Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTV Wealth
•
ติดตาม
28 เม.ย. เวลา 05:45 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คนไทยต้องตุนเงินฉุกเฉิน 6- 12 เดือนถึงจะรอด!!
คนมีเงินประจำอย่างน้อย 6 เดือน ฟรีแลน กลุ่ม Freelance 12 เดือน!! ในยุคที่ไทยต้องเผชิญสารพัดของความเสี่ยงและความท้าทาย ของแพงขึ้น รายได้เท่าเดิม เจอสงครามการค้าโลกเขย่าเศรษฐกิจอีก ถึงเวลาที่จะต้องกระชับพื้นที่ใช้จ่าย ตุนเงินสำรองไว้ยามฉุกเฉิน หาโอกาสในการลงทุน กระจายความเสี่ยงมากขึ้น
PPTVWealth มีโอกาสไปงานของ สมาคมนักวางแผนการเงินไทย มาค่ะซึ่งต้องบอกว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจหลายส่วนที่เกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทำให้ต้องกลับมาโฟกัส เรื่องการวางแผนการเงิน หากไล่เรียงดู ช่วงเกือบ 5-6 ปีที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ที่สำคัญ อย่างการแพร่ระบาดโควิด19 ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของการสำรองเงินเผื่อฉุกเฉิน
ซึ่งตามหลักการ มนุษย์เงินเดือนควรมีการสำรองเงินเผื่อกรณีฉุกเฉินเป็นจำนวนเงิน 6 เดือนของเงินเดือน
คนไทยต้องตุนเงินฉุกเฉิน 6- 12 เดือนถึงจะรอด!!
แต่หากเป็นกลุ่ม Freelance ก็ต้องสำรองเงินจำนวน 12 เดือนของค่าใช้จ่ายส่วนตัว จากเดิมก่อนหน้านี้ นะนำว่าคนไทยควรมีเงินสำรอง ที่ 3-6 เดือน แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน เงินสำรอง 3-6 เดือน ก็อาจไม่เพียงพอ
เพราะถ้าเราย้อนดูเหตุการณ์ล่าสุด คือ แผ่นดินไหว ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ทำให้เราได้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันวินาศภัยกับที่อยู่อาศัยมากขึ้น ทั้งบ้านและคอนโดมิเนียม กรณีที่ผ่อนหมดแล้วและไม่ได้ทำประกันภัยไว้ แต่กรณีที่มีการผ่อนชำระกับสถาบันการเงิน ให้กลับไปตรสจสอบว่าได้มีการทำประกันภัยไว้หรือไม่ และได้ครอบคลุมการคุ้มครองเหตุจากภัยธรรมชาติแผ่นดินไหวหรือไม่ และยังเห็นความจำเป็นมากขึ้นกับการทำประกันชีวิตโดยเฉพาะผู้มีรายได้หลักที่หาเลี้ยงครอบครัว
ส่วนความเสี่ยงในภาพใหญ่ของเศรษฐกิจ อย่าง นโยบายภาษีนำเข้าสินค้าของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์สร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม เกิดความผันผวนต่อภาวะการลงทุนทั้งตลาดหุ้น ตราสารหนี้ ทำให้หลายคนหันมาจัดการพอร์ตการลงทุนของตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะในแบบกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ (Asset Allocation) เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ ซึ่งสมาคมนักวางแผนการเงินไทย แนะนำให้ลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมลง ด้วยการเพิ่มน้ำหนักในสินทรัพย์ที่เสี่ยงต่ำ รวมถึงเงินสดให้มากขึ้น
แล้วถ้าต้องการกระจายหรือเพิ่มการลงทุน ต้องทำแบบไหน
และช่วงกลางปีนี้ ย่อมเป็นโอกาสของการกลับไปเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ ภายใต้แนวทางการจัดพอร์ตในหลายสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมของตัวเรา ซึ่งถ้าโฟกัสที่ ตลาดหุ้นไทย ปีนี้ปรับลงโหดมาก อยู่ที่ระดับ 1,100 - 1,200 จุด แต่ถือเป็น valuation ที่น่าสนใจ สามารถเข้ามาลงทุนได้ แม้ตลาดหุ้นจะมีความผันผวนแต่ไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก
ซึ่งยังคงต้องจับตาการเจรจาระหว่างไทยกับสหรัฐ รวมถึงต้องจับผลกระทบทางอ้อม จากมาตรการ ตอบโต้ระหว่างจีนกับสหรัฐ รวมถึงความชัดเจนในการประกาศขาย กองทุน Thai ESGX ที่โยกจาก LTF เดิมมาจะชัดเจนในอีก 2 เดือนข้างหน้า หุ้นไทยก็อาจจะยังมีเสน่ห์ แต่ก็แนะนำว่าควรกระจายการลงทุนในหุ้นต่างประเทศด้วย
ส่วนการลงทุนในทองคำ สมาคมนักวางแผนการเงินไทย มองว่าขณะนี้ไม่ใช่สินทรัพย์ที่ปลอดภัยแต่เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เนื่องจากราคาทองมีความผันผวนสูง คำแนะนำ คือ ผู้ที่มีทองอยู่แล้วควรปรับพอร์ต การลงทุนให้มีทองอยู่ที่ไม่เกิน 15% ขณะที่ คนที่ไม่เคยลงทุนในทองคำมาก่อน แนะนำว่าไม่ควรเกิน 5% ของพอร์ตการลงทุน โดย เน้นการลงทุนแบบ DCA หรือ เน้นการลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่ากันในแต่ล่ะงวด แต่สำหรับนักลงทุนกองทุน ทองคำก็ยังถือว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย
ปัจจุบันคนไทยคนเข้าใจผิดว่า นักวางแผนการเงินมีไว้สำหรับคนรวยเท่านั้น ทำให้ ในประเทศไทยมีการใช้บริการนักวางแผนการเงินน้อยมาก จากสถิติพบว่า คนไทยยังมีการวางแผนการเงินไม่ถึง 3% แต่ยุคแห่งความไม่แน่นอนในขณะนี้ การวางแผนการเงินเป็นสิ่งที่ช่วยมองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิต และพยายามป้องกันหรือลดความเสี่ยงเหล่านั้นในน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้กระทบกับทรัพย์สินหรือรายได้ ที่เราพยายามหามาอุดรูรั่วให้หมดก่อนเติมน้ำให้เต็มนั้นเอง
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/wealth/economic/246834
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTV Wealth :
https://www.facebook.com/PPTVWealth/
YouTube Wealth :
www.youtube.com/@PPTVWealth
เงินสำรอง
วางแผนการเงิน
เงินออมฉุกเฉิน
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย