29 เม.ย. เวลา 03:57 • การเมือง

“กระบวนการทางศาล” เพื่อใช้ดำเนินคดี “ปูติน” พร้อมแล้ว?

ทางการยุโรปได้ร่างแผนเพื่อดำเนินคดีกับปูติน แต่ยังมีหนทางอีกยาวไกลข้างหน้า
Deutsche Welle (DW) สื่อเยอรมันรายงานว่า สภายุโรปได้ร่างแนวคิดสำหรับ “ศาลพิเศษเฉพาะ” เพื่อดำเนินคดีกับปูตินและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซียคนอื่นๆ ในสงครามยูเครนเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามยังคงมีหนทางอีกยาวไกลรออยู่ข้างหน้า เนื่องจากดูเหมือนว่าสหรัฐฯ อยากจะถอนตัวออกจากโครงการนี้หลังจากที่ทรัมป์กลับมาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง และปัญหาร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับเขตอำนาจศาลยังคงไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นของแผนในปัจจุบัน
ร่างเอกสารสำหรับการจัดตั้งศาลพิเศษระหว่างประเทศสำหรับอาชญากรรมสงครามในยูเครน ซึ่งเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า “ศาลเพื่อเล่นงานปูติน” ได้รับการจัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว และขณะนี้กำลังรอการอนุมัติจากนักการเมืองในยุโรป ตามที่ DW ระบุ
1
เครดิตภาพ: Tayfun Salci / ZUMA Press Wire
4 กุมภาพันธ์ 2025 Alain Berset เลขาธิการสภายุโรปประกาศว่าจะมีการจัดตั้งศาลขึ้นภายในกรอบการทำงานของสภายุโรป การประกาศดังกล่าวมีขึ้นในงานแถลงข่าวในระหว่างการประชุมครั้งที่ 13 ของกลุ่มหลักที่ดำเนินการจัดตั้งศาลดังกล่าว กลุ่มหลักประกอบด้วยประเทศต่างๆ 41 ประเทศ (ปัจจุบันมี 38 ประเทศ) โดยกลุ่มดังกล่าวยังประกอบด้วยคณะกรรมาธิการยุโรป หน่วยงานด้านการทูตของสหภาพยุโรป และสภายุโรปอีกด้วย
คาดว่าศาลที่จะจัดตั้งดังกล่าวจะสอบสวนสมาชิกบริหารระดับสูงของรัสเซีย โดยข้อเสนอเบื้องต้นระบุชื่อประธานาธิบดี “วลาดิเมียร์ ปูติน” รัฐมนตรีต่างประเทศ “เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ” และนายกรัฐมนตรีรัสเซีย “มิคาอิล มิชุสติน” เป็นผู้ต้องหา ตามแหล่งข่าวของ DW การสอบสวนจะมุ่งเน้นไปที่เจ้าหน้าที่รัสเซียประมาณ 20 คน ซึ่งยูเครนระบุว่า “มีความรับผิดชอบในการวางแผน เตรียมการ ริเริ่ม และดำเนินการอาชญากรรมในการบุกทำสงครามกับยูเครน”
เครดิตภาพ: ZN.UA/EPA
อย่างไรก็ตาม DW รายงานว่า ศาลพิเศษจะไม่สามารถดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัสเซียเองได้ (รวมถึงปูติน) แม้พวกเขาจะอยู่ในที่ก่อเหตุก็ตาม เนื่องจากสภายุโรปไม่มีอำนาจที่จะเพิกถอนสิทธิคุ้มครองของพวกเขาได้ “ศาลพิเศษจะไม่สามารถพิจารณาคดีของปูตินในที่เกิดเหตุ ตราบใดที่เขายังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย” เจ้าหน้าที่ยุโรปคนหนึ่งกล่าวกับ DW
