28 เม.ย. เวลา 07:01 • การเกษตร

กลุ่ม 10 สารควบคุมการเจริญเติบโตของไรศัตรูพืช (ระบบเจริญเติบโต)

10A เฮกซีไธอะซอค……………นิสโซรัน
กลุ่ม 12 ยับยั้งการสังเคราะห์เอ ที พี ในไมโตครอนเดรีย (ระบบพลังงาน)
12A ไดอะเฟนไทยูรอน................โปโล
12B เฟนบูทาทินออกไซด์………ทอร์ค
12C โพรพาร์ไกต์……………….....โอไมท์
กลุ่ม 19 กระตุ้นจุดรับสารออคโตพามีน (ระบบประสาท)
อามีทราซ……………………ไมแทค
กลุ่ม 21 ยับยั้งการส่งอีเลคตรอนในไมโตครอนเดรียคอมเพล็กซ์ I (ระบบพลังงาน)
21A ฟีนาซาควิน............................โทเทม
เฟนไพรอกซีเมท……………..ออทุส
ไพริดาเบน……………………...แซนไมท์
ทีบูเฟนไพแรด…………………ไคร่า
กลุ่ม 23 ยับยั้งการสร้างอะเซททิลโคเอคาร์บอกซิเลท (ระบบเจริญเติบโต)
สไปโรมิซีเฟน…………………โอเบรอน
สไปโรไดโคเฟน....................เอ็นวีดอร์
กลุ่ม 25 ยับยั้งการส่งอีเลคตรอนในไมโตคอนเดรียคอมเพล็กซ์ 2 (ระบบพลังงาน)
25A ไซฟลูมีโทเฟน…………………..ดานิซาราบา
ไซอีโนไพราเฟน.....................คุโนะอิชิ
25B ไพฟลูบูไมด์..............................ดานิคอง
เฮกซีไธอะซอค เน้นใช้คุมไข่ไร ทำลายตัวอ่อนได้บ้าง
ส่วนที่เหลือใช้กำจัดตัวเต็มวัยและตัวอ่อน ไม่คุมไข่
เมื่อเราพบไรระบาดในสวน ด้านหน้าใบจะดูด้านๆ ส่วนหลังใบจะเห็นตัวเต็มวัย ตัวอ่อน ไข่ พร้อมคราบที่ลอกเต็มไปหมด การฉีดพ่นสารฯจะต้องฉีดพ่นให้ครอบคลุมด้านหลังใบ เพราะสารฯส่วนใหญ่เป็นประเภทถูกตัวตาย เพราะฉะนั้นต้องใช้ให้ตรงจุดเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
เพื่อให้ประสิทธิภาพในการกำจัดดีที่สุด แนะนำให้ฉีดพ่นสารฯ 3-4 คร้ังต่อเนื่องกัน โดยเว้นระยะห่างแต่ละครั้ง 3-4 วัน(ภาษาบ้าน เรียกว่า 5 วันหัวท้ายหรือ 6 วันหัวท้าย) โดยสลับกลไกการออกฤทธิ์ทุกครั้งที่ใช้ เช่น
ครั้งที่ 1 อามีทราซ + อีไทออน >>>>> ครั้งที่ 2 ไพริดาเบน >>>>> ครั้งที่ 3 เฟนบูทาทินออกไซด์ >>>>> ครั้งที่ 4 เฟนไพรอคซิเมท (กลุ่มกลไกเดียวกันถ้าไม่จำเป็นจะไม่ใช้ต่อเนื่องกันเกิน 2 ครั้ง)
เหตุผลที่ต้องใช้ต่อเนื่อง 3-4 ครั้ง เพราะครั้งที่ 1 กำจัดตัวเต็มวัยและตัวอ่อน รอ 3-4 วันไข่ที่มีอยู่จะฟักเป็นตัวอ่อน(ยังไม่เจริญพันธุ์) ฉีดครั้งที่ 2 กำจัดตัวแก่ที่หลงเหลือและตัวอ่อนที่เพิ่งฟักออกมา ฉีดครั้งที่ 3 เป็นการกวาดส่วนที่ยังหลงเหลือ ตัดรากถอนโคนให้หมด ถ้ายังพบเห็นตัวก็ซ้ำรอบที่ 4 (ปกติการใช้สารฯก็จะแนะนำแบบนี้ไม่ว่าจะเป็นโรคหรือแมลง)
Cr.ภาพ ฅนขายเคมีเกษตร
โฆษณา