Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ThaiFranchiseCenter
•
ติดตาม
4 พ.ค. เวลา 02:00 • ธุรกิจ
รวมแบรนด์ไทยยอดนิยม แต่ไม่ขายแฟรนไชส์ ❕
การขยายธุรกิจผ่านระบบแฟรนไชส์ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ผู้ประกอบการหลายรายเลือกใช้โมเดลนี้ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็ว และกระจายสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ
3
แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีแบรนด์ไทยหลายแบรนด์ที่มีชื่อเสียง ได้รับความนิยม และขยายกิจการได้มั่นคง โดยไม่ต้องพึ่งระบบแฟรนไชส์เลยแม้แต่น้อย แบรนด์เหล่านี้เลือกใช้โมเดลการบริหารจัดการแบบควบคุมคุณภาพเองในทุกขั้นตอน
ด้วยเหตุผลอาจเป็นเพราะกังวลด้านมาตรฐาน ความเชื่อมั่นในแบรนด์ หรือวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการสร้างธุรกิจด้วยตัวเองแบบยั่งยืน
1️⃣ CJ Express
CJ แจ้งเกิดด้วย “ป่าล้อมเมือง” เปิดบริการสาขาแรกปี 2548 โดยปักหมุดทำเลรอบนอกทางภาคตะวันตก กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม ฉะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี นนทบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา ก่อนเจาะเข้ามาในกรุงเทพฯ ปริมณฑล ปัจจุบันมีกว่า 1,500 สาขา แบ่งเป็นต่างจังหวัด 1,000 สาขา กรุงเทพฯ และปริมณฑล 500 สาขา
ตั้งแต่ต้นปี 2568 CJ ประกาศไล่บี้ผู้นำอย่าง 7-Eleven ชูสินค้าคุณภาพหลากหลาย ทั้งอุปโภคบริโภค เจาะทุกความต้องการของกลุ่มลูกค้าตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ ผ่าน 3 โมเดลร้านค้า ซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต, ซีเจ มอร์ และ ซีเจ เอ็กซ์
แผนการดำเนินธุรกิจ CJ ปี 2568 เตรียมงบลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท เปิดร้านใหม่ 300 สาขา
นั่นก็เท่ากับว่าสิ้นปี 2568 ร้าน CJ ทั้ง 3 โมเดลรวมกันจะมีถึง 1,800 สาขา เริ่มตั้งแต่กลางปีเจาะทำเลแหล่งท่องเที่ยวครั้งแรก เปิดซีเจ ซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาถนนข้าวสาร ไม่พอยังใช้งบ 1,000 ล้านบาท สร้างคลังสินค้าแห่งที่ 5 ขนาดพื้นที่ 80,000 ตร.ม. ที่จังหวัดบุรีรัมย์
ถ้าสมมติ CJ สามารถเดินตามแผนขยายสาขาได้สำเร็จ เท่ากับว่าสิ้นปี 2568 จะมีรายได้แตะ 70,000 ล้านบาท เติบโต 30% ส่วนปี 2567 มีรายได้ 53,000 ล้านบาท เติบโต 30% กำไร 3,700 ล้านบาท
2️⃣ สุกี้ตี๋น้อย
สุกี้ตี๋น้อย ก่อตั้งขึ้นในปี 2562 โดยคุณเฟิร์น-นัทธมน พิศาลกิจวนิช ภายใต้บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด เปิดตัวสาขาแรกย่านบางเขน ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 75 สาขาทั่วประเทศ ดำเนินธุรกิจภานใต้สโลแกน “สุกี้ตี๋น้อย อร่อยไม่อั้น เที่ยงวันยันเช้า” ชูกลยุทธ์บุฟเฟ่ต์เริ่มต้น 219 บาท (รวม 279 บาท) คุ้มค่า ราคาเข้าถึงง่าย
เปิดบริการ 11.00-05.00 น. จับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลากหลายม เน้นเปิดสาขา Stand Alone ทำเลให้กลุ่มลูกค้า มีที่จอดรถเยอะ, เวลานั่งทาน 2 ชั่วโมง และคืนอาหารขณะพนักงานเสิร์ฟได้ กรณีคิดว่าทานไม่หมด
ผลประกอบการปี 2564 รายได้ 1,572 ล้านบาท กำไร 147.9 ล้านบาท, ปี 2565 รายได้ 3,976 ล้านบาท กำไร 591 ล้านบาท, ปี 2566 รายได้ 5,262 ล้านบาท กำไร 907 ล้านบาท และปี 2567 มีกำไร 9 เดือน อยู่ที่ 890 ล้านบาท
สุกี้ตี๋น้อย ยังมีแบรนด์ร้านอาหารในเครือ คือ "ตี๋น้อยบาร์บีคิว" เปิดตัว 2567 สาขาแรกเลียบด่วนรามอินทรา ปัจจุบันมีจำนวน 2 สาขา ราคาบุฟเฟ่ต์เริ่มต้น 299 บาท เปิดบริการ 11.00-05.00 น.