1
สำนักข่าวดังกล่าวระบุว่า “เขตอำนาจศาลเป็นจุดที่สร้างความขัดแย้งกันมาตั้งแต่เริ่มวางแผน” เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ตัดสินว่าบุคคลสำคัญอย่างปูติน ลาฟรอฟ และมิชุสติน จะถูกดำเนินคดีได้หรือไม่ “หากศาลมีเขตอำนาจศาลในระหว่างประเทศ ก็อาจเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการยุโรปได้ระบุอย่างเป็นทางการว่าเขตอำนาจศาลของศาลจะมาจากในยูเครน” DW รายงาน
1
แอนดรูว์ ฟอร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศของไอร์แลนด์กล่าวว่า แผนดังกล่าวคือการจัดตั้งศาลที่มีเขตอำนาจศาลระหว่างประเทศที่ครอบคลุมจำกัด โดยอิงตามกฎหมายของยูเครนแต่ตั้งอยู่ภายนอกยูเครน แม้ว่า DW จะไม่ได้ระบุว่าฟอร์ดได้รับข้อมูลนี้มาจากที่ใด
แหล่งข่าวอีกรายของ DW กล่าวว่าคาดว่าศาลเพื่อเล่นงานปูตินโดยเฉพาะจะจัดตั้งอยู่ในกรุงเฮก ยูเครนน่าจะส่งหลักฐานจากการสอบสวนไปให้อัยการของศาลดังกล่าวถ้ามีการจัดตั้ง ซึ่งจะพิจารณาเอกสารที่รวบรวมโดยศูนย์เพื่อการฟ้องร้องอาชญากรรมการรุกรานระหว่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเฮกเช่นกัน
ดูเหมือนว่าสหรัฐฯ จะไม่น่าอยากเป็นสมาชิกผู้จัดตั้งศาลพิเศษนี้ ตามแหล่งข่าวของ DW สหรัฐฯ “อยู่ดีๆ ก็หายไปไม่บอก” จากกลุ่มริเริ่มหลักของแผนการจัดตั้งศาลเฉพาะกิจนี้หลังจากที่ทรัมป์กลับเข้าทำเนียบขาว ฮังการีคัดค้านการจัดตั้งศาลนี้ และจุดยืนของประเทศต่างๆ เช่น อาเซอร์ไบจาน ตุรกี และเซอร์เบียก็ยังไม่ชัดเจน การอนุมัติต้องได้รับเสียงข้างมากสองในสามในสภายุโรปถึงจะเริ่มการจัดตั้งศาลเฉพาะกิจนี้ได้
1
หลังจากนั้น “หลายประเทศ” (ไม่ได้ระบุไว้ในรายงาน) จะต้องให้สัตยาบันต่อข้อตกลงแห่งรัฐผ่านรัฐสภาแห่งชาติของตน DW อธิบายว่านี่เป็นเรื่องของ “การเงินและจุดยืนทางการเมือง” แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม คาดว่าจะใช้เวลาหลายเดือนอีกในการให้สัตยาบัน
เครดิตภาพ: Olivier Matthys/EPA
ก่อนหน้านี้ “ดมิทรี เปสคอฟ” โฆษกเครมลินกล่าวว่ารัสเซียมองว่าความพยายามในการจัดตั้งศาลดังกล่าวเป็น “การกระทำที่ลำเอียงและไม่สร้างสรรค์” ตามที่เขากล่าว หน่วยงานระหว่างประเทศและผู้เชี่ยวชาญที่เรียกตัวเองว่าอยู่เบื้องหลังแผนดังกล่าวนั้นอยู่นอกโลกแห่งความเป็นจริง นอกจากนี้เขายังอ้างอีกว่าผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดียวกันนี้ “ยังคงนิ่งเฉยมาตั้งแต่ปี 2014 เมื่อทางการยูเครนส่งรถถังโจมตีประชาชนของตนเอง (ช่วงไมดาน)”
เรียบเรียงโดย Right Style
29th Apr 2025
  • อ้างอิง:
<ภาพปก: ภาพตัดต่อล้อเลียน Nuremberg เครดิต: Euromaidan Press>
โฆษณา