Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
THE STATES TIMES
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 08:24 • หุ้น & เศรษฐกิจ
จีนเปิดตัว ‘CIPS 2.0’ ระบบชำระเงินข้ามพรมแดนด้วยหยวน
ดิจิทัล
‘เร็วกว่า-ถูกกว่า’ ระบบ SWIFT ของสหรัฐฯ เริ่มเปิดใช้งานแล้ว 16 ประเทศ
(29 เม.ย. 68) จีนเดินหน้าเปิดตัว “CIPS 2.0” ระบบชำระเงินระหว่างธนาคารข้ามพรมแดนที่ขับเคลื่อนด้วยเงินหยวนดิจิทัล ซึ่งเริ่มใช้งานจริงแล้วใน 16 ประเทศทั่วเอเชียและตะวันออกกลาง โดยมีเป้าหมายลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ และท้าทายสถานะของระบบ SWIFT (Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication) ของสหรัฐฯ ด้วยความเร็วที่เหนือกว่า ค่าธรรมเนียมเกือบเป็นศูนย์ และการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย
ธุรกรรมแรกของ CIPS 2.0 คือการโอนเงิน 120 ล้านหยวนจากเซินเจิ้นไปยังกัวลาลัมเปอร์ ใช้เวลาเพียง 7.2 วินาทีในการประมวลผล ซึ่งเร็วกว่าระบบ SWIFT เดิมที่อาจใช้เวลาถึง 3 วัน ระบบใหม่นี้ยังสามารถรองรับการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ และใช้สมาร์ตคอนแทรกเพื่อตัดจ่ายอัตโนมัติเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ
จุดเด่นอีกประการของ CIPS 2.0 คือค่าธรรมเนียมต่ำ เช่น การโอนเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐจะมีค่าธรรมเนียมเพียง 0.12 ดอลลาร์ เทียบกับกว่า 4,900 ดอลลาร์ในระบบ SWIFT ดั้งเดิม นอกจากนี้ ระบบยังใช้ AI ตรวจจับธุรกรรมผิดปกติได้รวดเร็ว เช่น กรณีใน UAE ที่สามารถระบุบัญชีต้องสงสัย 16 บัญชีภายใน 0.3 วินาที
อาเซียนเตรียมแผนใช้หยวนดิจิทัลใน 90% ของการค้าภายในกลุ่มภายในปี 2568 ขณะที่อินโดนีเซียและซาอุดีอาระเบียเริ่มนำไปใช้ในระบบเงินสำรองและสัญญาพลังงาน ด้านโลกตะวันตก โดยเฉพาะสหราชอาณาจักร แม้จะเร่งพัฒนา “ปอนด์ดิจิทัล” แต่ยังตามหลังจีนเกือบ 2 ปี
ด้าน นักวิเคราะห์มองว่า CIPS 2.0 ไม่ใช่แค่ความท้าทายทางการเงิน แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในระบบเศรษฐกิจโลก ที่อาจเปลี่ยนจากการผูกขาดของเงินดอลลาร์ สู่ยุคใหม่ที่การชำระเงินเป็นแบบไร้พรมแดน โปร่งใส และรวดเร็วในระดับประชาชนทั่วไป
ที่มา :
https://moneyandbanking.co.th/2025/169192/?fbclid=IwY2xjawJ9KMpleHRuA2FlbQIxMQABHtaiioeQv-Rk1C54onujCJkY46E23eqP7DBJROSIwG3KsEHam2xQdQ4yGXVJ_aem_zSDRV6ej9sRTdXKvTs0L-Q
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย