1 พ.ค. เวลา 15:30 • อสังหาริมทรัพย์

กูรูอสังหาฯ ชี้ “มูดีส์” ปรับลดเครดิตไทย จี้รัฐสร้างเชื่อมั่น–หวั่นแบงก์เข้มงวดขึ้น

กูรูอสังหาฯ "พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ " ชี้ “มูดีส์” Moody's Investors Service ปรับลดเครดิตไทย จี้รัฐเร่งกระตุ้นเชื่อมั่น –หวั่นแบงก์เข้มงวดขึ้น
กรณีบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก Moody's Investors Service (มูดีส์)ประกาศปรับลดแนวโน้มอันดับเครดิตของประเทศไทยลงสู่ เชิงลบ(Negative) จากเดิมที่อยู่ในระดับ มีเสถียรภาพ(Stable)
สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยง จากนโยบายกำแพงภาษี รัฐบาลสหรัฐอเมริกา หรือสงครามการค้า ทรัมป์ 2.0 อีกทั้งยังมีความเสี่ยงเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจไทยที่มีการขยายตัวต่ำประเมินว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะต่ำกว่า 2% ขณะเดียวกัน ยังมีความเสี่ยงที่อาจจะโตต่ำกว่านี้หรือถึงขั้นติดลบ หากไทย ได้รับผลกระทบ จากการเก็บภาษี จากสหรัฐอเมริกาสูง
นาย พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า กรณี “มูดีส์” ปรับลดเครดิตไทย สัญญาณเตือนเสถียรภาพคลัง ส่งผลเชื่อมั่นนักลงทุน –ตลาดเงิน ที่น่าจะได้รับผลกระทบ ภาษีทรัมป์มีส่วนสำคัญ
หาก รัฐบาลไม่สามารถรับมือ หรือเจรจาเพื่อบรรเทาได้ มองว่า จะถูกปรับลด ความน่าเชื่อถือลง และที่น่าจับตา สถาบันการเงินจะเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อมาก ขึ้น ทั้งการพิจารณาปล่อยกู้ โคงการ /การออกหุ้นกู้ยากขึ้น และมีต้นทุนที่สูง ที่สำคัญ หุ้นกู้จำนวนไม่น้อยเมื่อออกมาแล้วอาจขายไม่ได้ เพราะขาดความเชื่อมั่น
ขณะเดียวกัน การปล่อยสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะอสังหาริมทรัพย์อาจมีผลกระทบ รีเจ็กต์เรตเพิ่มสูง ทั้งที่ปัจจุบันสถาบันการเงินปล่อยกู้ยากอยู่ก่อนแล้ว เพราะตลาดหดตัวค่อนข้างมาก สะท้อนจากการโอนกรรมสิทธิ์ไตรมาสแรกปีนี้ติดลบอย่างมาก
“ฐานเศรษฐกิจ” ตรวจสอบสาเหตุ ของ Moody’s ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยจาก “Stable” เป็น “Negative” แม้จะยังไม่ใช่การลด “อันดับเครดิต” โดยตรง แต่ก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในหลายมิติอย่างมีนัยสำคัญ โดยสามารถสรุปภาพรวมผลกระทบได้ดังนี้
1. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติถดถอย
การเปลี่ยนแปลงแนวโน้มจากมีเสถียรภาพเป็นเชิงลบ เป็นสัญญาณเตือนว่านักลงทุนควรระวังความเสี่ยงในอนาคตมากขึ้นนักลงทุนสถาบันอาจลดน้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยเงินทุนไหลออก (capital outflow) อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะจากนักลงทุนที่ให้ความสำคัญกับอันดับเครดิตความต้องการตราสารหนี้ไทยในตลาดโลกอาจลดลง ส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น
2
2. ต้นทุนการกู้ยืมของรัฐบาลและเอกชนเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการออกพันธบัตรรัฐบาลอาจต้องปรับตัวสูงขึ้น เพื่อชดเชยความเสี่ยงที่สูงขึ้นภาคเอกชนที่มีธุรกิจในต่างประเทศหรือจำเป็นต้องกู้ยืมเงินตราต่างประเทศ อาจต้องเจรจาด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นเช่นกัน
3. ผลกระทบต่อค่าเงินบาท ความกังวลของนักลงทุนต่อเสถียรภาพการคลังและแนวโน้มเศรษฐกิจ อาจนำไปสู่แรงขายเงินบาทเงินบาทอาจอ่อนค่าลงต่อเนื่องในระยะสั้น โดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยลบเพิ่มเติม เช่น ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจจากภาครัฐ
4. กระทบความสามารถในการใช้จ่ายภาครัฐหากต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น รัฐบาลอาจจำเป็นต้องลดการใช้จ่าย หรือชะลอโครงการลงทุนขนาดใหญ่อาจมีผลกระทบต่อโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งจำเป็นต่อการฟื้นฟูหลังวิกฤตโควิด
5. ส่งผลทางอ้อมต่อเศรษฐกิจภาพใหญ่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนอาจชะลอตัวลง เนื่องจากความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจหากเศรษฐกิจโลกชะลอ และไทยยังถูกกดดันจากมาตรการการค้าของสหรัฐฯ ตามที่ Moody’s ระบุไว้ ยิ่งตอกย้ำแรงกดดันต่อ GDP ของไทยในปี 2568
บทสรุปแม้ยังไม่ใช่การปรับลด "อันดับเครดิต" แต่การปรับ "แนวโน้ม" ถือเป็นสัญญาณล่วงหน้าว่า ประเทศไทยอาจเผชิญความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการคลังที่สูงขึ้นในระยะกลาง การตอบสนองของภาครัฐ ทั้งในเชิงนโยบายการคลังและโครงสร้างเศรษฐกิจ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นจากนักลงทุนและตลาดการเงิน
1
โฆษณา