3️⃣ ลัคกี้ สุกี้
ลัคกี้สุกี้ เกิดขึ้นจากกลุ่มเพื่อน 4 คน ที่ชอบทานสุกี้ คือ คุณรสรินทร์ ติยะวราพรรณ, คุณวิรัตน์ โรจยารุณ, คุณรุ่งทิวา วิพัฒนานันทกุล และคุณอิทธิพล ติยะวราพรรณ ร่วมกันตั้งบริษัท มิราเคิล แพลนเนท จำกัด ขึ้นมาเมื่อ 23 มิ.ย. 2564 ทั้ง 4 คนไม่เคยทำร้านอาหารมาก่อน แต่เห็นโอกาสในตลาดสุกี้บุฟเฟ่ต์ราคาย่อมเยา
จึงได้พัฒนาสูตรและทำร้านสุกี้บุฟเฟ่ต์ขึ้นมา ใช้ชื่อ "ลัคกี้สุกี้" มาจากทั้ง 4 คนเชื่อว่าเมื่อลูกค้ามาทานอาหารที่ร้าน อร่อยถูกปาก ได้รับประสบการณ์ที่ดี ก็เหมือนได้โชคกลับบ้านไปด้วย
สาขาแรกเปิดให้บริการเดือน ม.ค. 2565 ที่ People Park คอมมิวนิตีมอลล์อ่อนนุช เปิดให้บริการตั้งแต่ 10.30 - 02-00 น. เจาะกลุ่มลูกค้าเลิกงานดึก ราคาบุฟเฟ่ต์หัวละ 219 บาท ทานได้ 1.45 ชั่วโมง เท่ากับราคาบุฟเฟ่ต์ร้านสุกี้ตี๋น้อย ปัจจุบันลัคกี้สุกี้มีสาขาราวๆ 16 สาขาตามห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ และต่างหวัด
4️⃣ เอ็มเค สุกี้
MK Restaurant ถือเป็นร้านสุกี้เจ้าดังที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2529 อยู่ภายใต้การดำเนินงานบริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยผลประกอบการปี 2567 (9 เดือน) รายได้ 11,735 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,088 ล้านบาท
ปัจจุบันหลายคนอาจไม่รู้ว่านอกจากร้านเอ็มเคสุกี้ที่คุ้นเคยแล้ว MK ยังมีร้านอาหารในเครืออยู่มากมาย ประกอบด้วย ร้านสุกี้ ร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านอาหารไทย รวมถึงร้านกาแฟ-เบเกอรี่
ล่าสุดช่วงต้นปี 2568 “เอ็มเคสุกี้" ปรับโฉมโลโก้ร้าน 3-4 สาขา เป็น MongKol Restaurants สร้างสีสันต้อนรับเทศกาลตรุษจีน ตอกย้ำความเป็นเจ้าตลาด ครองมาร์เก็ตแชร์อันดับ 1 มานานกว่า 38 ปี ด้วยจำนวนสาขาและรายได้ที่ทิ้งห่างคู่แข่งมาตลอด
5️⃣ ชาตรามือ
“ชาตรามือ” มีจุดเริ่มต้นปี 2468 แถวๆ ถนนเยาวราช ก่อนจะถูกส่งไม้ต่อมาถึงทายาทรุ่นที่ 3 แตกบริษัทฯ ในเครือบริหารร้านเครื่องดื่มชาตรามือขึ้นมาโดยเฉพาะ สร้างรายได้มากกว่า 1,273 ล้านบาทในปี 2566 ทุกสาขาบริษัทดำเนินการเอง
ผลิตภัณฑ์หลักของร้านที่ขายตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ ชาจีน ชาอู่หลง ชาเขียว จากนั้นเริ่มนำเข้าชาแดงมาในประเทศไทย แปรรูปทำเป็นชาไทยและชาดำ โดยชาแดงใช้ทำชานม ส่วนชาดำไทยใช้ใส่น้ำแข็ง หรือ “ชาเย็น” นั่นเอง ต่อมาในปี 2488 ทางร้านได้เริ่มขายชายี่ห้อ “ชาตรามือ” มีพื้นปลูกชาเองที่จังหวัดเชียงราย โดยตั้งโรงงานผลิตในกรุงเทพฯ
พอมาถึงปี 2532 บริษัทฯ สร้างโรงงานแห่งใหม่ที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในชื่อ “โรงงานใบชาสยาม” จดทะเบียนเป็น บริษัท ชาไทย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จนถึงปัจจุบัน ต่อมา “คุณดิฐพงศ์” ทายาทรุ่นที่ 2 ได้สืบทอดกิจการต่อจากพ่อ ตั้ง บริษัท สยาม เอฟ บี โปรดักส์ จำกัด ในปี 2537 ผลิตและขายผลิตภัณฑ์ชาบรรจุกระป๋อง
