่เนบิวลาโรเซตต์ซึ่งเป็นบริเวณที่มีดาวฤกษ์ขนาดใหญ่อยู่ห่างจากโลก 5,200 ปีแสง โดยมีกลุ่มก๊าซสีดำและฝุ่นปกคลุมภาพ ทีมงานของกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลยังได้เผยแพร่ภาพเนบิวลาในขอบเขตที่กว้างขึ้นเพื่อเพิ่มบริบทของจักรวาล
ภาพถ่ายของดาวอังคารถูกถ่ายไว้ระหว่างวันที่ 28 ถึง 30 ธันวาคมปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวอังคารโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดในวงโคจรภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นที่ราบสูงทาร์ซิสสีส้มสดใสของดาวอังคารและภูเขาไฟที่ดับสนิท น้ำแข็งปกคลุมขั้วโลกเหนือ และเมฆน้ำแข็งบางๆ
กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลถ่ายภาพกาแล็กซีชนิดก้นหอย NGC 5335 ในรูปแบบใหม่ เมื่อเดือนมีนาคม ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นโครงสร้างรูปแท่งที่ตัดผ่านกาแล็กซีและส่งก๊าซเข้าสู่ศูนย์กลางเพื่อกระตุ้นให้เกิดดาวดวงใหม่ขึ้น แถบเส้นแบ่งของการก่อตัวของดวงดาวหมุนวนอยู่รอบขอบกาแล็กซี
➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖
กาแล็กซีที่อยู่ใกล้ทางช้างเผือกที่สุดแห่งหนึ่ง
เมฆแมกเจลแลน​ เล็ก​ หลากสีสรรโดยฮับเบิล​ 🔭🌌
เพลงรักจากฟากฟ้า​
Ode to NGC 346​ 🌟🌟🌠🌌
ภาพจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล
เกลียวและดาวกาแล็กซี NGC 4900
ฮับเบิลเปิดเผยประวัติศาสตร์
ที่ซ่อนเร้นของดาราจักร​ *แอนดรอเมดา*
โฆษณา