8 ชั่วโมงที่แล้ว

วันแรงงานแห่งชาติ

By.ณรงค์ ชื่นนิรันดร์
ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ
ในสมัยก่อน ประเทศในแถบยุโรปจะนับว่า วันเมย์เดย์ (May Day) เป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ ในหน้าเกษตรกรรม จึงได้จัดให้มี พิธีเฉลิมฉลองและทำการบวงสรวง เพื่อขอให้เทพเจ้า ช่วยดลบันดาลให้การปลูกพืชเป็นไปด้วยดี
อีกทั้งยังขอให้ประชาชน อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบ มีความร่มเย็นเป็นสุข รวมถึงทางภาคเหนือ ของยุโรปก็ยังมีการจัดงาน รอบกองไฟในวันเมย์เดย์นี้ด้วย ซึ่งประเพณีนี้ในประเทศอังกฤษ ก็ยังคงปฏิบัติกันสืบเนื่องมา จนถึงปัจจุบัน
ในตอนแรก วันเมย์เดย์ ถือเป็นเพียงแค่วันหยุดพักผ่อนประจำปี แต่ต่อมาประเทศอุตสาหกรรมในหลายๆ แห่งได้ถือว่าวันนี้ เป็นวันหยุดตามประเพณี
โดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้ประชาชนตระหนัก ถึงความสำคัญ ของผู้ใช้แรงงาน ที่ได้ทำประโยชน์ต่างๆ ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ความหมายของวันเมย์เดย์จึงเปลี่ยนไปจากเดิม
จนเมื่อปี พ.ศ. 2433 ได้มีการออกมาเรียกร้องในหลายประเทศทางแถบตะวันตก ให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล ทำให้ในหลายประเทศ ได้เริ่มมีการจัดงานเฉลิมฉลอง วันแรงงานเป็นขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 และสืบทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
วันแรงงานในประเทศไทย
อุตสาหกรรมไทย ในสมัยก่อนได้เริ่มขยายตัวมากขึ้น ผู้ใช้แรงงานต่างก็มีปัญหาที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปัญหาแรงงาน ก็ยังมีความซับซ้อน ยากที่จะแก้ไขได้โดยงาน
ทำให้ในปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดการบริหารแรงงาน โดยเป็นการจัดสรรและพัฒนาแรงงาน ตลอดจนคุ้มครองและดูแลสภาพการทำงานของแรงงาน
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างรากฐาน และส่งเสริมความสัมพันธ์ ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างให้ดีขึ้น ซึ่งในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2499 คณะกรรมการจัดงานที่ระลึกแรงงานได้จัดประชุมขึ้น โดยมีความเห็นตรงกันว่าควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ให้เป็นวันที่ระลึกถึงแรงงานไทย จึงได้มีหนังสือถึงนายรัฐมนตรีขอให้รับรองวันที่ 1 พฤษภาคม ทำให้นับแต่นั้นมา วันที่ 1 พฤษภาคม จึงกลายเป็น วันกรรมกรแห่งชาติ จนต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วันแรงงานแห่งชาติ
ในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ กำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ที่ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์หยุดงาน ในวันแรงงานแห่งชาติได้ แต่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีอายุได้เพียง 18 เดือนก็ถูกยกเลิกไป โดยมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 มาแทนที่
และให้อำนาจกระทรวงมหาดไทย ออกประกาศกำหนดเรื่องการคุ้มครองแรงงาน อีกทั้งยังกำหนดให้วันกรรมกร เป็นวันหยุดตามประเพณี
แต่เนื่องด้วยสถานการณ์บ้านเมือง ในขณะนั้นมีความไม่แน่นอน จึงมีคำชี้แจงออกมา ในแต่ละปีเพื่อเป็นการเตือนนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคม โดยในบางปีได้มีการขอร้องไม่ให้มีการเฉลิมฉลองเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
จนกระทั่งมาถึงปี พ.ศ. 2517 ได้เปิดโอกาสให้มีการเฉลิมฉลองตามสมควร โดยได้มอบหมายให้กรมแรงงาน ที่ขณะนั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทยจัดงานฉลองวันแรงงานแห่งชาติขึ้น ที่สวนลุมพินี
ภายในงาน ได้มีการจัดให้ทำบุญตักบาตร มีนิทรรศการแแสดงความรู้ ตลอดจนกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย
อ้างอิง
&&&&&&&&&&&&&&
โฆษณา