ต่อมาถึงทายาทรุ่นที่ 3 คือ พราวนรินทร์ เรืองฤทธิเดช ในปี 2564 ก่อตั้งบริษัท ทิพย์ธารี จำกัด ดูแลและบริหารจัดการร้านขายเครื่องดื่มชาตรามือโดยเฉพาะ ซึ่งหนึ่งในผลงานสร้างความฮือฮา คือ การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ "ชากุหลาบ" และซอฟต์เสิร์ฟรสชาติต่างๆ อย่างไอศกรีมชาไทย ได้รับความนิยมอย่างมากจนถึงทุกวันนี้
6️⃣ Eat am are
Eat am are ร้านสเต๊กขวัญใจวัรุ่น ก่อตั้งในปี 2557 เปิดสาขาแรกที่ซอยรางน้ำ ถนนพญาไทย โดยมีคุณธัช เกษมสิทธิโชค เป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร ได้เสียงตอบรับค่อนข้างดีตั้งแต่ดเปิดบริกานวันแรก หลังจากนั้นมีการขยายสาขาเพิ่ม โดยโฟกัสทำเลโซนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปก่อนในช่วงแรก ก่อนขยายสาขาไปทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล
จุดเด่น Eat am are ที่ลูกค้าหลายๆ คนพูดถึงกันมาก ก็คือ ปริมาณอาหารต่อจานเยอะ ชิ้นใหญ่ ราคาไม่แพง รสชาติดีถูกปาก เข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลากหลาย นับว่าเป็นร้านสเต๊กตลาด Mass ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว มีลูกค้ารอคิวแน่นเกือบทุกสาขา ที่สำคัญแต่ละเมนูราคาไม่แพงเริ่มต้น 129 บาท ปัจจุบันมี 19 สาขา
7️⃣ B-Quik
B-Quik ก่อตั้งปี 2539 ภายใต้บริษัท บุญผ่อง จำกัด จากนั้นบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ จำกัด (FORD) ได้ซื้อกิจการ แต่อีกไม่นาน FORD เกิดปัญหาภายใน ทำให้ FORD ตัดสินใจขายธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไป หนึ่งในนั้นคือ B-Quik ทำให้ผู้บริหารของ B-Quik ในปัจจุบัน ตัดสินใจซื้อกิจการ B-Quik ต่อจาก FORD ในปี 2546
ปัจจุบัน B-Quik มีจำนวนสาขามากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ อยู่ภายใต้บริษัท บี-ควิก จำกัด ชูโลแกน “เต็มที่เพื่อรถ เต็มร้อยเพื่อคุณ” ถือเป็นศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจร เชี่ยวชาญในการให้บริการซ่อม เปลี่ยนยาง ซ่อมบำรุงระบบเบรก แบตเตอรี่ โช้คอัพ ช่วงล่าง ระบบแอร์รถยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และซ่อมรอยแตกกระจกรถยนต์ เป็นต้น
สุดท้าย แม้การขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์จะเป็นทางลัดสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ แต่แบรนด์ไทยที่เลือกไม่ขายแฟรนไชส์แสดงให้เห็นว่า พวกเขายึดแนวทางรักษาคุณภาพมาตรฐาน ค่อยๆ ขยายสาขาอย่างรอบคอบ ก็สามารถพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้เช่นกัน
หรืออาจกล่าวได้ว่า “เส้นทางความสำเร็จไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน” ขอเพียงมีความมุ่งมั่น ใส่ใจในรายละเอียดของการดำเนินธุรกิจ และยืนหยัดในแนวทางที่ตนเองสร้างไว้ ก็สามารถสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและครองใจผู้บริโภคได้
#CJExpress #สุกี้ตี๋น้อย #ลัคกี้สุกี้ #เอ็มเคสุกี้ #ชาตรามือ #Eatamare #B-Quik #ไม่ขายแฟรนไชส์ #ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ #ThaiFranchiseCenter
แฟรนไชส์ไทย
ธุรกิจ
แฟรนไชส์
1 บันทึก
5
2
1
5
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย